เนื้อหา

1.การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข่ามามีบทบาทกับชีวิตของผู้คนในหลากหลายด้าน และถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมปัจจุบัน โดยเราสามารถใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงข้อมูลจากผู้อื่น รวมถึงสามารถแชร์ข้อมูลของตนเองไปสู่ผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต ที่ต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็สามารถเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่ต้องการได้แล้ว

เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการพัฒนาให้มีรูปแบบที่มีความน่าสนใจและอยู่ใกล้ชิดกับชีวิตของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีจึงสร้างทั้งคุณประโยชน์และโทษให้กับผู้ใช้ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันเกิดปัญหาทางสังคมจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจในหลากหลายลักษณะ ตัวอย่างของคุณประโยชน์และโทษของการใช้เทคโนโลยี มีดังนี้

1.คุณประโยชน์จากการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศมีทั้ง ประโยชน์มากมายและมีผลต่อการดำรงชีวิตของทุกคนโดยไม่รู้ตัว เช่น

  • ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตทีดีขึ้น และมีความสะดวกสบายยิ่งขึ้นจากสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ

  • ใช้อำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน ระบบการจัดตารางสอน นอกจากนี้ ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน เช่น การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต สื่อการสอน หรือบทเรียน

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวก รวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ หรือแหล่งอื่นๆ

  • ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น เช่น การรวบรวมข้อมูลเรื่องคุณภาพในเเม่น้ำลำคลองสายต่างๆ เพื่อนำมาตรวจวัดมลภาวะเเล้วดำเนินการเเก้ไขปัญหา เป็นต้น

2.โทษจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะเกิดขึ้นจากความตั้งใจและไม่ตั้งใจ ซึ่งมักจะขาดสติ ความยั้งคิดต่อการรับรู้ข่าวสาร หรือเกิดจากการหลงเชื่อสิ่งที่มีการโฆษณาหลอกลวงทำให้เกิดเหตุการณื ที่มีผลกระทบต่อผู้คนหรือตัวผู้ใช้ได้

1) ปัญหาการติดเกมจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานาน และยังเป็น ปัญหาที่เกิดขึ้นในวัยเด็กไปจนถึงผู้ใหญ่ และยังก่อให้เกิดปัญหาสังคมบ่อยครั้ง

2)ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์จากการใช้เทคโนโลยรสารสนเทศ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ซึ่งเกิดจากผู้ที่ ตั้งใจและไม่ตั้งใจ จนนำมาซึ่งปัญหาการเรียกร้องค่าเสียหายต่อผู้ที่กระทำผิด

3) ปัญหาสังคมเสื่อมจากการใช้เทคโนโลยี การใช้เทคโนโลยีในทางที่ผิดกำลังเป็นปัญหาในสังคม

ไทยจากการเผยแพร่หรือแสดงพฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมาะสมซึ่งปัจจุบันเด็กเล็กก็สามารถ เข้าไปรับ ชม รับฟังได้ง่าย

4)ปัญหาอาชญากรรมทางข้อมูลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นปัญหาที่มีผลกระทบ รุนแรง เพราะเป็นการนำข้อมูลส่วนบุคคล หรือองค์กร มาดัดแปลง แก้ไข ปลอมแปลง ทำให้เกิดการสูญ เสียทรัพย์สินต่อผู้ที่ถูกกระทำ

5) ปัญหาการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการคุกคามซึ่งใน ปัจจุบันมีผู้ถูกดำเนินคดีมากมาย จากการก่อความรำคาญ หรือทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน

6) ปัญหาอาชญากรรมที่มีผลต่อชีวิตจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นอาชญากรรมที่ร้ายแรงและมี ผลกระทบร้ายแรงในวงกว้างตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับโลก ซึ่งในปัญหานี้เกิดจากการนำความ สามารถทางเทคโนโลยีไปใช้ในทางที่ผิด หรือเพื่อแสวงหาผลกำไร จนทำให้ผูอื่นเดือดร้อน

2.การปฏิบัติตนเมื่อพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศรูปแบบหนึ่งที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดคือ อินเตอร์เน็ต ซึ่งถือเป็น เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วย กันเเละเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์หลายเครือข่ายทั่วโลกเข้าด้วยกัน และเป็นเครือข่ายคอทพิวเตอร์ที่ทุก คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ต โดยการเข้าใช้งาน อินเทอร์เน็ตของแต่ละคนก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

1.รูปแบบของเนื้อหาเกี่ยวกับการพนัน หรือการเสี่ยงโชค มักพบอยูาในรูปแบบของเนื้อหาในการ ชักจูงบุคคลต่างๆ ให้เข้ามาเล่นโดยแสดงให้เห็นถึงผลตอบแทนที่สูงกับการลงทุนที่น้อย

2. รูปแบบของเนื้อหาที่เกี่ยวกับสื่อลามกอนาจาร หรือบางครั้งเรียกว่า สื่อสำหรับผู้ใหญ่ มักเป็นสื่อที่ มีการแสดงเนื้อหาเกียวกับเรื่องเพศ

3. รูปแบบของเนื้อหาเกี่ยวกับการหลอกลวง การเติบโตของสื่อสังคมออนไลน์ หรือเครือข่าย สังคมออนไลน์ในปัจจุบัน

4. รูปแบบของเนื้อหาเกี่ยวกับการคุกคามหรือการข่มขู่ ถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สร้างความเดือดร้อน ให้กับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก นอกจากจะสร้างความเดือดร้อนให้คนอื่นแล้ว ก็ยังมีผลกระทบถึงสิทธิส่วนบุคคล

3.ความรับผิดชอบต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ

การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันมีทั้งการใช้งานเพื่องานส่วนตัว หรือใช้ งานเพื่อส่วนรวม และขณะใช้งานมีทั้งการใช้งานโดยตัวเราคนเดียว หรือการใช้งานร่วม กับคนอื่นซึ่งไม่ว่าจะเป็นการใช้งานแบบใดหรือลักษณะใดก็ตามล้วนแล้วแต่ต้องมี จริยธรรมและความรับผิดชอบต่อการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งสิ้น

1.ความรับผิดชอบต่อตนเองเมื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่พึงควรกระทำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความขัดแย้งหรือส่งผลกระทบที่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

  • ใช้งานบัญชีผู้ใช้เฉพาะของตนเองเท่านั้น

  • ไม่ติดตั้ง หรือใช้ซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย

  • ไม่แจกจ่ายข้อมูลส่วนตัวในรูปแบบใดๆ

  • ไม่แสดง หรือไม่เข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

  • หมั่นตรวจสอบ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

2.ความรับผิดชอบต่อบุคคลอื่นเมื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่ควรกระทำ ในการใช้ชีวิตร่วมกับบุคคลอื่น

  • ไม่พยายามที่จะใช้งานบัญชีผู้ใช้ของบุคคลอื่น

  • ไม่คัดลอก หรือนำเสนอผลงานของผู้อื่นที่ไม่ใช่ของตนเอง

  • ไม่เปลี่ยนแปลง ย้าย หรือลบไฟล์ของผู้อื่น

  • ไม่ข่มขู่ คุกคาม หลอกลวงผู้อื่นด้วยข้อมูลใดๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านสื่อสังคมออนไลน์

  • ไม่ส่งอีเมลที่ไม่เหมาะสม ไม่ส่งสิ่งที่อาจเกิดอันตรายต่อคอมพิวเตอร์ หรือแสปมให้กับผู้อื่น

3. ความรับผิดชอบต่อสังคมเมื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นความรับผิดชอบทั้ง ในระดับบุคคลและองค์กร

  • ไม่พยายามเข้าถึงเครือข่ายใดๆที่ไม่ได้รับอนุญาต

  • ปฏิบัติตามกฏระเบียบ หรือข้อบังคับขององค์กรในการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ เคารพการใช้กฎระเบียบร่วมกับผู้อื่น

  • ไม่เปิดอีเมล ไฟล์ หรือโปรแกรมที่ได้รับมาจากแหล่งที่ไม่รู้จัก

  • ไม่นำข้อมูลสารสนเทศขององค์กรไปเผยแพร่ เพราะข้อมูลทุกอย่างถือเป็นข้อมูลขององค์กรที่ไม่ให้มีการนำออกไปสู่บุคคลภายนอก

  • ไม่พยายามเจาะระบบ เข้าสู่ระบบ ขโมย คัดลอก โอนย้าย หรือแก้ไข ปลอมแปลงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต

4. ทรัพย์สินทางปัญญา

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ ผลงานอันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ เป็น ทรัพย์สินอีกชนิดหนึ่ง นอกเหนือจากอสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่สามารถเคลื่อนย้าย ได้

4.1 ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา

1.ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่ผู้เดียวที่กฎหมายรับรองให้ผู้สร้างสรรค์กระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ได้ทำขึ้น

1) ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์ กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  • งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์

  • งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า

  • งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม

  • งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสาน

  • งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง ซีดี

  • งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วิดีโอ เทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูล

  • งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์

  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ หรือถาพทางโทรทัศน์

  • งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

2) การได้มาซึ่งสิทธิ์ สิทธิในลิขสิทธิ์จะเกิดขึ้นโดยทันทีนับตั้งแต่ผู้สร้างได้ สร้างสรรค์ผลงานเสร็จโด ยไม่ต้องจดทะเบียน

3) เจ้าของลิขสิทธิ์ คือ ผู้ที่มีสิทธิในการจัดการกับงานลิขสิทธิ์ของตนเอง

4) เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)

  • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)

  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกเนาถูกต้อง)

  • ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)

  • หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กร รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)

5)ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ เจ้าของสิทธิ์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ลิขสิทธิ์ และมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ ทำขึ้นหรือผลงานตามข้อใดข้อหนึ่งตามที่กล่าวไว้ข้างต้น

2. สิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

1) ประเภทของสิทธิบัตร

  • สิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • สิทธิบัตรการออกแบบ

  • อนุสิทธิบัตร

2) ความแตกต่างระหว่างอนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรการประดิษฐ์

3) ประโยชน์ของสิทธิบัตร

4.2 ข้อดี ข้อเสียของทรัพย์สินทางปัญญา

ข้อดี

  • ช่วยให้ผู้ที่คิดค้นเกิดความเป็นธรรม เพราะหากผู้ประกอบการรายใดต้องนำไปใช้ ควรมีการขออนุญาตและจ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้คิดค้น

  • ช่วยคุ้มครองเจ้าของผลงานที่เป็นผู้คิดและกลั่นกรองออกมาจนเป็นผลงานที่หลายคนต้องการ

ข้อเสีย

  • การตั้งราคาอาจไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ส่งผลต่อการซื้อแบบถูกลิขสิทธิ์ต้องเสียเงินแพง

  • ฐานะและกำลังซื้อของผู้บริโภคในแต่ละประเทศแตกต่างกัน อาจจะแพงต่อผู้บริโภคในประเทศที่ยากจนที่ไม่มีรายได้มากพอจะซื้อทรัพย์สินทางปัญญาจากต่างประเทศมาใช้ และในบางกรณีอาจมีผลกระทบต่อช่ีวิต เช่น ยาต้านมะเร็ง