อินเทอร์เน็ตในงานธุรกิจ หน่วยที่ 6

แบบทดสอบหลังเรียน

1.ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้มาตามความเข้าใจ

  • 1. จงอธิบายความหมายเกี่ยวกับธุรกิจ

  • 2. จงสรุปความการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ Business Data Processing มาตามความเข้าใจ

  • 3. จงบอกความหมายและคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

  • 4. จงบอกประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ

(ทำใน Word แล้วงานมาทางอีเมลนี้ internetinessapplications@gmail.com)

แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยที่ 6


หลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2562

สัปดาห์ครั้งที่ 10-11

รหัสวิชา 20204-2101 ชื่อวิชา อินเทอร์เน็ตในงานธุรกิจ ท-ป-น 1-2-2

ชื่อหน่วยการเรียนรู้ การใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธรุกิจ

ทฤษฎี 2 ชั่วโมง ปฏิบัติ 4 ชั่วโมง

สาระสำคัญ

- จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันนี้ จะพบว่าธุรกิจมีการแข่งขันการสูงมากต้องอาศัยวิธีการและกลยุทธ์ต่างๆ มากมายเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด ต้องมีการวางแผนการดำเนินงานอย่างดีรู้จักความต้องการของตลาดหรือกลุ่มลูกค้าของตนเอง มีเงินลงทุน มีความใจกล้า และมีความอดทนสูงจึงจะสามารถนำพาธุรกิจของตนให้อยู่รอดและเจริญก้าวหน้าได้ หากวางแผนการดำเนินการไม่ดี กลยุทธ์การดำเนินงานไม่ดี ธุรกิจนั้นอาจจะประสบปัญหาการขาดทุนและไม่สามารถอยู่รอดได้ สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึง คือ ความรวดเร็วในการให้บริการแก่ลูกค้าประจำของธุรกิจนั้นตลอดไป หากธุรกิจใดดำเนินงานแบบไม่มีขั้นตอนหรือขั้นตอนมากจนลูกค้าสับสน ให้บริการล่าช้า ไม่ประทับใจ ก็จะเป็นสาเหตุให้ลูกค้าที่เคยมีอยู่ค่อยๆลดน้อยลง จนทำให้ธุรกิจไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้

- ความเร็วในการให้บริการและการสร้างความประทับใจในการให้บริการแก่ลูกค้านั้น เป็นสิ่งที่ลูกค้าพอใจ แต่ทั้งนี้ต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องและความจริงใจด้วย หากเราสามารถบริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วแต่มีข้อผิดพลาดอยู่เสมอ เช่น ทอนเงินผิด หยิบสินค้าผิด ให้บริการผิดพลาดจากที่ลูกค้าสั่ง เป็นต้น ลูกค้าย่อมไม่พอใจบริการนั้นเช่นกัน ปัญหาเรื่องความเร็วและความถูกต้องนั้น ธุรกิจสามารถแก้ได้โดยการนำเครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาใช้ เช่น เครื่องคำนวณ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเงินสด เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมและเงินทุนของกิจการว่าจะจัดหาอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงมาใช้ได้มากหรือน้อยเพียงใด

สมรรถนะประจำหน่วย

1. ค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. เพื่อให้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ (ด้านความรู้)

2. เพื่อให้มีทักษะเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ (ด้านทักษะ)

3. เพื่อให้เห็นคุณค่าของการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจ (ด้านเจตคติ)

4. เพื่อมีจิตสำนึกที่ดีเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ (ด้านคุณธรรม จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

1. อธิบายความหมายเกี่ยวกับธุรกิจได้ (ด้านความรู้ความจำ)

2. สรุปความการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ Business Data Processing ได้ (ด้านความเข้าใจ)

3. ชี้แจงความหมายและคุณสมบัติของคอมพิวเตอร์ได้ (ด้านจิตพิสัย)

4. ประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจได้ (ด้านจิตพิสัย)

5. สังเกตการนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ด้านทักษะ)

6. สาธิตการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานได้ (ด้านทักษะ)

7. มีความซื่อสัตย์สุจริตในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับธุรกิจ (ด้านคุณธรรม

จริยธรรม/บูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง)

เนื้อหาการเรียนรู้

ความหมายของธุรกิจ(Meaning of business)

"ธุรกิจ"หมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดจำหน่าย และการบริการ โดยภายในหน่วยงานหรือธุรกิจนั้น ๆ มีการนำทรัพยากรที่มีอยู่มาผสมผสานกันอย่างมีระบบ มีระเบียบตามกฏเกณฑ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนหรือผู้บริโภค ในขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดผลประโยชน์หรือบรรลุตามเป้าหมายของธุรกิจ และไม่ก่อให้เกิดมลภาวะที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อม

1 ธุรกิจ หมายถึง องค์การ หรือกิจการที่ก่อให้เกิดสินค้า และบริการ ธุรกิจเป็นกระบวนการทั้งหมดของการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาเปลี่ยนสภาพตามกรรมวิธีการผลิตด้วยแรงคน และเครื่องจักรให้เป็นสินค้า เพื่อประโยชน์แก่ผู้ที่ต้องการ กิจกรรมของธุรกิจจึงรวมทั้งการผลิตซื้อ ขาย การจำแนกแจกจ่ายสินค้า การขนส่ง การธนาคาร การประกันภัย และอื่น ๆ

2 ธุรกิจ หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่ทำให้มีการผลิตสินค้า และบริการ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยน จำหน่าย และกระจายสินค้าและมีประโยชน์หรือกำไรจากกิจกรรมนั้น ธุรกิจมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุยษ์ในสังคมปัจจุบันมากเพราะนอกจากจะเป็นองค์การที่ผลิตสินค้า หรือบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานของการดำรงชีวิต หรือปัจจัย4 การประกอบธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็ก หรือใหญ่แค่ไหนก็ตาม สิ่งที่สำคัญ คือ กำไร เพราะเป็นแรงจูงใจของการดำเนินการทางธุรกิจ ก่อให้เกิดการแข่งขันและการขยายตัวทางธุรกิจให้เจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

3 ธุรกิจ หมายถึง ความพยายามที่เป็นแบบแผนของนักธุรกิจในการผลิต และขายสินค้า หรือบริการ เพื่อสนองความต้องการของสังคมโดยมุ่งหวังกำไร ความสำคัญของธุรกิจ ความหมายของธุรกิจและการประกอบธุรกิจ

คำว่า "ธุรกิจ" ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า "Business" ซึ่งมาจากคำว่า Busy ที่แปลว่า ยุ่ง,วุ่น, มีงานมาก, มีธุระยุ่ง ดังนั้นธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่จะต้องคิด ต้องแก้ปัญหา และต้องพัฒนาอยู่ตลอดเวลาความจริงคำว่า ธุรกิจ นี้เป็นคำกลาง ๆ ไม่ได้หมายความว่าเป็นเรื่องของเอกชนหรือของรัฐบาล และกิจกรรมต่าง ๆ ที่กระทำกันโดยทั่ว ๆ ไปนั้นก็ถือว่าเป็นธุรกิจ เพียงแต่เวลาที่เราพูดถึงธุรกิจเรามักจะรับรู้ว่าเป็นเรื่องของเอกชน เป็นเรื่องขอการมุ่งหวังกำไร เพราะฉะนั้นความหมายที่รับรู้กัน ณ วันนี้ก็คือว่า ธุรกิจเป็นเรื่องของกิจการที่เข้ามารับความเสี่ยง

ความหมายของธุรกิจ (Business) หมายถึง กิจกรรมทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมีความเกี่ยวพันในวงการของสถาบัน เพื่อที่จะจำหน่ายและให้บริการภายใต้กฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมีความสัมพันธ์กับบริการอื่นและกลุ่มผู้ทำงานร่วมมือให้บรรลุถึงจุดหมายอันเดียวกัน คือ ความสำเร็จของหน่วยงาน

การประกอบธุรกิจ หมายถึง การผลิตสินค้าและบริการ และการนำสินค้าและบริการนั้นมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค ฉะนั้นถ้าการผลิตสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ได้ถูกนำมาใช้บริโภคเอง ไม่ได้นำไปขายหรือจำหน่ายจึงเรียกว่า การอุปโภคบริโภค (Consumption) ของตนเอง แต่ถ้าการผลิตสินค้าและบริการได้ถูกนำไปขายหรือจำหน่ายต่อไปจึงเรียกว่า การค้า (Commerces) / การประกอบธุรกิจ (Business Activities)

สรุปก็คือว่า ธุรกิจ เป็นกระบวนการดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการให้บริการนั่นเอง

การประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ (Business Data Processing)

ระบบการประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ การปฏิบัติ

งานการประมวลผลข้อมูลประกอบด้วย ผู้ใช้และเครื่องจักรในการประมวลผลข้อมูล และการจัดการข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลทางธุรกิจได้มาจากแหล่งธุรกิจต่าง ๆ จะถูกกำหนดขึ้นจากแหล่งธุรกิจย่อย ๆ เป็นประจำ เช่น ใบส่งสินค้าหรืใบสั่งซื้อวัสดุการขายสินค้าทางธุรกิจ การจ้างบุคลากร การจ่ายค่าจ้างหรือเงินเดือนแก่ลูกจ้าง ข้อมูลทางธุรกิจจะเพิ่มขึ้นตามสภาพการทำงานทุกวันสิ่งที่ต้องรู้จากแหล่งข้อมูล คือ รายได้เป็นประจำของธุรกิจ และความต้องการสินค้าของตลาด การเปรียบเทียบข่าวสารที่ได้มาจากแหล่งธุรกิจ สำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ

วิธีการประมวลผลข้อมูลธุรกิจ

การประมวลผลข้อมูล (Data Processing) นั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้ทำมานานในอดีตตั้งแต่คิดค้นวิธีขีดเขียนใช้สัญลักษณ์ในการบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้เขียนด้วยมือหรืออุปกรณ์อะไรก็ตามในการประมวลผลข้อมูล เราจะสามารถแบ่งการกระทำดังกล่าวออกเป็นงานพิ้นฐานได้ดังต่อไปนี้

1. การบันทึก (Recording) ได้แก่ การเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำมาประมวลผล การบันทึกขั้นแรกอาจจะ

ทำได้โดยใช้การจดด้วยมือ เช่น ปริมาณการขายสินค้า จำนวนผลิตของและผลิตภัณฑ์หรือการกรอกแบบฟอร์มต่าง ๆ เป็นต้น

อาจจะใช้อุปกรณ์อื่นในการบันทึกข้อมูลด้วย เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องเจาะบัตร หรืออุปกรณ์ส่งข้อมูลเข้าหน่วยความจำของ คอมพิวเตอร์โดยตรง

2. การแยกประเภท (Classifying) ได้แก่ การจัดแยกข้อมูลซึ่งมีลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เป็นกลุ่มหรือประเภท เช่น

ข้อมูลเกี่ยวกับการขายสินค้าอาจจะถูกจัดแยกตามชนิดของผลิตภัณฑ์ ลูกค้า หรือพนักงานขาย เป็นต้น

3. การจัดลำดับ (Sorting) คือ การคัดเลือกข้อมูลแต่ละประเภทเพื่อจัดให้มีลำดับเหมาะสมแก่การนำมาประมวลผล เช่น จัดตามลำดับ

4. การคำนวณ (Calculating) การประมวลผลข้อมูลโดยปกติมักจะต้องมีการคำนวณร่วมอยู่ด้วยซึ่งอาจจะเป็นเพียง

การนับจำนวนข้อมูลแต่ละประเภท หรือเป็นงานคำนวณซึ่งสลับซับซ้อนมากขึ้น เช่น คำนวณค่าแรงงานจากข้อมูลเวลาการ

ทำงานอัตราค่าแรงและภาษี เป็นต้น บางกรณีการคำนวณต้องใช้เวลามากเกินความสามารถของมนุษย์ก็จำเป็นต้องพึ่งคอมพิวเตอร์ในการทำงาน

5. การสรุปผล (Summarizing) คือ การนำข้อมูลต่าง ๆ มากลั่นกรองและย่อลงให้เหลือเฉพาะส่วนที่จำเป็นซึ่งจะ ต้องรายงานต่อผู้บริหารเท่านั้น

6. การเก็บข้อมูล (Storing) เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ได้อีก จึงต้องมีการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ไว้อย่างมีระเบียบ ซึ่งอาจจะใช้แฟ้มหรือตู้ เอกสาร ตลอดจนเทปหรือจานแม่เหล็กซึ่งใช้กับคอมพิวเตอร์

7. การนำข้อมูลกลับมาใช้ใหม่ (Retrieving) เมื่อจำเป็นต้องใช้ข้อมูลเก่าซึ่งเก็บไว้มาทำการประมวลผลอีก ซึ่งต้องสามารถเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาได้ เช่น การค้นหาชื่อผู้ผลิตและราคาสินค้า อาจจะค้นหาจากแฟ้มเอกสารหรือใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่านข้อมูลจากเทปหรือจานแม่เหล็กได้อย่างรวดเร็ว

8. การลอกข้อมูลซ้ำ (Reproducing) บางกรณีจำเป็นต้องการข้อมูลหลายชุด ซึ่งอาจใช้วิธีต่าง ๆ ตั้งแต่ใช้พนักงานคัดลอกลงบนกระดาษ ใช้เครื่องถ่ายเอกสารจนถึงการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์พิมพ์ออกมาซ้ำกันหลายชุด

9. การสื่อสารข้อมูล (Communicating) ได้แก่ การส่งข้อมูลไปตามหน่วยงานต่าง ๆ ภายในองค์การธุรกิจ เพื่อนำไปประมวลผลหรือใช้ตามความต้องการของแต่ละหน่วยงาน

ความหมายและคุณลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์

พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ พุทธศักราช 2530 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

พจนานุกรมไทย มานิต มานิตเจริญ ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องคำนวณแบบอัตโนมัติ สมองกล "

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์"

คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computer หรือตรงกับภาษาไทยว่า "คณิตกรณ์" ซึ่งหมายถึง การนับ การคำนวณ ดังนั้น คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจดจำข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ตัวเลขเพื่อการใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนการสั่งงานของโปรแกรม มีความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูล การเปรียบเทียบประมวลผลข้อมูล จัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อนำมาใช้ในครั้งต่อๆไป

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer) หรือคอมพิวเตอร์พีซี (PC :Personal Computer) หรือดิจิตอลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) หมายถึง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่ใช้กันทั่วๆ ไป

คุณลักษณะที่สำคัญของคอมพิวเตอร์

1. ทำงานโดยอัตโนมัติโดยโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้น

2. ทำงานได้หลายอย่างตามโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้น

3. ประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องจักรกลโดยทั่วไป เพราะเครื่องจักรกลหรือเครื่องยนต์ เมื่อทำงานชิ้นส่วนต่างๆ จะต้องเคลื่อนไหว ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น ทรานซิลเดอร์วงจรไอซี และซีพียู จะทำงานโยไม่เคลื่อนไหวเลย (ยกเว้นพัดลมภายในเคสที่ต้องระบายความร้อน)

4. เป็นระบบดิจิตอล (Digital) คำว่า Digital มาจากคำว่า “Digit” ซึ่งแปลว่า ตัวเลข ข้อมูลที่ป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น ตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ต่างๆ จะถูกแปลงเป็นตัวเลขทั้งหมดก่อนที่เครื่องจะทำการประมวลผล ดังนั้น จึงเรียกคอมพิวเตอร์ว่า “ดิจิตอลคอมพิวเตอร์”

5. ทำงานด้วยความเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำ หน่วยวัดความเร็วของคอมพิวเตอร์

- มิลลิเซกัน (Millisecond) เปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000 วินาที หรือของวินาที

- ไมโครเซกัน (Microsecond) เปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000 วินาที หรือของวินาที

- นาโนเซกัน (Nanosecond) เปรียบเทียบความเร็วเท่ากับ 1/1,000,000,000 วินาที หรือของวินาที

6. มีหน่วยความจำภายใน ซึ่งมีหน้าที่เก็บโปรแกรม หรือชุดคำสั่ง และเก็บข้อมูลไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลตามคำสั่ง ตั้งแต่คำสั่งแรกจนถึงคำสั่งสุดท้าย จนกระทั่งแสดงผลลัพธ์ที่แสดงจอคอมพิวเตอร์หรือเครื่องพิมพ์

7. มีความน่าเชื่อถือ หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ซึ่งเกี่ยวข้องกับชุดคำสั่งหรือโปรแกรม และข้อมูลที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปประมวลผลหากป้อนข้อมูลผิดพลาด ผลลัพธ์ที่ได้ก็ไม่ถูกต้องด้วย

8. มีความสามารถในการทำงานซ้ำๆ ช่วยลดปัญหาเรื่องความเมื่อยล้าจากการทำงานด้วยแรงงานมนุษย์นอกจากนั้น ยังลดความผิดพลาดต่างๆได้เป็นอย่างดี ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล แม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อน คอมพิวเตอร์จะคำนวณและหาผลลัพธ์ได้อย่างรวดเร็ว

9. ปัจจุบันคอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อกันได้หลายๆ เครื่องเป็นเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายที่ใช้ภายใองค์กร (LAN : Local Area Network) หรือระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้การประมวลผลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจต่างๆ

กิจกรรมทางธุรกิจที่นิยมนำเครื่องมาใช้ในการดำเนินงานหลายด้านด้วยกัน เช่น

1. ด้านการสถาบันการศึกษา ใช้คอมพิวเตอร์ในการรับสมัครนักศึกษาเข้าเรียน การขำระค่าลงทะเบียนเรียนผ่านทางธนาคารการตรวจสอบผลการเรียน เป็นต้น

2. ด้านสื่อสิ่งพิมพ์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลข่าวสาร การออกแบบรูปเล่ม การตัดต่อข้อมูล การส่งไปตีพิมพ์ เป็นต้น

3. ด้านการธนาคาร ใช้คอมพิวเตอร์ในการให้บริการกับลูกค้า การฝากเงิน การถอนเงิน และการชำระค่าบริการต่างๆ เป็นต้น

4. ด้านโรงแรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกข้อมูลการเข้าพัก และการแจ้งคืนห้องพักของลูกค้า การชำระค่าห้องพัก เป็นต้น

5. ด้านธุรกิจสายการบิน ใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจดูตารางการบิน การจองตั๋วเครื่องบิน การยกเลิกเที่ยวบิน การสำรวจที่นั่งล่วงหน้า เป็นต้น

6. ด้านการแพทย์ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการค้นหาประวัติของคนไข้ การวินิจฉัยโรค การเอ็กซเรย์ การชำระเงินค่ารักษา เป็นต้น

7. ด้านอุตสาหกรรม ใช้คอมพิวเตอร์ในการเพิ่มผลผลิตสินค้าให้มีปริมาณมากขึ้น และเพียงพอกับความต้องการของตลาด ตรวจสอบคุณภาพของสินค้า การออกแบบการบรรจุหีบห่อให้สวยงาม เป็นต้น

8. ด้านบันเทิง ใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบและติดต่อภาพ การควบคุมคุณภาพเสียง การออกแบบและตัดต่อภาพ การควบคุมภาพของเสียง การออกแบบท่าทางเต้น การโฆษณา เป็นต้น

9. ด้านการสื่อสาร เช่น การนำอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนร่วมในงาน เป็นต้น

10. ด้านตลาดหลักทรัพย์ ใช้คอมพิวเตอร์ในการซื้อ-ขายหุ้น เป็นต้น