ประวัติโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 

คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารโรงเรียนชลราษฎรอำรุงได้พิจารณาเห็นความสำคัญของการใช้ภาษาอังกฤษ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนไทยรุ่นใหม่ ให้อยู่ในสังคมโลกยุคใหม่คือสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง จึงได้ขออนุญาตจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ "ห้องเรียนพิเศษเน้นการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ"จากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินงานในรูปแบบของห้องเรียนพิเศษ "Mini English Program"    นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 เป็นต้นมาในช่วงปีการศึกษา 2547-2549 ได้ปรับปรุงพัฒนาด้านการจัดการศึกษา โครงสร้างหลักสูตร แปลและจัดทำหลักสูตรต่าง ๆ
เพิ่มเติมเน้นจัดกิจกรรม การเรียนรู้ที่หลากหลาย จัดหาพัฒนาสื่อการเรียนรู้การวัดผลประเมินผล พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร จนผ่านการประเมินให้ดำเนินการเป็นโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2550      จากนั้นในปีการศึกษา 2554 ได้รับอนุมัติให้ดำเนินงานโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ เป็นภาษาอังกฤษ (Mini English Program)     ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วิสัยทัศน์

เพิ่มทักษะทางภาษา เสริมปัญญาด้วยเทคโนโลยี มีความเป็นไทย ก้าวไกลสู่สากล

พันธกิจ

1.จัดการศึกษาที่เน้นการพัฒนาความสามารถของผู้เรียนด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและสร้างความคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างน้อยใน 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ (วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ สุขศึกษาและพลศึกษาศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี) ในช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-3) และ 6 กลุ่มสาระฯ (ภาษาต่างประเทศ วิทยาศาตร์ (ชีววิทยา) สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี คณิตศาสตร์พื้นฐาน) ในช่วงชั้นที่ 4 (ม.4-6 )

2.จัดกิจกรรมการเรียนรู้และการค้นคว้าหาความรู้โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

3.จัดกิจกรรมที่สร้างเสริมการรักษ์ความเป็นไทยให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน

4.พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่สามารถนำความรู้และความเป็นไทยเผยแพร่สู่สาธารณชนทั้งในและต่างประเทศได้

เป้าหมาย

1.เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

2.เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้เทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้

3.เพื่อพัฒนาผู้เรียนมีความรักและเห็นคุณค่าของความเป็นไทย

4.เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนสามารถเผยแพร่ความรู้ควบคู่กับความเป็นไทยสู่สายตาสาธารณชนทั้งในและต่างประเทศได้