ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษา

1.1. ประวัติวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง

วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง เดิมเป็นศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีเกษตรดินแดงเป็นวิทยาเขตของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์

พ.ศ.2526 เริ่มก่อตั้งศูนย์สาธิตและขยายพันธุ์ไม้ผลขึ้น ตามโครงการพัฒนาโนนดินแดงตามแนวพระราชดำริฯ ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงในพื้นที่

พ.ศ.2536 เปลี่ยนชื่อเป็นสาธิตไม้ผล เพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่ศูนย์ฯ ดำเนินการด้านสาธิตการปลูกไม้ผลในพื้นที่

พ.ศ.2538 ร่วมมือกันศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอโนนดินแดง จัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนขึ้น เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝึก วิชาชีพการเกษตร เพื่อบริการวิชาชีพการเกษตรให้กับนักศึกษาของ กศน

และฝึกอบรมวิชาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่รับผิดชอบ

พ.ศ.2540 กรมอาชีวศึกษาร่วมมือกับภาคเอกชน โดยบริษัท สยาม แอ็ดวานซ์ เอ็ดยูเคชั่น 2000 จำกัด จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อชีวิต (ศอษ.โนนดินแดง) โดยขยายผลจากศูนย์สาธิตไม้ผลเพื่อวัตถุประสงค์

ในการดำเนินงานด้านการเรียนการสอน ตามหลักสูตร ปวช. โครงการปฏิรูปการศึกษาเกษตรเพื่อชีวิต "เรียนฟรี อยู่ประจำ ทำโครงการ" ประเภทวิชาเกษตรกรรมสาขาเกาตรและเทคโนโลยี เน้นด้านอุตสาหกรรมเกษตร แบบครบวงจร

พ.ศ.2548 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเทคโนโลยีการเกษตรโนนดินแดงโดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าฯ ธนบุรี และสำนักงานพัฒนาวิทยาลัยและเทคโนโลยีแห่งชาติ

พ.ศ.2551 สนับสนุนและผลักดันในการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง โดยประกาศจัดตั้ง เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 จัดการเรียนการสอนจนถึงปัจจุบัน

1.2. ขนาดและที่ตั้ง

ชื่อสถานศึกษา วิทยาลัยเทคโนลยีและการจัดการโนนดินแดง

ชื่อภาษาอังกฤษ Nondindang College of Technology and Managerment

ที่ตั้งสถานศึกษา 145 หมู่ 9 ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ 31260

โทรศัพท์ 044-606-202, Website www.nctm.ac.th

วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง ตั้งอยู่เลขที่ 145 หมู่ 9 ต.โนนดินแดง อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ รหัสไปรษณีย์ 31260 มีพื้นที่ทั้งสิ้น 121 ไร่ 46 ตารางวา ได้รับเอกสารสิทธิ์ สปก. 4-01 ตั้งอยู่ใต้เขื่อนลำนางรอง และอยู่ในพื้นที่ศูนย์การพัฒนาโนนดินแดงตามแนวพระราชดำริฯ ห่างจากอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์ 100 กิโลเมตร ห่างจากชุมชน 1 กิโลเมตร และประตูสู่ภาคตะวันออก

ข้อมูลด้านหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน

วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการโนนดินแดง มีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรูปแบบดังต่อไปนี้

1.การศึกษาในระบบ เปิดสอน 2 หลักสูตร ได้แก่

1.1 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 4 ประเภทวิชา ได้แก่

1.1.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำนวน 4 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานช่างยนต์

  • สาขาวิชาช่างกลโรงงาน สาขางานเครื่องมือกล

  • สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขางานไฟฟ้ากำลัง

  • สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ สาขางานอิเล็กทรอนิกส์

1.1.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

1.1.3 ประเภทวิชาเกษตรกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานการเกษตร

1.1.4 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานการโรงแรม

1.2 หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 1 ประเภทวิชา ได้แก่

1.2.1 ประเภทวิชาเกษตรกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรศาสตร์

2.การศึกษาระบบทวิภาคี เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 4 ประเภทวิชา ได้แก่

2.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำนวน 3 สาขางาน

  • สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานเทคนิคยานยนต์

  • สาขาวิชาเทคนิคการผลิต สาขางานเครื่องมือกล (การผลิต)

  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

2.2 ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ จำนวน 2 สาขางาน ได้แก่

  • สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี

  • สาขางิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

2.3 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 1 สาขางาน ได้แก่

  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

2.4 ประเภทวิชาเกษตรกรรม จำนวน 1 สาขางาน ได้แก่

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรศาสตร์

3.การศึกษาในระบบ เปิดสอน โครงการเรียนร่วมหลักสูตรอาชีวศึกษาและมัธยมศึกษาตอนปลาย (ทวิศึกษา) จำนวน 4 ประเภทวิชา 6 สาขางาน ได้แก่

3.1 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาเครื่องกล สาขางานยานยนต์

  • สาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม สาขางานอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

3.2 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ จำนวน 2 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการบัญชี สาขางานการบัญชี

  • สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

3.3 ประเภทวิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาการโรงแรม สาขางานบริการอาหารและเครื่องดื่ม

3.4 ประเภทวิชาเกษตรกรรม จำนวน 1 สาขาวิชา ได้แก่

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรศาสตร์

4.การศึกษาในระบบ เปิดสอน หลักสูตรโครงการอาชีวศึกษาเพื่อการพัฒนาชนบท (อศ.กช) จำนวน 1 สาขางาน ได้แก่

  • สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ สาขางานเกษตรศาสตร์

5.การศึกษานอกระบบ เปิดสอน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ประชาชนทั่วไป ได้แก่

  • หลักสูตรฝึกอบรม 108 อาชีพ

  • หลักสูตรฝึกอบรมเกษตรระยะสั้น