ประวัติความเป็นมา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด [1]แรกเริ่มก่อตั้งมีฐานะเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมร้อยเอ็ด สังกัดกองวิทยาลัยเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2520 โดยมีนายไพทูรย์ นนทลี เป็นผู้บริหารโรงเรียนคนแรก และยกฐานะเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมร้อยเอ็ด เมื่อปี พ.ศ. 2524 ต่อมาได้ประกาศจัดตั้งเป็นวิทยาลัยชุมชนสาเกตุนคร ในวิทยาลัยเกษตรกรรมร้อยเอ็ด ในปี พ.ศ. 2537 และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด ในปี 2539 และในปัจจุบันสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากระทรวงศึกษาธิการ ตามการปฏิรูประบบราชการของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด ได้ดำเนินการเปิดสอน ในปี 2522 จนถึงปัจจุบันได้จัดการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ในการผลิตกำลังคนด้านช่างฝีมือ กึ่งฝีมือ เทคนิคและเทคโนโลยี เน้นการมีทักษะวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรม ร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น สังคม จัดการศึกษาตามพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ซึ่งวิทยาลัยได้เปิดสอน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตในระดับปริญญาตรี (หลักสูตรต่อเนื่อง 2 ปี หลังอนุปริญญา) ในการเปิดสอนและฝึกอบรม วิทยาลัยได้ทำการเปิดสอนและฝึกอบรม วิทยาลัยได้ทำการเปิดสอนหลากหลายสาขาวิชา ตามความต้องการของชุมชนและตลาดแรงงาน ทั้งประเภทวิชาเกษตรกรรม พาณิชยกรรม ช่างอุตสาหกรรม และบริหารธุรกิจ

ปัจจุบันวิทยาลัยได้เปิดสอนใน 7 แผนกวิชา ได้แก่ แผนกวิชาพืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร ประมง พื้นฐาน บริหารธุรกิจ และช่างอุตสาหกรรม ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งวิทยาลัยฯ ได้จัดการศึกษาตามโครงการปฏิรูปการศึกษาเพื่อชีวิต เปิดโอกาสให้บุตรหลานของเกษตรกรที่ยากจน ได้ศึกษาต่อโดยยกเว้นค่าเล่าเรียน ตลอดหลักสูตรการศึกษา 3 ปี พร้อมจัดสถานที่พักอาศัย มีทุนอุดหนุนให้ทำโครงการเกษตรคนละ 5,000 บาท/ปี นอกจากนี้ใน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยได้จัดทำโครงการเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาพืชศาสตร์ ร่วมกับ (ARAVA) INTERNATIONAL CENTER FOR AGRICULTURAL TRAINING ( AICAT ) ประเทศอิสราเอล

สภาพทั่วไปของวิทยาลัยฯ วิทยาลัยฯได้จัดทำ Master Farm Plan จัดพื้นที่เป็นสัดส่วน โดยมีอาคารเรียน อาคารประกอบจำนวนหนึ่งกระจายตามพื้นที่เป็นสัดส่วนตามสาขาวิชา บริเวณระหว่างอาคารมีภูมิทัศน์ที่ร่มรื่น สวยงาม มีเก้าอี้สนามนั่งพักผ่อนอย่างพอเพียง บ้านพักอาศัยของนักเรียน นักศึกษาและบุคลากร จัดเป็นสัดส่วนและดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งาน สภาพพื้นที่ทั่วไปจัดเป็นแปลงพืช ไม้ผล ไม้ดอก พืชผัก โรงเรือนสัตว์ คอกสัตว์ เป็นต้น จัดระบบชลประทานเพื่อการเกษตรทั้งการทั้งการกักเก็บน้ำและการระบายน้ำเพื่อ ป้องกันน้ำท่วม ลักษณะดิน เป็นดินปนทราย ( ดินชุดสันป่าตอง : Sp Series ) การจัดการฟาร์ม เป็นการจัดการฟาร์มเชิงธุรกิจ เพื่อเน้นการบริหารจัดการที่เลี้ยงตนเองได้ เพื่อเป็นแบบอย่างและเป็นฟาร์มสาธิตแก่เกษตรกรผู้สนใจและเป็นสถานที่ฝึก ปฏิบัติงานด้วยการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงของนักเรียนนักศึกษา เป็นสถานที่ศึกษา ดูงานแก่บุคคลทั่วไป และบริหารด้านวิชาการ รวมทั้งมีแปลงขยายพันธุ์มันสำปะหลังสำหรับบริการเกษตรกร และมีโครงการ Food Bank เพื่อสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้น ฐานจะเห็นได้ว่า วิทยาลัยได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถาบัน พัฒนาผู้เรียน พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพ จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน มีความรู้ ความสามารถ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน เพื่อประกอบอาชีพ หรือช่วยเหลือพัฒนาชุมชนได้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม ซึ่งตลอดระยะเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมาวิทยาลัยฯมีส่วนรับใช้สังคมในหลาย ๆ ด้าน ร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาสถาบันและชุมชน เพื่อให้ได้มาตรฐานตามระบบประกันคุณภาพ ซึ่งส่งผลให้วิทยาลัยได้รับการยอมรับจากผู้ปกครอง และชุมชน ไว้วางใจส่งบุตรหลานมาเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีนักเรียนนักศึกษา 2,040 คน และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานอื่น ชุมชนต่าง ๆ เป็นอย่างดี ซึ่งวิทยาลัยฯได้มุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจในการจัดการศึกษาและบริหารสถาน ศึกษา ตามที่ได้กำหนด ปรัชญา ของสถานศึกษา