การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
บริหารการศึกษา

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารการศึกษา

          การฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็นกระบวนการเพิ่มทักษะและประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์แก่การประกอบอาชีพช่วยให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจจากการปฏิบัติงานในสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เพิ่มพูน ทักษะและความสามารถในการทำงานที่ดี สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน  และการประกอบอาชีพซึ่งนักศึกษาจะมีโอกาสได้ปฏิบัติงานจริง ซึ่งจะทำให้นักศึกษาทราบถึงขั้นตอนการปฏิบัติงาน การทำงานร่วมกับผู้อื่น และเทคนิคการทำงานในสถานการณ์จริงสามารถเห็นกระบวนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  เสริมสร้างสมรรถนะในการทำงานและการประกอบอาชีพในอนาคต การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารการศึกษาของนักศึกษา ไม่ใช่เป็นการฝึกงานแต่จะเป็นการฝึกปฏิบัติวิชาชีพบริหารการศึกษาเพื่อ
“แลกเปลี่ยน”(Exchange) ในภูมิความรู้(Knowledge) ภูมิปัญญา(Wisdom) ซึ่งกันและกัน ต่างเป็นผู้ให้และต่างเป็นผู้ได้รับ เพื่อมุ่งหวังให้เกิดผลการปฏิบัติ(Result) การเรียนรู้(Learning) และความรู้ใหม่ (New Knowledge) การฝึกปฏิบัติการจึงจะต้องยึดหลัก “การมีส่วนร่วม”(Participation) ในทุกขั้นตอนของการบริหาร ทั้งในการวางแผน การนำแผนสู่การปฏิบัติ การประเมินผล และการสะท้อนผล สำหรับการศึกษาระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตในสาขาวิชาการบริหารการศึกษามีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณลักษณะเป็นนักบริหารชั้นสูง 


วัตถุประสงค์

             1. เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานตามสาขาวิชาชีพของนักศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

                  2. เพื่อพัฒนาสมรรถนะเฉพาะทางในการทำงาน และการสร้างเสริมประสบการณ์จากการปฏิบัติงานจริงในสถานฝึกประสบการณ์วิชาชีพการตามสาขาวิชาชีพ

                3. เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านมนุษยสัมพันธ์ การปรับตัว บุคลิกภาพ ตลอดจนความสามารถ
ในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                4. เพื่อปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม เจตคติ ที่สอดคล้องกับค่านิยมร่วมที่ดีขององค์กร 

แผนการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการวิชาชีพการบริหารการศึกษา  

         ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษานิสิตจะต้องได้รับการนิเทศ กำกับติดตาม และ ประเมินผลโดยอาจารย์นิเทศก์  ผู้บริหาร
พี่เลี้ยง  และพี่เลี้ยงการฝึกประสบการณ์ โดยมีแผนการทำงานร่วมกัน
ตามกระบวนการ PDCA ดังนี้

                P-Planning อาจารย์นิเทศก์  ผู้บริหารพี่เลี้ยง  และพี่เลี้ยงควบคุมการฝึกประสบการณ์ร่วมประชุมเพื่อวางแผนในการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพการบริหารการศึกษาของนิสิต (ก่อนเข้ารับการฝึกประสบการณ์)

                D-Doing อาจารย์นิเทศก์ออกนิเทศติดตามการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา และมีการประชุมสรุป รับฟังความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ร่วมกับผู้บริหารพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ และนิสิต (ระหว่างการฝึกประสบการณ์)

                C-Checking อาจารย์นิเทศก์  ผู้บริหารพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยงผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ ร่วมกันประเมิน และสะท้อนผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษาของนิสิตพร้อมให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา (ระหว่างการฝึก ประสบการณ์)

                A-Acting อาจารย์นิเทศก์  ผู้บริหารพี่เลี้ยง และพี่เลี้ยงผู้ควบคุมการฝึกประสบการณ์ร่วมกันพิจารณาเพื่อปรับปรุง แก้ไขการฝึก ประสบการณ์วิชาชีพการบริหารการศึกษาของนิสิต (หลังการฝึกประสบการณ์)

Google  Classroom

มหาวิทยาที่เคยส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

มหาวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน

มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี