ผู้จัดทำข้อตกลง

        นางสาวกัญจน์ชญา   แซ่กือ

          ตำแหน่ง  ครู     วิทยฐานะชำนาญการ  

            สถานศึกษา โรงเรียนป่าไม้อุทิศ ๔ 

            สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด 

ชั่วโมงสอนตามตารางสอน จำนวน 30 ชั่วโมง สัปดาห์

1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด             

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน....15....ชั่วโมง/สัปดาห์ดังนี้

      กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 20 นาที

      กิจกรรมเสริมประสบการณ์     20 นาที

      กิจกรรมสร้างสรรค์          40 นาที

      กิจกรรมเล่นตามมุม          40 นาที

      กิจกรรมกลางแจ้ง           40 นาที

      กิจกรรมเกมการศึกษา       20 นาที    

 

1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน.. 8..ชั่วโมง/สัปดาห์

                         - การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้                 1 ชั่วโมง/สัปดาห์

                         - การวัดและประเมินผลการเรียนรู้                1 ชั่วโมง/สัปดาห์

                         - การประเมินพัฒนาการเด็ก                       2 ชั่วโมง/สัปดาห์

                         - การสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน        1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- การมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ    3 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน...6...ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานวิจัยชั้นเรียน                              1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานตรวจการบ้านนักเรียน                       2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานครูที่ปรึกษาประจำชั้น/งานดูแลนักเรียน    1 ชั่วโมง/สัปดาห์

- ครูเวรประจำวัน                                  1 ชั่วโมง/สัปดาห์

1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน........1…….....ชั่วโมง/สัปดาห์

                         - โครงการต่าง ๆ                                   1 ชั่วโมง/สัปดาห์

2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งครู (ให้ระบุรายละเอียดของงานที่จะปฏิบัติในแต่ละด้านว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจระบุระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการด้วยก็ได้ 

งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้

จำนวน  6  ชั่วโมง/สัปดาห์

- งานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน                  จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- กิจกรรมหน้าเสาธง โฮมรูม                          จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์

- เวรประจำวัน                                            จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์


คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเยี่ยมบ้าน ปีการศึกษา 2566



งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ครู

ด้านการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 

ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

   ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาเด็กขาดทักษะการสังเกตโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) 


1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                        สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

  จากรายงานการประเมินพัฒนาการของเด็กที่จบหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4   ในปีการศึกษาที่ผ่านมาได้ประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ในปีการศึกษา 2565 พบว่าพัฒนาการ ด้านสติปัญญามี ค่าร้อยละที่ต่ำกว่าพัฒนาการด้านอื่น ๆ จึงได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาพบว่า ทักษะกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ของเด็กส่วนใหญ่สังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเกี่ยวกับลักษณะคุณสมบัติ ข้อมูลที่เกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงที่สังเกตเห็นได้จากวัตถุหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ไม่ละเอียด การจัดประเภทสิ่งต่าง ๆ ให้เข้าอยู่เป็นกลุ่มหมวดหมู่ไม่ได้หรือได้ตามคำชี้แนะเท่านั้น สื่อความหมายกับผู้อื่นไม่ได้อีกทั้งลงความเห็นจากข้อมูลได้ตามคำชี้แนะเท่านั้น ทั้งหมดนี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่จะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ระดับสูงขึ้นและส่งผลต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กในอนาคตอีกด้วย ทั้งนี้สืบเนื่องจากเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ส่วนใหญ่ เป็นเด็กชาติพันธ์  จึงทำให้เด็กไม่กล้าคิด กล้าถาม กล้าแสดงออกเท่าที่ควร บางคนอายไม่ยอมพูดหรือ พูดสื่อสารตามคำชี้แนะเท่านั้น  อีกทั้งเด็กส่วนใหญ่ขาดความมั่นใจในตนเอง

จากปัญหาดังกล่าวผู้จัดทำข้อตกลงจึงมีความสนใจนำวิธีการจัดประสบการณ์แบบโครงการ (Project Approach) มาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับอนุบาล3 เพื่อมุ่งหวังการแก้ปัญหาเด็กขาดทักษะการสังเกตให้มีประสิทธิภาพในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น อันจะส่งผลไปยัง พัฒนาการด้านสติปัญญา ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฎิบัติจริง (Active Learning)   สูงขึ้นและเป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับบริบทท้องถิ่นมากขึ้น




2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                     วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1)  ศึกษาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 เพื่อออกแบบหน่วยการเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวบ่งชี้

2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาล 3

3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

4) ออกแบบการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน ออกแบบกิจกรรมวิเคราะห์ตามมาตรฐานคุณลักษณะและตัวบ่งชี้

5) จัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงการตามที่ได้ออกแบบไว้

6) ประเมินผลการจัดประสบการณ์และนำผลที่ได้มาปรับปรุง ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

7) นำผลสะท้อนในการจัดประสบการณ์การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานบันทึกข้อมูลในระบบสารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้  นำข้อมูลที่ได้พัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ 

เด็กชั้นอนุบาล 3/1โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 ได้รับการแก้ไข/พัฒนาทักษะการสังเกตจากการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) ร้อยละ 70 ขึ้นไป



เชิงคุณภาพ 

 เด็กชั้นอนุบาล 3/1 โรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4 เกิดทักษะการสังเกตที่ดีมากขึ้น เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญาสูงขึ้น มีทักษะกระบวนการ การทำงานเป็นทีม และมีพัฒนาด้านการใช้ภาษา การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและการแก้ปัญหา จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ เจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และการแสวงหาความรู้ ตรงตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และตัวบ่งชี้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560 


ผลลัพธ์ของการจัดการเรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เรื่องไข่ 

คลิปวิดีโอการจัดการเรียนรู้

drive.google.com/file/d/1ZDfqYNY42dwCNI7CS2OjAFpqlw9AsHUd/view?usp=sharing 

ขอขอบคุณที่ปรึกษาในการพัฒนาเว็บไซต์ PA Online

นางศิรภัสสร  ชุมภูเทพ

-ตำแหน่ง ผู้อำนวยการ

-วิทยฐานะ ผู้อำนวยการ

ชำนาญการพิเศษ

-ผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นายณฐวรรฏ  เพียงสุวรรณ์

-ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

-วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการ

ชำนาญการ

-รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2


นางสาวสุพัฒนา ทวีเดช

-ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

-วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการ

ชำนาญการ

-รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2

นางนีรชา ทับประดิษฐ์

-ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการ

-วิทยฐานะ รองผู้อำนวยการ

ชำนาญการ

-รองผู้อำนวยการโรงเรียนป่าไม้อุทิศ 4

- สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2