องค์ประกอบของใบ

โครงสร้างภายนอกของใบ

โครงสร้างภายนอกของใบ

แผ่นใบ ( blade หรือ lamina ) ประกอบด้วย 1.เส้นใบ ( vein ) ให้สังเกตเส้นกลางใบ ( midrib ) ซึ่งต่อเป็นเนื้อเดียวกับก้านใบ จากเส้นกลางใบ แยกออกเป็นเส้นใบ ซึ่งจะแยกแขนงออกไปอีก เป็นเส้นแขนงใบ ( vientet ) มี2ชนิดคือแบบขนานและแบบ ตาข่าย

2.ก้านใบ ( petiole ) ติดกับแผ่นใบตรงฐานใบ ยกเว้นบางชนิดก้านใบติดตรงกลาง หรือตรงด้านใน ของแผ่นใบ ก้านใบสั้นบ้าง ยาวบ้าง หรือไม่มี ก้านใบเลย เรียก sessile leafก้านใบโดยมากมีลักษณะกลม ใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวบางชนิด ก้านใบแผ่หุ้มลำต้นเรียกกาบใบ leaf sheath

3.หูใบ ( stipule ) เป็นระยางค์ อยู่ตรงโคนก้านใบ ถ้าเป็นหูใบของในย่อย ( เรียกหูใบ ย่อย( stiple )หูใบมีลักษณะเป็นริ้ว หนามหรือต่อมเล็ก ๆ ส่วน ใหญ่มีสีเขียวหูใบมีรูปร่างขนาด และสีต่างกัน

1.1 เส้นใบแบบขนาน (parallel venation )พบในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว แบ่งเป็นเรียงตามยาวของใน (plamately parallelvenation)

1.2เส้นใบแบบตาข่าย ( netted หรือ recticulated venation ) ซึ่งมี 2 แบบคือ

- แบบตาข่ายขนนก ( pinnately netted venation )

- ตาข่ายแบบรูปมือ ( palmately netted venation )

โครงสร้างภายในของใบ

โครงสร้างของใบ ประกอบด้วย 1.เอพิเดอร์มิส (Epidermis) 2.มีโซฟิลล์ (mesophyll) 3. มัดท่อลำเลียง

เอพิเดอร์มิส (Epidermis)

ป็นเนื้อเยื่อผิว มีทั้งด้านบนและด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์เพียงชั้นเดียวหรือหลายชั้น ได้แก่ เซลล์ผิว เซลล์ขน หรือเปลี่ยนไปเป็นเซลล์คุม (guard cell) ภายในเซลล์ผิวมักไม่ค่อยมีคลอโรพลาสต์หรือมีน้อยยกเว้นเซลล์คุม เซลล์ผิวมีคิวทินเคลือบอยู่ที่ผนังเซลล์ด้านนอกเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ออกจากใบ เซลล์คุมมีรูปร่างคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ประกบกัน พืชที่ใบลอยปริ่มน้ำ เช่น บัวสาย จะมีปากใบ (stoma) อยู่เฉพาะทางด้านบนของใบเท่านั้น ส่วนพืชที่จมอยู่ใต้ผิวน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอกจะไม่มีปากใบและไม่มีคิวทินฉาบผิว ใบพืชบางชนิดมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่าง เช่น ใบข้าวโพด

มีโซฟิลล์ Mesophyll

ป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้ง 2 ด้าน ส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อพาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาสต์จำนวนมาก โดยทั่วไปพาเรงคิมาในพืชใบเลี้ยงคู่จะมีเซลล์ 2 แบบ ทำให้โครงสร้างภายในแบ่งเป็น2 ชั้นคือ

1. แพลิเซดมีโซฟิลล์ (palisade mesophyll) มักพบอยู่ใต้ชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน ประกอบด้วยเซลล์รูปร่างยาว เรียงตัวเป็นแถวตั้งฉากกับผิวใบคล้ายรั้วอาจมีแถวเดียวหรือหลายแถว ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์ค่อนข้างหนาแน่นมาก

2.สปันจีมีโซฟิลล์ (spongy mesophyll) อยู่ถัดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียงตัวในทิศทางต่างๆ กัน ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์มาก ภายในเซลล์มีคลอโรพลาสต์หนาแน่นแต่น้อยกว่าแพลิเซดมีโซฟิลล์

มัดท่อลำเลียง

ประกอบด้วยไซเลมและโฟลเอ็ม โดยไซเลมและโฟลเอ็มจะเรียงติดต่อถึงกันอยู่ในเส้นใบ พืชบางชนิดมัดท่อลำเลียงจะล้อมรอบด้วยบันเดิลชีท (bundle sheath) เช่น ใบข้าวโพด บันเดิลชีทในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อไฟเบอร์ช่วยทำให้มัดท่อลำเลียงแข็งแรง เร็วขึ้น ในพืชบางชนิดมีเนื้อเยื่อพาเรงคิมา ซึ่งจะมีคลอโรพลาสต์หรือไม่มีก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช มัดท่อลำเลียงส่วนใหญ่จะอยู่ในชั้นสปันจีมีโซฟิลล์