คณะกรรมการ

ข้อ 1. ที่ปรึกษา

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

บทบาทหน้าที่

ให้คำปรึกษาในการดำเนินงานพิจารณาโครงร่างวิจัยเป็นไปด้วยความอิสระ  สำเร็จเรียบร้อย และมิให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งให้เกิดโทษต่อผู้เข้าร่วมในงานวิจัย  ชุมชน องค์กร หรือหน่วยงานที่เข้าร่วมในการวิจัย

ข้อ 2. คณะกรรมการ

บทบาทหน้าที่

1.   พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงแก้ไข และรับรองโครงการวิจัย ตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีการวิจัย และด้านจริยธรรม โดยมีการประเมินโครงการต่างๆ (ตามแบบประเมิน) ที่เสนอเข้ามาอย่างอิสระก่อนที่จะเข้าประชุม

2.    มีส่วนร่วมในการอภิปรายตามความเหมาะสม  ลงมติรับรอง ไม่รับรอง สั่งให้ปรับเปลี่ยน หรือเสนอให้รอการพิจารณาเรื่องที่เสนอเข้าที่ประชุมแต่ละเรื่อง

3.   คณะกรรมการฯ ที่รับมอบหมายเป็นผู้ทบทวน สามารถติดต่อสอบถามผู้วิจัยหลัก หากมีข้อสงสัยในโครงการวิจัย หรือประธานคณะกรรมการฯ อนุญาตให้เชิญเข้าในการประชุม  เพื่อชี้แจงข้อสงสัยตามมติ  ทั้งนี้ การปฏิบัติดังกล่าวทั้งหมด ใช้ในกรณี

(1)   การพิจารณาครั้งแรก

(2)   การพิจารณาทบทวนต่อเนื่อง 

(3)   การแก้ไขเพิ่มเติม 

(4)   การเบี่ยงเบนจากโครงการวิจัยโดยคาดไม่ถึง

(5)   การโฆษณา

4.   คุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยทั้งหมด แม้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยดังกล่าวเพียงบางส่วน  โดยไม่คำนึงถึงผู้ให้การสนับสนุน

5.   กำหนดให้ส่งรายงานความก้าวหน้า และตรวจสอบการศึกษาวิจัย ที่ผ่านจริยธรรมการวิจัย จำกัดขอบเขต หรือยับยั้งชั่วคราว หรือยกเลิกการรับรองงานวิจัยที่ผ่านจริยธรรมการวิจัย

6.   พิจารณาทบทวนการเบี่ยงเบนจากโครงการวิจัยโดยคาดไม่ถึง

7.   พิจารณาตรวจเยี่ยมติดตามโครงการวิจัยที่ได้รับการรับรองให้ผ่านจริยธรรมการวิจัยแล้วเป็นระยะ

8.   พิจารณาทบทวน ลงฉันทามติ หรือลงคะแนนเสียงในเรื่องที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่อยู่ในระเบียบวาระ

การประชุม

9.   จัดทำโครงการ งบประมาณ และการขอรับการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เพื่อดำเนินการและพัฒนาคุณภาพของงานจริยธรรมการวิจัยอย่างต่อเนื่อง

10. พัฒนาคุณภาพของคณะกรรมการฯ ต่อเนื่อง

11. ได้รับการศึกษาต่อเนื่องเกี่ยวกับจริยธรรมการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ

12. เก็บรักษาเอกสารและผลการประชุมของคณะกรรมการฯ เป็นความลับ 

13. แจ้งการขัดแย้งทางผลประโยชน์ (ถ้ามี)

14. ร่วมในกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องด้านหลักจริยธรรมการทำวิจัยในคน  หลักจริยธรรมการวิจัย ระเบียบวิธีวิจัย สถิติที่ใช้ในการทำวิจัย  และด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

15. เข้าร่วมประชุมพิจารณาจริยธรรมการวิจัยแบบเต็มชุดอย่างน้อย ร้อยละ 50 ของจำนวน

การประชุมต่อปี