วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นายไพชยา พิมพ์สารี ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พร้อมด้วย ดร.บุญส่ง โซยรัมย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมกาญจนบุรี และคณะศึกษานิเทศก์เข้าร่วมประชุม "การจัดทำหลักสูตรในสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ลักษณะที่ 3" (ครั้งที่ 2) โดยมี รองศาสตราจารย์ เสถียร ธัญญศรีรัตน์ ประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี ดร.วรวุฒิ แสงเฟือง ประธานอนุกรรมการโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา เข้าร่วมการประชุม โดยมีการรายงานผลการดำเนินงาน ติดตามการจัดทำหลักสูตรในสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปวช. ลักษณะที่ 3 นอกจากนี้ มีการอบรมให้ความรู้ เรื่องการจัดการเรียนการสอน การวัดผล ประเมินผล และการออกแบบนิเทศนักเรียนฝึกงาน ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ทำให้คณะครูที่เกี่ยวข้องได้เข้าใจในขั้นตอนวิธีการจัดทำหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลมากขี้น เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป


             ทั้งนี้ มีคณะผู้บริหาร คณะครู อาจารย์ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตรเข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย โรงเรียนร่มเกล้า กาญจนบุรี โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา โรงเรียนศรีสวัสดิ์พิทยาคม โรงเรียนประชามงคล และ วิทยาลัยเทคนิคกาญจนบุรี เข้าร่วมการประชุมจัดทำหลักสูตรฯ ซึ่งจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2 - 3 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนประชามงคล อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี


(โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา) นิเทศ ติดตาม โครงก.pdf

นิเทศวันที่ 6 ตุลาคม  2566 โรงเรียนอุดมสิทธิศึกษา

  จุดเด่น

กลยุทธ์ 1 มีโครงการพัฒนาครู อบรมรม ประชุม สัมนา นิเทศภายใน ศึกษาดูงาน มีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมความก้าวหน้าของครู ตัวอย่างความสำเร็จ ครูภาษาไทยได้รับรางวัล OBEC AWARD เหรียญทองระดับชาติ

กลยุทธ์ 2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการใช้ผล O-NET นำมาวิเคราะห์ และพัฒนาออกแบบวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู่เรียน  ครูมีนวัตกรรมการสอนหลากหลาย มีกิจกรรมที่แก้ปัญหานักเรียนรายบุคคล

   ผลลัพธ์ ที่ภาคภูมิใจคือ นักเรียนได้รับรางวัลภาษาไทยดีเด่น (จากคลิปวีดีโอ พิธีกร : นางสาวธนพร โชคศรีเจริญ ม.5/1)

กลยุทธ์ 3 โครงการ กิจกรรมที่ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรมที่หลากหลาย มีโครงงานคุณธรรม ผ่านกิจกรรมต่างๆสอดคล้องกับธรรมชาติวิชากลยุทธ์ 4 ใช้ CAPSO MODEL ในกลยุทธ์ 5 ในการขับเคลื่อนส่งเสริมทักษาพอาชีพผู้เรียน โดยมีกิจกรรมทำขนมไทย เปิดคาเฟ่ในโรงเรียน 2 สาขา ร้านเครื่องดื่ม UDS’s cafe การทำเบเกอรี่ ศิลปะการจัดจานอาหารฯ

       การใช้หลักสูตรระยะสั้นพัฒนาวิชาชีพ

กลยุทธ์ 5

   1)มีโครงการพิเศษที่โรงเรียนต้องนำมาทบทวนและปรับโครงสร้างมากมายเช่น โครงการภูบดินทร์ โครงการ ปวช.ลักษณะที่ 3 ซึ่งปัจจุบันโรงเรียนได้มีการดำเนินการดังนี้

1.1)จัดทำแผนบริหารจัดการโครงการภูบดินทร์ วางกรอบงานทุกด้าน

1.2) การดำเนินงานเรื่องโรงฝึกงาน อาคารประกอบ หอพักนอนนักเรียน

1.3)ระบบงานแนะแนวสำหรับนักเรียนที่มุ่งศึกษาต่อและไม่ศึกษาต่อ

   (please!)ในส่วนโครงการและกิจกรรมต่างๆ ในกลยุทธ์ที่ 5 ตามแนวทางของโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาที่เคยดำเนินการอื่นๆ ยังคงขับเคลื่อนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

     แต่จุดเด่นชัดเจนที่ รร.นำเสนอคือ ใช้วัฒนธรรมของความแตกต่างชาติพันธ์ุ ในการหล่อหลอม บ้าน วัด โรงเรียน (ดังตัวอย่างการแสดงของนักเรียน ที่ รร.มีกิจกรรมร่วมกับชุมชนด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นของแต่ละชาติพันธุ์)


นิเทศวันที่ 25 กันยายน 2566 โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา

        การดำเนินการตามแผนฯ ได้ออกแบบโครงการต่างๆได้สอดคล้องทั้ง 5 กลยุทธ์ มีกิจกรรมที่หลากหลาย   มีความเหมาะสม มีการต่อยอดขยายผล รวมทั้งจัดระบบสารสนเทศเป็นระบบ ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล เหมาะสมกับการเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในโครงการกองทุน          การศึกษา

  จุดเด่น

กลยุทธ์ 1 มีโครงการพัฒนาครู อบรมรม ประชุม สัมนา นิเทศภายใน ศึกษาดูงาน มีการพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์ 2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการใช้ผล O-NET นำมาวิเคราะห์ และพัฒนาออกแบบวิธีการสอนให้เหมาะสมกับผู่เรียน ปัจจุบันนักเรียนมีอัตราเพิ่มขึ้น เนื่องจากได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ปกครอง

กลยุทธ์ 3 มีการบูรณาการ จัดระบบ โครงการคุณธรรมจริยธรรมจากหน่วยงาน สพฐ. ยุวพัฒน์ และโครงการกองทุนการศึกษา เพื่อให้การทำงานขับเคลื่อนไปได้ในแนวทางเดียวกัน

      จัดกิจกรรมโครงงานคุณธรรมรายชั้นเรียน โดยใช้คุณธรรมอัตลักษลักษณ์ มีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์ จิตสาธารณะ ( 1 ชั้น แต่ละห้องเรียนเลือกเพียง 1 คุณธรรมที่อยากเริ่มต้นพัฒนา)

กลยุทธ์ 4 โครงการต่างๆหลากหลายมากมาย มีภาคี สถาบันเทคโนโลยีปทุนวันเข้ามาร่วมพัฒนาหลายๆด้าน จึงพัฒนาแบบก้าวกระโดด

กลยุทธ์ 5 มีโครงการต่างๆที่เป็นจุดเด่น สะท้อนด้านการบริหารจัดการของผู้บริหารและทีมงาน เช่น

       ด้านสภาพแวดล้อม : การพัฒนาอาคารและสะถานที่ด้วยงบประมาณที่ประหยัดแต่ได้ประโยชน์คุ้มค่า เช่น ขยายห้องประชุม สร้างเวที ติดตั้งแอร์ จัดสร้างโดม (500,000บาท)สร้างร้านกาแฟส่งเสริมอาชีพผู้เรียน การปรับปรุงระบบน้ำ ไฟฟ้า หลังคา ฝ้า

      ด้านวิชาการ จัดหาสื่อ คอมพิมเตอร์ แหล่งเรียนรู้โคกหนองนา ห้องเรียนสีเขียว

       มีการวางแผนการเป็นโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมที่ต่อเนื่อง ตัวอย่างความสำเร็จ โรงเรียนได้รับรางวัล นวัตกรรม(บวร)2 เป็นรางวัล OBEC AWARD ระดับชาติ


นำเสนอ 21 ก.ย.66.pdf

นิเทศวันที่ 21 กันยายน 2566  โรงเรียนหนองปรือพิทยาคม สพม.กาญจนบุรี 

  การดำเนินการตามแผนฯ ได้ออกแบบโครงการต่างๆได้สอดคล้องทั้ง 5 กลยุทธ์ มีกิจกรรมที่หลากหลาย   มีความเหมาะสม มีการต่อยอดขยายผล รวมทั้งจัดระบบสารสนเทศเป็นระบบ ง่ายต่อการสืบค้นข้อมูล เหมาะสมกับการเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในโครงการกองทุน          การศึกษา

ข้อสังเกตุ

      1. ผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ และมีภาวะผู้นำในการคิด ออกแบบการทำงานต่อยอด พัฒนาเสมอ รวมทั้งรักษาสภาพ โครงการและกิจกรรมที่ดีอยู่แล้วให้คงอยู่ต่อไป

       2.มีครูบรรจุใหม่ จำนวน 6 คน แต่ไม่ใช่ปัญหา เพราะโรงเรียนใช้ระบบ PLC ในการทำงานร่วมกัน และ coach ระหว่างรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง จึงไม่มีรอยขาดตอนการพัฒนา

       3. ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเนื่อง ทางโรงเรียนขับเคลื่อนต่อ รวมทั้งภาคีที่เข้ามาสนับสนุน โรงเรียนก็ยังประสานและร่วมมือกันไม่ได้ละเลย เช่น ครูมีการพัฒนาตนเองเรื่อง coding  โดยใช้ มูลนิธิStarfish พัฒนาผ่านออนไลน์ต่อเนื่อง

       4. การยกระดับผลสัมฤทธิ์ ได้ใช้ระบบการประเมินโดยใช้นวัตกรรม HOPE MODEL ในการประเมินผลการเรียนรู้

       5.จัดการศึกษาทวิศึกษาปีการศึกษาแรก สำเร็จเสร็จสิ้นในภาคเรียนที่ 1 โดยร่วมกับ วิทยาลัยการอาชีพแม่น้ำแคว จังหวัดกาญจนบุรี มีระบบการบริหารจัดการที่ดีมาก ถึงแม่ระยะทางในการพานักเรียนไปเรียจะไกล แต่ไม่ใช่ปัญหาและอุปสรรคของโรงเรียนแห่งนี้

    6. มีการติดตามนักเรียนพระราชทานทุกทุนอย่างต่อเนื่อง

    7.โรงเรียนได้รับรางวัล Best Practice เป็นโรงเรียนต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning สู่ห้องเรียนครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2566

   8. โรงเรียนใช้นวัตกรรมที่เป็น MODEL หลากหลายใช้ทั้งแก้ปัญหาและพัฒนา

       นอกจากนี้ประเด็นต่างๆที่ท่านองคมนตรีมอบนโยบาย หรือแนวทางปฏิบัติ โรงเรียนมีการนำเสนอ และมีร่องรอยการปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการรวมใจครูภายในโรงเรียน ต่างโรงเรียน ชุมชน การปฏิบัติงานแบบวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ต้องมีคำสั่ง แต่ลงมือปฏิบัติความเหมาะสมกับการเป็นโรงเรียนต้นแบบอย่างแท้จริง


 นิเทศวันที่ 21 กันยายน 2566 รงเรียนประชามงคล สพม.กาญจนบุรี

จุดเด่นที่ค้นพบ

  การดำเนินการตามแผนฯ ได้ออกแบบโครงการต่างๆได้สอดคล้องทั้ง 5 กลยุทธ์ มีกิจกรรมที่หลากหลาย   มีความเหมาะสม มีการถ่ายโอนงานระหว่างครูที่กำลังจะย้ายออกให้ครูใหม่ได้เรียนรู้เป็นอย่างดี

 ข้อสังเกตุ

    1. ผู้บริหาร มีการฝึกให้ครูได้นำเสนอรายกลยุทธ์ แสดงการมีส่วนร่วม แลสามารถนำเสนอได้ตรงประเด็น มีความเข้าใจเนืื้องานเป็นอย่างดี

       2.มีครูครบชั้น บ้านพักครูเพียงพอ มีการจัดระบบการพัฒนาครูที่ดี

    3.เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีการจัดการศึกษา ระดับปวช.ลักษณะที่ 3 มีการส่งเสริม้านภาษสด้านกีฬา ด้านดนตรีด้านอาชีพ และด้านประกาศนียบัตรวิชาชีพ

    4. มีการจัดทำ MOU กับหน่วยงานต่างๆที่เป็นภาคีเครือข่าย ได้อย่างต่อเนื่อง

    5. มีการเตรียมความพร้อมสอบ O-NET 100% และ V-NET ด้วยเช่นกัน

    6. มีโครงการ และกิจกรรมหลากหลาย ที่พัฒนาผู้เรียนทั้งด้าน IQ , EQ  และ MQ

    7. มีการติดตามนักเรียนพระราชทานทุกทุนอย่างต่อเนื่อง

    8.โรงเรียนได้รับรางวัล Best Practice เป็นโรงเรียนต้นแบบ ด้านการจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning สู่ห้องเรียนครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2566

ร่มเกล้า ระยะที่ 1-2 14 กันยายน 2566.pdf
รายงานการติดตามระยะ1-2 ศรีสวัสดิ์พิทยาคม19-9-66.pdf

นิเทศวันที่ 20 กันยายน 2565 รงเรียนศรีสวัสดิ์พิทยาคม สพม.กาญจนบุรี 

จุดเด่นที่ค้น

  การดำเนินการตามแผนฯ ได้ออกแบบโครงการต่างๆได้สอดคล้องทั้ง 5 กลยุทธ์ มีกิจกรรมที่หลากหลาย   มีความเหมาะสม และอยู่ระหว่างมีการปรับปรุง และปรับระบบการบริหารงานในการพัฒนาทั้ง 5 กลยุทธ์

 ข้อสังเกตุ

    1. ผู้บริหาร มีการฝึกให้ครูได้นำเสนอรายกลยุทธ์ แสดงการมีส่วนร่วม

       2.มีการปรับโครงการ  กิจกรรม ระบบกระจายงาน มอบหมายการทำงานใหตรงกับความสามารถ

    2.มีการจัดข้อมูลสารสนเทศ แสดงการทำงานของครู และร่องรอยผลงานของนักเรียนที่มีการลงมือปฏิบัติจริง

    3. ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะ การแก้ไขปัญหารด้านการเรียนสำหรับนักเรียน ติด o ร มส

    4. มีการจัดการศึกษาทวิศึกษา โดยเฉพาะสาขาช่างเชื่อม

14 กันยายน 2566   นิเทศ ติดตามฯ โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ระยะ 1 ระยะ 2 โรงเรียนกองทุนการศึกษาและโรงเรียนในเครือข่ายฯ  รร.ร่มเกล้า กาญจนบุรี พบว่า

         1) โรงเรียนมีการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทาง 3 เสาหลัก 5 กลยุทธ์ ในระยะที่ 1 และ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

  2) มีโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่วางแผนสอดคล้องในแต่ละกลยุทธ์ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

   3) กิจกรรมต่างๆที่โรงเรียนได้ทำในปีการศึกษา 2565 และมีการต่อยอดดำเนินการในปรการศึกษา 2566

# จุดเด่น

  กลยุทธ์ที่ 1 จัดทำโครงการพัฒนาครู ด้วยกิจกรรมต่างๆเช่น การศึกษาดูงาน  ,กิจกรรมอบรมเรื่องคุณธรรม , กิจกรรมอบรมเรื่องยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

  กลยุทธ์ที่ 2 โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้วยกิจกรรมศิลปหัตกรรมนักเรียน, วันสำคัญ , กิจกรรมวันวิชาการ .การแข่งขันสัปดาห์วิทยาศาสตร์

  กลยุทธ์ที่ 3 มีโครงการส่งเสริมคุณธรรมด้วยกิจกรรมหลากหลาย เช่น กิจกรรมเข้าค่ายนักเรียน , กิจกรรม 1 ห้องเรียน 1 คุณธรรม , กิจกรรม 1 ห้องเรียน 1 ครอบครัวคุณ ธรรม , MOU ระหว่างนักเรียน ผู้ปกครอง โรงเรียน สำหรับการรักษาความเป็นครองคัวคุณธรรม และห้องเรียนคุณธรรม

   กลยุทธ์ที่ 4 โครงการส่งเสริมอาชีพ ด้วยการเปิดสาขาวิชาช่างไฟฟ้า อาหารและโภชนาการ ช่างแอร์

   กลยุทธ์ที่ 5 โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อม อาคาร ห้องน้ำ ฯ

ไทรโยคมณีกาญจน์.pdf

12 กันยายน 2566   นิเทศ ติดตามฯ โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ระยะ 1 ระยะ 2 โรงเรียนกองทุนการศึกษาและโรงเรียนในเครือข่ายฯ  รร.ไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา พบว่า

  1) โรงเรียนมีการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทาง 3 เสาหลัก 5 กลยุทธ์ ในระยะที่ 1 และ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

  2) มีโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่วางแผนสอดคล้องในแต่ละกลยุทธ์ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

   3) มีการจัดเตรียมเอกสาร ร่องรอยหลักฐาน แสดงความพร้อมในการขับเคลื่อนและดำเนินการ

# จุดเด่น

  กลยุทธ์ที่ 1 มีครูครบทุกชั้นเรียน ใช้ PLC ในการแก้ปัญหารการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

  กลยุทธ์ที่ 2 มีการนำผล O-NET มาวิเคราะห์รายตัวชี้วัด และมาตรฐาน เพื่อนำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับจุดอ่อน ผู้เรียน

  กลยุทธ์ที่ 3 เตรียมการพัฒนาครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ ทบทวนคุณธรรมอัตลักษณ์ และมีการวางแผน กำหนดปฏิทินการขับเคลื่อนคุณธรรมสู่ชุมชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

   กลยุทธ์ที่ 4 จัดทำหลักสูตรเชื่อมโยง หลักสูตรระยะสั้น และทวิศึกษา

    กลยุทธ์ที่ 5 มีระบบการดูและช่วยเหลือนักเรียน การดูแลนักเรียนเรื่องสภาวะถดถอยต้องช่วยเหลือต่อไป และใช้ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน

การนิเทศติดตาม โรงเรียนไทรโยคน้อย.pdf

12 กันยายน 2566   นิเทศ ติดตามฯ โรงเรียนโครงการกองทุนการศึกษา ระยะ 1 ระยะ 2 โรงเรียนกองทุนการศึกษาและโรงเรียนในเครือข่ายฯรร.ไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา พบว่า

  1)โรงเรียนมีการดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาตามแนวทาง 3 เสาหลัก 5 กลยุทธ์ ในระยะที่ 1 และ 2 ประจำปีการศึกษา 2566

  2)มีโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่วางแผนสอดคล้องในแต่ละกลยุทธ์ และอยู่ในระหว่างการดำเนินการ

   3) มีการจัดเตรียมเอกสาร ร่องรอยหลักฐาน แสดงความพร้อมในการขับเคลื่อนและดำเนินการ

# จุดเด่น

  กลยุทธ์ที่ 1 มีครูครบทุกชั้นเรียน ใช้ PLC ในการแก้ปัญหารการเรียนการสอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้

  กลยุทธ์ที่ 2 มีการนำผล O-NET มาวิเคราะห์รายตัวชี้วัด และมาตรฐาน เพื่อนำมาออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้เหมาะกับจุดอ่อนผู้เรียน

  กลยุทธ์ที่ 3 เตรียมการพัฒนาครูแกนนำ นักเรียนแกนนำ ทบทวนคุณธรรมอัตลักษณ์ และมีการวางแผน กำหนดปฏิทินการขับเคลื่อนคุณธรรมสู่ชุมชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566

   กลยุทธ์ที่ 4 จัดทำหลักสูตรเชื่อมโยง หลักสูตรระยะสั้น และทวิศึกษา

    กลยุทธ์ที่ 5 มีระบบการดูและช่วยเหลือนักเรียน การดูแลนักเรียนเรื่องสภาวะถดถอยต้องช่วยเหลือต่อไป และใช้ภาคีเครือข่ายในการพัฒนาโรงเรียนร่วมกัน


วันพฤหัสบดีที่ 10 สิงหาคม 2566 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ประชุมภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา ร่วมกับ อธิการบดี ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนา (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ) ศึกษาธิการจังหวัด ศึกษานิเทศก์ 3 จังหวัด (สุพรรณบุรี , อุทัยธานี , กาญจนบุรี) และผู้อำนวยการโรงเรียน ณ ห้งประชุม คณะคุรุศาสตร์ ชั้น 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในการนี้ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง        ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีได้มอบหมายให้ นายทวีศักดิ์  ทองดอนน้อย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษเข้าร่วมประชุม

             วันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม 2566 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี เยี่ยมโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาเพื่อติดตามการขับเคลื่อนคุณธรรม และการเปิดสอนวิชาชีพในรูปแบบที่ 3 ของโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี  / โรงเรียนในโครงการกองทุนและ   โรงเรียนในเครื่อข่าย ฯ จังหวัดกาญจนบุรี ในการนี้ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีได้มอบหมายให้ ดร.บุญส่ง โซยรัมย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี  พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์  ทองดอนน้อย ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ และ นางสาวปาลดา คล้ายคลึงนักวิชาการศึกษา ได้เดินทางไปต้อนรับ ณ โรงเรียนศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี

วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ท่านพลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมการจัดการศึกษาเรียนร่วมหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) (โรงเรียนมัธยมศึกษา ลักษณะที่ 3) สำหรับ โรงเรียนพื้นที่ห่างไกล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมี ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผอ.สพม.กาญจนบุรี ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพม.กาญจนบุรี เพื่อรับฟังนโยบายและแนวทางการดำเนินงานไปปฎิบัติ มีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 70 คน ณ สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดกาญจนบุรี 

วันที่  9 มิ.ย. 66  พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา NONGPRUEPITTAYAKOM SCHOOL โรงเรียนหนองปรือพิทยาคม โรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา

      วันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม 2566 ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี พร้อมด้วย นางสาวสุนันทา พร้าวตะคุ รอง.ผอ.สพม.กจ ดร.บุญส่ง โซยรัมย์ รอง.สพป.เขต 2 ปฎิบัติหน้าที่ รอง.สพม.กจ กล่าวรายงาน โครงการ Starfish Future Labz ได้แนวคิดหลัก จากท่านองคมนตรี         ที่มุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านนำเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโรงเรียนเครือข่าย ฯ  สพม.กจ 

วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรีมอบหมายให้ ศึกษานิเทศก์ สพม.กจ 

นิเทศติดตาม การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖โรงเรียนไทรโยคมณีกาญจน์วิทยา 

วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มอบหมายให้ ศึกษานิเทศก์ สพม.กจ 

นิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา 

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มอบหมายให้ ศึกษานิเทศก์ สพม.กจ

นิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนทองผาภูมิวิทยา 

วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มอบหมายให้ ศึกษานิเทศก์ สพม.กจ

นิเทศ ติดตาม การเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ โรงเรียนร่มเกล้ากาญจนบุรี

วันที่  12 ก.พ. 2566  ว่าที่ร้อยเอกพรเนตร ศรีทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากาญจนบุรี มอบหมายให้ ศึกษานิเทศก์ สพม.กจ

ตรวจเยี่ยมสนามสอบ   O-NET ม.3 โรงเรียน ในโครงการกองทุนและเครือข่าย ฯ สพม.กจ