คู่มือกิจกรรมเสริมความเป็นครู


T E A C H E R S


T = Teaching หมายถึง ครูทำหน้าที่สอนและถ่ายทอดศาสตร์วิชาแขนงต่างๆ ให้แก่สิทธิ์ไม่เฉพาะทางวิชาการแต่รวมถึงอบรมให้ความระลึกถึงผิดชอบชั่วดีแก่สิทธิ์ให้มีปัญญาชนโดยไม่เลือกฉันวันนะและไม่ปิดบังอำพรางวิชาชีพหรือมีอคติต่อผู้เรียน

E = Ethic หมายถึง ครูเป็นผู้มีเมตตาทำคุณธรรมและจริยธรรมจรรยาบรรณต่อวิชาชีพพร้อมทั้งแก่สิทธิ์เพื่อดำรงตนในการประกอบวิชาชีพและถ่ายทอดวิชาแกสิทธิ์โดยมีคุณธรรมจริยธรรมต่อทุกคนโดยไม่หยุดพักคติของตน

A = ACademic หมายถึง ครูเป็นนักวิชาการที่มีความรอบรู้และแสวงหาความรู้ในการพัฒนาตนอยู่เสมอโดยไม่หยุดยั้งความคิดอยู่กับพี่แต่หมายถึงผู้เรียนรู้วิชาการและเทคนิคความคิดรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อทันต่อยุคสมัยสถานการณ์ปัจจุบันพร้อมทั้งไม่ยึดติดกับองค์ความรู้ตนแต่ต้องรับฟังความคิดเห็นจากความรู้ของผู้อื่นเพื่อเป็นแนวทางพัฒนาตนต่อไป

C = Cultural Heritage หมายถึง ครูเป็นผู้รู้คุณค่าของขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและของชาติเพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลังได้ตระหนักรู้ซึ่งในทางมรดกวัฒนธรรมของตนเองให้ได้และภาคภูมิใจในสิ่งที่ บรรพชนได้สร้างขึ้นและถ่ายทอดมาให้ชนรุ่นหลังได้รับช่วงมาเพื่อการดำเนินชีวิตอยู่อย่างผาสุก

H = Human Relationship หมายถึง ครูเป็นผู้มีไมตีจิตมนุษย์สัมพันธ์ดีนับได้ว่าตัวนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะสามารถใช้ชีวิตให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้อย่างมีความสุขและจะทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างปกติสุขทั้งทางวิชาการและกิจกรรมของครูและนักเรียนดังนั้นการเข้าสังคมกับสิ่งแวดล้อมจึงมีผลต่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

E = EValution หมายถึง ครูต้องรู้ ในการวัดประเมินผลยังพลอยแท้และเข้าใจเพื่อใช้ในกระบวนการเรียนการสอนอยู่เสมอโดยมีวิจารณญาณพิจารณาเรื่องนั้นให้เข้าใจเพื่อที่จะไม่ผิดพลาดในการตัดสินและประเมินผลผิดพลาด

R = Research หมายถึง ครูคือผู้ค้นคว้าหาสิ่งใหม่ใหม่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนของตนกับสภาพ แดดร้อนนั้นนั้นโดยไม่หยุดความคิดอยู่กับที่และพร้อมจะรับสิ่งใหม่เพื่อนำมา ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเต็มที่

S = service หมายถึง ครูคือผู้ให้บริการด้านอื่นไม่เฉพาะแต่การสอนแต่รวมถึงงานต่างๆกิจกรรมอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนชุมชนสังคมเพื่อให้บรรลุความต้องการของผู้มารับบริการและสร้างคติที่ดีให้กับองค์กรสถานศึกษา



ความสำคัญของสมุดบันทึกกิจกรรมนักศึกษา

อาชีพทุกอาชีพย่อมมีความสำคัญต่อบุคคลและสังคมด้วยกันทั้งสิ้นยากที่จะกล่าวอ้างว่าอาชีพใดมีความสำคัญกว่ากันแต่ถ้าเรามาพิจารณาเฉพาะวิชาชีพครูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่าผู้เป็นครูนั้นต้องรับภาระหน้าที่ต่อสังคมและชาติบ้านเมืองหากผู้เป็นครูปฏิบัติภาระที่ตนเองได้รับบกพร่องผลกระทบก็จะตกไปถึงความเสื่อมของสังคมและชาติบ้านเมือง เพื่อให้นักศึกษาครูได้ตระหนักถึงความสำคัญของครูจึงต้องสร้างและส่งเสริมความเป็นครูให้กับนักศึกษา

ในการเรียนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ นอกจากนักศึกษาจะมีความรู้ในเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพื้นฐานความรู้ทางวิชาชีพครูการจัดการเรียนรู้ด้านศาสตร์การกีฬาการวิจัยทางด้านหลักสูตรและการสอนแล้วนักศึกษายังจำเป็นต้องมีสมรรถนะ จิตวิญญาณความเป็นครู ระลึก พระคุณครู พัฒนาและเสริมสร้างจริยธรรมของครูด้วย

กิจกรรมเสริมความเป็นครูสำหรับนักศึกษา

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม

กิจกรรมเสริมความเป็นครู หมายถึง เป็นกิจกรรมที่เสริมสร้างประสบการณ์ทักษะความรู้ความสามารถพัฒนาการทางบุคลิกภาพสุขภาพตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมในสาขาวิชาชีพพลศึกษาให้แก่นักศึกษาและเป็นกิจกรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม กำหนดให้นักศึกษา เข้าร่วมตามคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาเขตมหาสารคาม กำหนดในแผนการจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร



ข้อเสนอแนะในการใช้สมุดบันทึกกิจกรรมนักศึกษา

1. สมุดบันทึกกิจกรรมเสริมความเป็นครู เป็นสมุดบันทึกประจำตัวเพื่อใช้บันทึกการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดระยะเวลาที่เป็นนักศึกษาในคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม

2. ควรเก็บรักษาไว้มิให้สูญหายหากสูญหายให้ยื่นคำร้องเพื่อขอสมุดบันทึกกิจกรรมใหม่ที่ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม

3. นักศึกษาควรอ่านหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการบันทึกกิจกรรมให้เข้าใจ

4. หากต้องการใบรับรองประสบการณ์หรือการเข้าร่วมกิจกรรมให้นักศึกษายื่นคำขอพร้อมแนบสมุดกิจกรรมที่ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม



ประเภทและลักษณะของกิจกรรมเสริมความเป็นครู


มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม กำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาตรี เข้าร่วมกิจกรรมเสริมความเป็นครูตลอดหลักสูตร ในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม ปีละ 2 กิจกรรม ตลอดหลักสูตร 12 กิจกรรมตามแผน ดังนี้



โครงการ/กิจกรรมเสริมความเป็นครู



กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเสริมสร้างความศรัทธา ความมุ่งมั่นและรักในอาชีพครู

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมจิตอาสาและ/หรือจิตสาธารณะ/การบาเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความเป็นไทย

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ/หรือศาสตร์พระราชา

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรค และเพศศึกษา

กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย รวมถึงการเลือกตั้ง

กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์

กิจกรรมที่ 9 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กีฬาและนันทนาการ

กิจกรรมที่ 10 กิจกรรมทางวิชาการ





คุณลักษณะของครูที่ดี 10 ประการ

1. ความมีระเบียบวินัย ความประพฤติ ทั้งทางกาย วาจา และใจ

2. ความซื่อสัตย์สุจริตและความยุติธรรม การประพฤติที่ไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนไม่เอาเปรียบหรือคดโกงผู้อื่น หรือส่วนรวม

3. ความขยัน ประหยัด และยึดมั่นในสัมมาอาชีพ ปฏิบัติกิจอันควรกระทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและสังคม

4. ความสำนึกในหน้าที่และการงานต่างๆ รวมไปถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ

5. ความเป็นผู้มีความคิดริเริ่ม วิจารณ์และตัดสินอย่างมีเหตุผล ความประพฤติในลักษณะสร้างสรรค์ และปรับปรุงมีเหตุมีผลในการทำหน้าที่การงาน

6. ความกระตือรือร้นในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย มีความรักและเทิดทูน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

7. ความเป็นผู้มีพลานามัยที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

8. ความสามารถในการพึ่งพาตนเองและมีอุดมคติเป็นที่พึ่งไม่ไว้วานหรือขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นโดยไม่จำเป็น

9. ความภาคภูมิและการรู้จักทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และทรัพยากรของชาติ

10. ความเสียสละ และเมตตาอารี กตัญญูกตเวที กล้าหาญ และความสามัคคีกัน การแบ่งปัน เกื้อกูลผู้อื่นในเรื่องของเวลากำลังกายและกำลังทรัพย์



แนวทางการจัดกิจกรรม/โครงการเพื่อส่งเสริมความเป็นครู

1) กิจกรรมเสริมสร้างความศรัทธา ความมุ่งมั่นและรักในอาชีพครู

2) กิจกรรมจิตอาสาและ/หรือจิตสาธารณะ/การบำเพ็ญประโยชน์แก่ชุมชนและสังคม

3) กิจกรรมส่งเสริมความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และความเป็นไทย

4) กิจกรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ/หรือศาสตร์พระราชา

5) กิจกรรมลูกเสือ/เนตรนารี/ยุวกาชาด

6) กิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะ การป้องกันโรค และเพศศึกษา

7) กิจกรรมส่งเสริมวิถีชีวิตประชาธิปไตย รวมถึงการเลือกตั้ง



มาตรฐานการเรียนรู้ 4 ปี

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม (พลศึกษา) นักศึกษาที่ออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต้องแสดงสมรรถนะและผลการเรียนรู้ แยกแต่ละชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทครู จิตวิทยาสำหรับครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู ผู้นำกิจกรรม ควบคุมดูแลนักเรียนอย่างมุ่งมั่น

ชั้นที่ 2 มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร สร้างนวัตกรรม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียน และสร้างความสุขในการเรียน

ชั้นปีที่ 3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชาการบริหารจัดการชั้นเรียน และร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน

ชั้นปีที่ 4 สามารถบูรณาการเนื้อหาความรู้ วิชาเอกพลศึกษา วิชาชีพครู สู่การปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม (สุขศึกษา) นักศึกษาที่ออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต้องแสดงสมรรถนะและผลการเรียนรู้ แยกแต่ละชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทครู จิตวิทยาสำหรับครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู ผู้นำกิจกรรม ควบคุมดูแลนักเรียนอย่างมุ่งมั่น

ชั้นปีที่ 2 มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร สร้างนวัตกรรม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่ออิเลคทรอนิกส์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียน และสร้างความสุขในการเรียน

ชั้นปีที่ 3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา การบริหารจัดการชั้นเรียน และร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน

ชั้นปีที่ 4 สามารถบูรณาการเนื้อหาความรู้ วิชาเอกสุขศึกษา วิชาชีพครู สู่การปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม (พลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ) นักศึกษาที่ออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต้องแสดงสมรรถนะและผลการเรียนรู้ แยกแต่ละชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทครู จิตวิทยาสำหรับครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู ผู้นำกิจกรรม ควบคุมดูแลนักเรียนอย่างมุ่งมั่น

ชั้นปีที่ 2 มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร สร้างนวัตกรรม รู้เท่ากันการเปลี่ยนแปลงสื่ออิเลคทรอนิกส์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียน และสร้างความสุขในการเรียน

ชั้นปีที่ 3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา การบริหารจัดการชั้นเรียน และร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน

ชั้นปีที่ 4 สามารถบูรณาการเนื้อหาความรู้ วิชาเอกพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ วิชาชีพครูสู่การปฏิบัติหน้าที่ครูตามจรรยาบรรณวิชาชีพ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตมหาสารคาม

มาตรฐานผลการเรียนรู้ของประสบการณ์ภาคสนาม (พลศึกษาและสุขศึกษา)นักศึกษาที่ออกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาต้องแสดงสมรรถนะและผลการเรียนรู้ แยกแต่ละชั้นปี ดังนี้

ชั้นปีที่ 1 มีความรู้ ความเข้าใจในบทบาทครู จิตวิทยาสำหรับครู และความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชน สามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ครู ผู้นำกิจกรรม ควบคุมดูแลนักเรียนอย่างมุ่งมั่น

ชั้นปีที่ 2 มีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนาหลักสูตร สร้างนวัตกรรม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสื่ออิเลคโทรนิกส์ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบหน่วยการเรียนรู้ จัดการเรียนรู้ จัดการชั้นเรียน เสริมสร้างบรรยากาศการเรียน และสร้างความสุขในการเรียน

ชั้นปีที่ 3 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศาสตร์การสอน การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินการเรียนรู้ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการออกแบบการสอน การวัดประเมินผลในรายวิชา การบริหารจัดการชั้นเรียนและร่วมมือกับผู้ปกครองในการพัฒนาผู้เรียน