การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน

การออกแบบส่วนส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานเป็นการออกแบบจอภาพออกแบบจอภาพเพื่่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบได้ตามต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันนิยมการออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานแบบกราฟิกหรือ GUI (Graphic User interface) ที่มุ่งเน้นการปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ จึงควรมีการออกแบบเพื่อดึงดูดความสนใจ และเลือกใช้สื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับปฎิสัมพันธ์ เพราะสามารถสื่อสารกับผู้ใช้กับผู้ใช้งานในรูปแบบข้อและรูปภาพต่างๆ ได้ ทำให้ใช้งานสะดวกและเรียนรู้ได้รวดเร็ว การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานมีหลายรูปแบบซึ่งแต่ละแบบอาจนำมาทำงานร่วมกันได้ ดังนี้

9.1.1 การโต้ตอบด้วยคำสั่ง

การโต้ตอบด้วยคำสั่งเป็นการโต้ตอบกันกับระบบโดยที่ผู้ใช้จะต้องพิมพ์คำสั่งลงในช่องป้อนคำสั่งลเพื่อให้ระบบทำงาน โดยผู้ใช้ต้องจดจำคำสั่งหรือไวยกรณ์ต่างๆ ตัวอย่างเช่น ระบบปฎบัติการ DOS

9.1.2 การโต้ตอบด้วยเมนูคำสั่ง

การโต้ตอบด้วยเมนูคำสั่งเป็นการโต้ตอบกับผู้ใช้โดยการแสดงเมนูคำสั่งให้ผู้ใช้งานเลือก โดยไม่ต้องป้อนคำสั่งเอง การโต้ตอบประเภทนี้ผู้ใช้ไม่ต้องจดจำคำสั่ง เพียงแต่เลือกรายการคำสั่งที่ต้องการ ระบบก็สามารถทำงานตามต้องการได้ จึงได้รับนิยมเพราะมีความง่ายในการใช้งานและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ด้วยเมนูคำสั่งแบบกราฟิกที่สามารถทำงานบนพื้นระบบทำงานวินโดว์ มีรูปแบบดังนี้

1. Pull-down Menu เป็นเมนูที่แสดงตัวเลือกของรายการคำสั่ง

2. Pop-up Menu เป็นเมนูนูที่แสดงรายการคำสั่ง

9.1.3 การโต้ตอบด้วยแบบฟอร์ม

การโต้ตอบด้วยแบบฟอร์มเป็นการโต้ตอบที่ผู้ใช้ระบบจะต้องป้อนข้อมูุลลงในช่องว่างที่อยู่ในแบบฟอร์มที่แสดงบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการกรอกลงในแบบฟอร์มกระดาษ ซึ่งเป็นวิธีการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบหรือเพื่อการนำเสนอข้อมูล การออกแบบฟอร์มที่ดีควรมีชื่อของช่องกรอกข้อมูลด้วย มีการแบ่งส่วนข้อมูลบนแบบฟอร์ม มีการแสดงข้อมูลเริ่มต้นให้ช่องป้อนข้อมูลที่ต้องใช้ข้อมูลนั้นบ่อยครั้ง และช่องป้อนข้อมูลของแบบฟอร์มไม่ควรมีความหมายยาวเกินไป

9.1.4 การโต้ตอบเชิงวัตถุ

การโต้ตอบเชิงวัตถุเป็นการโต้ตอบกับระบบด้วยการใช้เสียงพูดของผู้ใช้ระบบ

9.1.5 การโต้ตอบด้วยภาษามนุษย์

เป็นการโต้ตอบด้วยการใช้ภาษาของผู้ใช้ระบบ