พิพิธภัณฑ์กาญจนภิเษก วัดเก้าเลี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์

พิพิธภัณฑ์กาญจนภิเษก

พิพิธภัณฑ์จัดตั้งขึ้นในสมัย“หลวงพ่อหน่อง”หรือพระครูนิติธรรมคุณ

วัตถุทั้งหมดได้รับการรวบรวมไว้เป็น พิพิธภัณฑ์กาญจนภิเษก ซึ่งเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2539 พิพิธภัณฑ์กาญจนภิเษก ครองราชย์ 50 ปี

ภายในพิพิธภัณฑ์จะมีวัตถุสะสมส่วนหนึ่งเป็นของหลวงพ่อหน่อง และส่วนที่ได้รับการบริจาคจากชาวบ้านในพื้นที่เช่นเครื่องมือการเกษตร สากตำข้าว เครื่องถ้วยเบญจรงค์ อาวุธปืน ปั๊มน้ำคันโยก ไถ่ โต๊ะเครื่องแป้งโบราณ วัตถุต่างๆ ได้รับการขึ้นทะเบียนโดยทางวัดเอง นอกจากนี้ยังมีเรือนไทยจำลอง ซึ่งเป็นห้องสำหรับรับรองผู้มาเยือน และมีป้ายนิเทศให้ข้อมูลส่วนประกอบคำเรียกทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทย ตั้งอยู่ก่อนทางเข้าพิพิธภัณฑ์กาญจนาภิเษกไว้เป็นอีกส่วนหนึ่ง เรือนไทยจำลองหลังดังกล่าวได้รับการจัดสร้างเมื่อพ.ศ.2550 สภาพในพิพิธภัณฑ์ปัจจุบันเน้นการจัดกลุ่มวัตถุตามประเภทของวัตถุสิ่งของ เมื่อเข้าสู่อาคารพิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์จะแบ่งได้เป็น 3 บริเวณสำคัญ ทางซ้ายมือของผู้ชมจะมีกลุ่มวัตถุสำคัญสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เก่าที่เคยเป็นของโรงพิมพ์ในจังหวัดนครสวรรค์ เจ้าของเดิมได้นำมาถวายไว้เป็นวัตถุพิพิธภัณฑ์ ในอีกส่วนหนึ่ง เป็นเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ จัดแสดงไว้ในตู้ไม้สำเร็จที่ซื้อมาเพื่อการจัดแสดงวัตถุที่ได้รับการบริจาค แต่เห็นจะแท่นรวมปืนหลายกระบอก ท่านเลขานุการเจ้าอาวาสขยายความไว้ว่า “เดิมที่คนเก้าเลี้ยวเคยเลี้ยงควายและขายเป็นสินค้า เมื่อต้องเดินทางออกไปต่างบ้านต่างเมืองจะต้องมีปืนไว้สักกระบอกเพื่อป้องกันภัยจากโจรผู้ร้าย”

ในบริเวณส่วนกลาง จัดแสดงเหมือนเป็นองค์ประธานในศาสนสถาน กลุ่มพระพุทธรูปจำนวนหลายสิงองค์ตั้งไว้บนแท่นบูชา ถัดจากนั้นเป็นเครื่องบริขารที่เคยเป็นของใช้ท่านพระครูนิติธรรมคุณ ในส่วนที่เหลือของบริเวณพิพิธภัณฑ์ เป็นข้าวของเครื่องใช้ที่ชาวบ้านได้นำมาถวาย ทั้งนาฬิกาแขวนเครื่องมือทางการเกษตร ถ้วยโถโอชาม

นอกจากพิพิธภัณฑ์กาญจนาภิเษกแล้ว ภายในวัดเก้าเลี้ยวยังมีสถานที่สำคัญอีกหนึ่งแห่ง ได้แก่อาคารพิพิธภัณฑ์บริขารและหุ่นขี้ผึ้งพระครูนิติธรรมคุณ ที่ทางวัดเก้าเลี้ยวและศิษยานุศิษย์ “หลวงพ่อหน่อง” ได้ร่วมจิตศรัทธาในการก่อสร้างไว้ยังกุฎเดิมของท่านพระครูนิติธรรมคุณ ภายในประกอบด้วยหุ่นขี้ผึ้งและรูปเคารพหลวงพ่อหน่อง รวมทั้งเครื่องบริขาร พัดยศ และประวัติของหลวงพ่อหน่องได้รับการนำเสนอไว้อย่างเรียบง่ายรายรอยผนังของกุฎิ พื้นที่ในส่วนกลางยังคงใช้เป็นสถานที่ทำวัตรเช้าเย็นของพระภิกษุ โดยยังประโยชน์มิใช่เพียงการรำลึกถึงอดีตพระครูที่มีคุณูปการต่อวัดเก้าเลี้ยว แต่ยังเพื่อกิจของวัตรปฏิบัติเพื่อสืบต่อพระศาสนา

ข้าวของเครื่องใช้

ที่ชาวบ้านนำมาถวาย

ข้าวของเครื่องใช้

ที่ชาวบ้านนำมาถวาย

ข้าวของเครื่องใช้

ที่ชาวบ้านนำมาถวาย

ข้าวของเครื่องใช้

ที่ชาวบ้านนำมาถวาย

เรียบเรียงโดย นายธนาพิพัฒน์ พุ่มเพียร

ขอบคุณภาพจากวัดเก้าเลี้ยว

แผนที่การเดินทาง