โครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเยาวชน

THAILAND NEW GEN INVENTORS AWARD

I - NEW GEN AWARD

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานที่มีภารกิจหน้าที่หลักในการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศรวมถึงการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมโดยการสร้างแรงจูงใจแก่นักวิจัยและนักประดิษฐ์ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย.สิ่งประดิษฐ์.และนวัตกรรมที่มีคุณภาพและสนับสนุนนักวิจัย.นักประดิษฐ์ในการพัฒนางานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่างๆ ตลอดจนการให้รางวัล ประกาศเกียรติคุณ หรือยกย่องบุคคลหรือหน่วยงานด้านการวิจัยและนวัตกรรม.จึงได้จัดให้มีโครงการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม “Thailand New Gen Inventors Award (I - New Gen Award)" ขึ้น เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจและมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นนักวิจัยและนวัตกรในอนาคต ตามเป้าหมายในการสร้าง “เยาวชนผู้เปลี่ยนอนาคต : Youth as Future Changer” ได้มีเวทีในการแสดงความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้นซึ่งจะนำไปสู่ช่องทางในการขยายฐานบุคลากรด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงประเทศในอนาคตและยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์


ประเภทการประกวด

แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย

1. ระดับมัธยมศึกษา (มัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย)

2. ระดับอาชีวศึกษา (ประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง)

3. ระดับอุดมศึกษา  (ปริญญาตรีและปริญญาโท)

กลุ่มเรื่องการประกวด

แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มเรื่อง ได้แก่

กลุ่มที่ 1 การเกษตร ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่มีเทคโนโลยีระบบการผลิต การออกแบบและพัฒนาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและการปศุสัตว์ เทคโนโลยีการเกษตร (Agri tech) พืช สัตว์ และการประมง อุตสาหกรรมเกษตร วิศวกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 2 อาหาร ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมด้านอาหาร อุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่ออำนวยความสะดวกในกระบวนการผลิตอาหาร เทคโนโลยีอาหาร (Food tech) อาหารเสริม อาหารแห่งอนาคต การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เครื่องดื่ม การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ โดยการสร้างมาตรฐานความสะอาด และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

    กลุ่มที่ 3 สุขภาพและการแพทย์ ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเทคโนโลยีสุขภาพ (Health tech) ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษา การป้องกันและบำบัด การสร้างเสริมและฟื้นฟูสุขภาพ การอำนวยความสะดวกหรือเพิ่มความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง การเสริมสร้างสุขภาวะทางกายและจิตใจ เพื่อให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีต่อผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ผู้ทุพพลภาพ และประชาชน รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ โดยต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 4 พลังงาน วัสดุ และเคมีชีวภาพ  ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการพัฒนานวัตกรรมการผลิตพลังงานที่มีประสิทธิภาพสูง พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานทดแทน (Renewable Energy) เชื้อเพลิงชีวภาพ เทคโนโลยีพลังงานสะอาด พลาสติกชีวภาพและสารเคมีชีวภาพ การอนุรักษ์พลังงาน และเทคโนโลยีสะอาด (Clean Tech) ที่สามารถออกแบบเพื่อแก้ไข ฟื้นฟู บำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มที่ 5 การท่องเที่ยว ประกอบด้วย สิ่งประดิษฐ์ ดิจิทัล อิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และนวัตกรรมเทคโนโลยีการท่องเที่ยว (Travel tech) ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ เชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวในรูปแบบความสนใจพิเศษอื่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ (Service Enhancing) โดยการใช้องค์ความรู้ และความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการรูปแบบใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง รวมถึงการพัฒนาเพื่อส่งออกสินค้าและบริการผ่านของขวัญของฝากอย่างมีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


คุณสมบัติของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เข้าร่วมประกวด

  1. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ของนักเรียน นิสิต/นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยส่งผลงานเป็นทีม 

  2. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเรื่องที่ วช. กำหนด ในกลุ่มเรื่องใดกลุ่มเรื่องหนึ่งและเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมจะนำไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการนำไปใช้จริง (หากผลงานมีผู้ใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน ขอให้แนบหลักฐานเพื่อประโยชน์ต่อการพิจารณาของคณะกรรมการ)

 3. เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่คิดค้นขึ้นใหม่ และ/หรือ ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แสดงถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีความชาญฉลาดในการประดิษฐ์หรือการปรับปรุง มีความปลอดภัย ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ มีความเหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับผลงาน หาได้ง่าย มีต้นทุนต่ำ มีการนําองค์ความรู้จากการวิจัย หรือหลักวิชาการที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้หรือสนับสนุนการประดิษฐ์

  4. ต้องไม่เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ลอกเลียนแบบมาจากผู้อื่น และให้ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เสนอผลงานที่เข้าร่วมประกวด

      5.  ผลงานสิ่งประดิษฐ์หากเคยได้รับรางวัลจากการประกวดจาก วช. หรือ จากหน่วยงานอื่น ๆ มาก่อนแล้ว จะต้องได้รับการปรับปรุง  และพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมโดยระบุให้เห็นข้อแตกต่างแต่การได้รับรางวัลหนึ่งรางวัลใดมาก่อนจะไม่มีผลต่อการพิจารณาตัดสิน

ทั้งนี้คณะกรรมการจะพิจารณาจากการพัฒนาต่อยอดผลงานให้ดีขึ้นเป็นสำคัญ

       6. วช. ขอสงวนสิทธิ์ในการจัดกลุ่มผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เสนอผลงานไม่ตรงตามกลุ่มเรื่อง

หลักเกณฑ์การพิจารณารางวัล

ความแปลกใหม่: เป็นผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นที่พัฒนาขึ้นใหม่ หรือพัฒนารูปแบบวิธีการทำงานใหม่ให้ดีกว่าเดิมอย่างชัดเจน ผลงานมีความโดดเด่นน่าสนใจ และแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากสิ่งประดิษฐ์ชิ้นอื่นในประเภทเดียวกัน     

ความชาญฉลาดในการประดิษฐ์ : วัสดุที่ใช้เหมาะสม ประหยัด มีความคงทนแข็งแรง ปลอดภัย ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  

ความยากง่าย: โดยวัดจากระดับของการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับผลงานประดิษฐ์คิดค้นอย่างเดียวกันหรือในวิทยาการเดียวกันและพื้นความรู้ความสามารถของผู้ประดิษฐ์ในระดับเดียวกัน   

ความเป็นที่ต้องการ: เป็นผลงานประดิษฐ์คิดค้นที่ช่วยแก้ไขปัญหาสำคัญหรือเป็นผลงานที่สอดคล้องกับความจำเป็นหรือความต้องการของชุมชน สังคม ท้องถิ่น หรือสาธารณะ   

การใช้ประโยชน์: เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมในเชิงชุมชน/สังคม ภาคบริการ การผลิต พาณิชย์ หรืออุตสาหกรรม สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่กำหนดไว้ในคุณลักษณะเฉพาะของผลงานสิ่งประดิษฐ์นั้น มีระบบการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง หรือสามารถนำไปพัฒนาต่อเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ใหม่ได้ด้วย และ/หรือเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่จะมีประโยชน์มากในอนาคต

การให้รางวัล

แบ่งการให้รางวัลออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1. เหรียญรางวัล I-New Gen Award ผลงานละ 1 เหรียญ พร้อมเกียรติบัตร ผลงานละ 1 ใบ ตามเกณฑ์คะแนนของคณะกรรมการฯ แบ่งเป็น 3 ระดับรางวัล ดังนี้

          รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal)          

         • รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) 

         • รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) 

  ทั้งนี้ ผลงานในกลุ่มเหรียญทองที่มีคะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก จะได้รับถ้วยรางวัล I-New Gen Award ตามรายละเอียดข้อที่ 2

 2. ถ้วยรางวัล I-New Gen Award ในแต่ละระบและแต่ละกลุ่มเรื่อง ตามเกณฑ์คะแนนของคณะกรรมการฯ ในแต่ละระดับและแต่ละกลุ่มเรื่อง ได้รับถ้วยรางวัล   พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล ดังนี้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

   1. เยาวชนที่มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและนวัตกรรม ได้แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ 

   2. เกิดการพัฒนากลไกเชื่อมโยงเยาวชนผู้มีความสามารถพิเศษด้านการประดิษฐ์คิดค้น วิจัยและนวัตกรรมให้เข้าสู่เส้นทางอาชีพนักวิจัย  และนวัตกรในภาคการผลิต บริการ สังคม และชุมชน