Kasetsart University
Kasetsart University

          Thai 43201 Research

              Thai 43201 

              การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ  

              A Comparative Achievement between Thai Communication and Searching Programmed Lesson Th 43201 Method and Conservative Method in Mathayom Suksa 6 Bangpleeratbamrung School Bangplee Samutprakarn

         รังสรรค์ กลิ่นแก้ว; Rungsun Klinkaeo

              บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย ท 43201 ระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพิ่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติโดยใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม จำนวน 36 คน เรียนวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม จำนวน 36 คน เรียนวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.50/85.00 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสาะและการสืบค้น ท 43201 สูงกว่ากลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

             ABSTRACT

             The purposes of this research were to comparative achievement between Thai communi cation and searching programmed lesson Th 43201 method and conservative method. Research population was equally divided into an experimental and a control group for purposes of investi gation. The experimental group consisted of 36 students studied the Thai communication and searching programmed lesson Th 43201. Research tool was an academic achievement test having an efficiency level of 82.50/85.00. The data was analyzed using the t-test technique.The findings indicate that the academic achievement of those studying  the Thai by means of the Thai communi cation and searching programmed lesson Th 43201 method had a higher level of academic achie vement at the statistically significant level of 0.05 than those studying the Thai in the traditional classroom conservative method.

       Key word: Thai Communication and Searching Programmed Lesson Th 43201

       E-mail address: rungsun_kk@yahoo.com  

             โรงเรียนพุทธจักรวิทยา 728/2 ถนนพระรามที่ 4 หลังวัดหัวลำโพง แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 Buddhajak Wittaya School 728/2 Praram 4 Sipraya Bangrak Thailand 10500 

             คำนำ     

       งานวิจัย บทเรียนสำเร็จรูปภาษา ไทย ท 43201 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่มนี้ เรียบเรียงขึ้นตรงตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 (การศึกษาขั้นนพื้นฐาน ) การสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นวิธีการสอนอีกแบบซึ่งบทเรียนที่เรียนด้วยตนเองส่วนหนึ่ง และเรียนกับครูผู้สอนส่วนหนึ่ง กิจกรรมแต่ละบทเรียนมีเนื้อหาครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับภาษาและวรรณคดี นอกจากความรู้ ความจำ ความเข้าใจเนื้อเรื่องแล้ว ยังมุ่งให้นักเรียนใช้ความคิดและวิจารณญาณตลอดจนใช้ทักษะต่าง ๆ สัมพันธ์กัน จัดกิจกรรมวัดผลการเร ียนรู้จำแนกตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวังและทักษะต่าง ๆ ตามแนวการและการประเมินผลที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน แต่ละบทเรียนได้เฉลยและวางแนวพร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะในแต่ละเรื่องไว้ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าของนักเรียน

       หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43201 สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เล่มนี้ คงเป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนผู้สนใจไม่มากก็น้อยให้ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่คาดหวัง และขอขอบคุณผู้ที่ให้ ความรู้ความร่วมมือทุกท่านในการจัดทำไว้ ณ โอกาสนี้

           วัตถุประสงค์ของการวิจัย

            1.   เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80

            2.   เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพืิิการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201    

              อุปกรณ์และวิธีการ

              การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างว ิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีขั้นตอนวิธีการวิจัย ดังนี้

              1.   การออกแบบการวิจัย

              2.   ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

              3.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

              4.   การสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43201 ห้มีประสิทธิภาพ 80/80

              5.   วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

              ผล

              การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงทดลองจริง (experimental designs) ชนิด Posttest only control groups design ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ตั้งแต่ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2549 ถึง 17 มีนาคม 2548 โดยใช้ระยะเวลาทดลอง 18 คาบ คาบละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 20 สัปดาห์ ได้เก็บรวบ รวมข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS for Windows

              วิจารณ์

              ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

         มาตรฐานการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยไม่สมบูรณ์ขาดแคลนอุปกรณ์การเรียนการสอนหนังสือเรี ยน หนังสือแบบ ฝึกหัด หนังสือนอก เวลาไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน ตำรา คู่มือครูไม่ทันสมัย นักเรียนเรียนรู้ช้า นักเรียนเรียนนอกเวลาเรียนไม่ได้ ความสามารถไม่สามารถทบทวนได้ สอนซ่อมเสริมไม่ถูกต้อง ครูเป็นผู้ควบคุมการเรียนของนักเรียน ครูเป็นผู้ดำเนินการเสียเอง เป็นผู้ป้อนความรู้ให้แก่นักเรียน เป็นผู้กำหนดว่านักเรียนควรรู้อะไร ควรเรียนอะไร จุดอ่อนคือ ครูบังคับให้ทุกคนต้องเรียนรู้ในอัตราความสามารถที่เท่ากันด้วยวิธีเดียวกัน  ตัดสินใจให้นักเรียนเองทุกอย่างว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร ภาษาเป็นวัฒนธรรมผูกพันความเป็นชาติภาษาจึงมีความสำคัญต่ อการดำรงอยู่ของสังคม และประเทศชาติ (ม.ล. บุญเหลือ  เทพยสุวรรณ , 2523, หน้า 2-3) กล่าวว่าชาติต้องมีภาษาของตนเองการขาดภาษาเป็นการขาด เอกลักษณ์ที่สำคัญยิ่ง ความจำเป็นที่แท้จริงคือการมีภาษาที่สื่อสารได้สะดวกกันทั้งชาติ ดังนั้น การสอนภาษาของชาติจึงควรได้รับความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในวงการศึกษา การสอนภาษาไทยให้ได้ผลดี ผู้สอนต้องปูพื้นฐานในด้านทักษะทางภาษา ฟัง พูด  อ่าน และเขียน เป็นเครื่องให้นักเรียเรียนภาษาได้ถูกต้องตามบท่เรียนได้ย่างเหมาะสม ซึ่งเมื่อนักเรียนสาม ารถใช้ภาษาสื่อสารในช ีวิตประจำวันได้ถูกต้อง ถือว่าผู้สอนนั้นประสบความสำเร็จในการสอนภาษา An dreas (1960, p. 339) ให้ข้อคิดเห็นว่า การใช้ภาษาเป็นเรื่องของการเรียนรู้ ซึ่งต้องอาศัยทั้งวุฒิภาวะและประ สบการณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ครูจึงมีหน้าที่สอนให้นักเรียนมีความรู้ความสามารถทางภาษาไทยจนนำไปศึกษา วิชาแขนงต่าง ๆ เป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ในสาขาวิทยาการอื่น ๆ และนำไปประกอบอาชีพได้ (สนม  ครุฑเมือง, 2521, หน้า 3) ภาษาไทยเป็นวิชาที่มีความเป็นนามธรรมมีสระ พยัญชนะและ วรรณยุกต์ที่ทำให้ผู้ เรียนเกิดการเรียนรู้จะต้องใช้ทักษะทางภาษาอย่างมีวิจารณญาณต้องศึกษาไปตามลำดับอย่างมีกระบวนการ โดยที่นักเรียนจะต้องมีทักษะขั้นพื้นฐานจึงจะโยงไปยังทักษะที่สูงกว่าต่อไป ในการสอนภาษาไทยพบว่านักเร ียนมีความยุ่งยากมีปัญหาในการเรียน ยังมีความคิดเป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรมทำให้เกิดความสับสนในการเรียนวิชาภาษาไทย ปัญหาของนักเรียนดังกล่าวควรได้รับการแก้ไขให้ลุล่วงไปเป็นลำดับขั้น มิฉะนั้นปัญหาเหล่านี้จะเป็นผลทำให้พื้นฐานทางวิชาภาษาไทยของนักเรียน ล้มเหลว และจะเป็นผลในการเรียนระดับสูงต่อไป ดังนั้น ในการสอนวิชาภาษาไทย ถ้านักเรียนไม่มีทักษะทางภาษาอาจจะส่งผลไม่ประสบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความล้มเหลวในการเรียนวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาโดยทั่วไปพบสาเหตุมาจากวิธีการสอนของครูส่วนใหญ่ยังยึดการสอนแบบบรรยาย ซึ่งเป็นการป้อนเนื้อหาวิชาให้นักเรียนเพียงอย่างเดียว เพื่อจะได้สอนทันตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยไม่คำนึงถึงตัวผู้เรียนว่าจะเกิดการเรียนรู้หรือไม่ มากน้อย เพียงไร (บุญทัน  อยู่ชมบุญ, 2529, หน้า 46-47) ผลจากการสอนนี้เองทำให้ผู้เรียนเกิดความท้อถอยหมดความพยายามที่จะเร ียนต่อไป นอกจากนี้ความสามารถหรือสติปัญญาทางการเรี ยนภาษาไทยของนักเรียนแต่ละคนยังแตกต่างกัน นักเรียนที่เรียนเก่งหรืออยู่ในระดับปานกลางก็จะสามารถสนองตอบต่อวิธีการสอนของครูได้ ส่วนนักเรียนเรียนช้าค่อย ๆ ไปก็จะไม่สามารถเรียนตามได้ทัน โดยเฉพาะนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นต้องมีการประเมินผลโดยการสอบปลายภาคเรียน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ครู ผู้สอนจะต้องวางรากฐานความรู้ภาษาไทยให้กับนักเรียน โดยต้องแก้ไขปัญหาวิธีการสอน เพื่อปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการ เรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนให้ดียิ่งขึ้น วิธีการหนึ่งที่ผู้วิจัยเชื่อว่าน่าจะนำเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการสอนวิชาภาษาไทยให้ได้ผลดีก็คือ การสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย เพราะบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยสามารถช่วยส่งเสริมให้นักเรียนเรียนด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยเรียนไปพร้อม ๆ กัน สามารถสนองความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลได้เป็นอย่างดี ผู้ที่เรียนเก่งเรียนได้เร็วก็สามารถเรียนบทเรียนให้จบก่อนได้ ส่วนผู้ที่เรียนช้าก็เรียนไปตามความสามารถและความต้องการได้โดยที่บรรลุเป้าหมายของการเรียนเหมือนกัน การนำบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยมาใช้ช่วยประกอบการสอนนี้จะช่วยแบ่งเบาภาระใ นการสอนของครูทำให้ครูมีเวลาว่างที่จะเตรียมบทเรียนค้นคว้าสิ่งที่เป็นประโยชน์มาเพิ่มเติมให้แก่นักเรียนมากยิ่งขึ้นอีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู หรือช่วยแก้ปัญหาการเพิ่มนักเรียนมีจำนวนมากเกินกว่า ความรับผิดชอบของครูที่จะดูแลได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย (วิจิตร  ศรีสอ้าน, 2512) จากปัญหาของการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และข้อดีของบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ผู้วิจัยต้องสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43201 สำหรับใช้สอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 เพื่อช่วยแก้ปัญหาในการเรียนการสอนภาษาไทย และคาดว่าการวิจัยนี้น่าจะมีส่วนกระตุ้นให้ครูผู้สอนได้ทำการศึกษาและสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ฝึกทักษะฟั ง พูด อ่าน และเขียน ในการสื่อสารยังเป็นการแบ่งเบาภาระของครูอีกทางหนึ่งด้วย ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากความแตกต่างระหว่างบุคคลนั่นเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการรับรู้ และเวลาที่ใช้ในการเรียนรู้ต่างกัน แต่เวลาเรียนจำกัดสื่อที่สามารถสนองตอบต่อความแตกต่างระ หว่างบุคคลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี คือ บทเรียนสำเร็จรูปสอดคล้องกับความคิดของ Bloom (1976, p. 125) ที่เสนอแนะข้อบกพร่องของนักเรียนเป็นรายบุคคล เพราะเป็นการแก้ไขตัวแปรด้านความถนัดของนักเรียนแต่ละคนที่ไม่เหมือนกันให้ลดลงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสร้างบทเรียนสำเร็จรูปขึ้นมาใช้ประกอบการสอนวิชาภาษาไทย ท 43201 เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้มีการเรียนเพิ่มเติม และสามารถเรียนได้ ด้วยตนเองจนสามารถบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ เกิดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนตามที่กำหนดไว้ในจุดประสงค์การสอน

       ปัญหาเชิงทดลอง ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระคือวิธีการสอน และตัวแปรที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ต่อการวิจัย คือผลสัมฤทธิ์ทางการเ รียน โดยหลักจิตวิทยาแล้วนักเรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ตัดสินใจเรียนอะไรที่เขาต้องการ เอง ผู้เรียนสามารถสร้างจุดประสงค์ในการเรียนรู้สามารถหาแหล่งวิชาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง จุดประสงค์ของการสอนก็คือให้ผู้เรียนมีอิสระเต็มที่เป็นตัวของตนเอง ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ และให้ความช่วยเหลือเท่านั้นเป็นวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201

              สรุป

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองจริง (true experimental designs) ชนิด The posttest only control groups design มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 ให้มีประสิทธิภาพ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยที่สอนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ-เรียนวิภาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชันมัธยมศึกษาปีที่ 6 สมมติฐานการวิจัย (research hypothesis) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43201 ให้ผลดีกว่ากับวิธีการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การทดสอบสมมติฐานที่กล่าวว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้ วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยให้ผลดีกว่ากับวิธีการสอนแบบปกติ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบค่าที (t-test)

       ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีกาสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีความแตกต่างอย่างมี ยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยอมรับสมมติฐานว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 สูงกว่าการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ

            ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

       1.  ควรจะมีการศึกษาในเรื่องทฤษฏีพหุปัญหา (multiple intelligence) ซึ่งส่งเสร ิมถึงความฉลาดที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน เพื่อลดปัญหาการสอบตกและต้องเรี ยนซ่อมของเด็ก

       2.  ในการสอนวิชาภาษาไทย ครูควรจะส่งเสริมให้นักเรียนเกิดเจตนคติที่ดีต่อวิชาที่สอนมากกว่าที่จะเน้นเนื้อหาวิชาแต่เพียงอย่างเดียว

            3.  ศึกษาองค์ประกอบของบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย ท 43202 และจิตวิทยาที่เกี่ยวข้อง และกำหนดรูปแบบของบทเรียนว่าจะเป็นแบบใดจะเหมาะสมกับเนื้อหาและพื้นความรู้ของนักเรียน

         4.  เลือกและวิเคราะห์เนื้อหาเหมาะสมกับผู้เรียนที่จะเรียนด้วยตนเองได้เหมาะสมกับเวลามีเนื้อหาที่จะเป็นจริงและคงที่

         5.  กำหนดแนวคิดและจุดประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทย

         6.  บทเรียนสำเร็จรูปภาษา ไทย ท 43201 ต้องจัดทำคู่มือการใช ้และแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน จะต้องมีคู่มือสำหรับครู คู่มือสำหร ับนักเรียน

         เอกสารอ้างอิง

         รังสรรค์ กลิ่นแก้ว. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น ท 43202 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยการศึกษา), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

         Bloom, B. S. (1976). Human  characteristics and school learning New York: McGraw-Hill.

              Skinner, B. F. (1971). Beyond freedom and dignity. New York: Alfreed A Knopt.

          ประวัคิการศึกษาและการทำงานของผูู้้นำเสนอผลงาน 

ผู้เสนอผลงาน                                         นายร ังสรรค์ กลิ่นแก้ว; (Mr. Rungsun Klinkaeo)

ชื่อเรื่อง                                                   การ ปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยระหว่างวิธีการ

                                                               สอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น 

                                                               ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียน

                                                               บางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

สถานที่ทำงาน                                         โรงเรียนพุทธจักรวิทยา 728 /2 ถนนพระรามที่ 4 หลังวัดหัวลำโพง 

                                                               แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุุงเทพมหานคร 10500 โทรศัพทที่

                                                               สะดวกต่อการติดต่อกลับ โทร. 086-891-5381

                                                               E-mail address: klinkaeo@outlook.com

ประวัติการศึกษา                                     ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (คศ.ม.) ปีการศึกษา 2550 มหาวิทยาลัย

                                                               รามคำแหง กรุงเทพมหานคร

ประวัติการทำงาน                                    งานวิจัยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย

                                                               ระหว่างวิธีการสอนแบบบทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

                                                               และการสืบค้น ท 43201 กับวิธีการสอนแบบปกติ ชั้นมัธยมศึกษาปี

                                                               ที่ 6 โรงเรียน บางพลีราษฎร์บำรุง อำเภอบางพลี จังหวัด

                                                               สมุทรปราการ 

ประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญพิเศษ บทเรียนสำเร็จรูปภาษาไทยการอ่านงานประพันธ์เฉพาะเรื่อง ท 30201

                                                               พลศึกษาดนตรี แต่งคำประพันธ์กลอนสุภาพ การอ่านทำนองสนาะ 

                                                               Computer Internet Communication World Wide Web Informa

                                                               tion Technology Search Engine แหล่งเรียนรู้ Website: 

                                                               https://sites.google.com/site/MrKlinkaeoRungsun   

43201

Copyright © Copyright © On Wednesday, December 14, 2020, 18:27:21 PM. Mr. Rungsun Klinkaeo Inc. All rights reserved. rungsunklnk@gmail.com Site 

Recent Site Activity|Report Abuse|Print Page|Remove Access|Powered By Google Sites