ที่อยู่ ลำน้ำห้วยหลวง จังหวัดหนองคาย อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย
ตำบล จุมพล อำเภอ โพนพิสัย จ.หนองคาย 43120
ระบบนิเวศธรรมชาติใดก็ตาม คือ พื้นที่หรือบริเวณที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๒ ประเภทสัมพันธ์กันอยู่ องค์ประกอบ ๒ ประเภทนี้คือ สิ่งที่มีชีวิต (พืชและสัตว์) และสิ่งแวดล้อม (ทางกายภาพและชีวภาพ) โดยปกติความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบในระบบนิเวศนี้จะอยู่ในระดับที่เรียกว่า สมดุลทางธรรมชาติ (Balance of nature) มีระดับความมั่นคงเชิงนิเวศวิทยาสูง ระบบนิเวศธรรมชาตินี้ถ้ามนุษย์หรือระบบนิเวศอื่นที่มีมนุษย์เป็นองค์ประกอบเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยจะเกิดโครงข่ายความสัมพันธ์และกิจกรรมขึ้นมากมาย ระบบนิเวศชนบทคือ ระบบนิเวศที่มีมนุษย์เป็นองค์ประกอบ และมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบนิเวศธรรมชาติมากที่สุด และความเกี่ยวข้องนี้แนะนำให้เกิดกิจกรรมของมนุษย์ขึ้นอย่างหนึ่งคือ การเกษตร[1] ซึ่งมนุษย์ได้เข้าไปอาศัยและใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศมาอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการทำลายและมีผลกระทบต่อระบบนิเวศอย่างหลีกเหลียงไม่ได้
การพัฒนาตามกระแสโลกาภิวัตน์และระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมีความจำเป็นอย่างยิ่งผู้คนในชุมชนท้องถิ่นหลายต่อหลายแห่งต้องปรับตัวเอง เพื่อให้เกิดการพัฒนาควบคู่กับการดำรงชีพอย่างยั่งยืนในชุมชน โดยการเปลี่ยนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมถึงสร้างความยุติธรรมทาง สังคมและลดความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อม เช่น การสร้างศักยภาพของเศรษฐกิจชุมชน สร้างความมั่นคงในชีวิตเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ[2] จากกระแสโลกาภิวัตน์ (Globalization) ในช่วงก่อนศตวรรษที่ ๒๑ หรือกว่า ๔ ทศวรรษที่ผ่านมา เป็นการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรม และด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นการพัฒนาที่ส่งผลให้ เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมาก เห็นได้ชัดเจนในทุกวันนี้ได้แก่การมีสภาวะที่ไม่แน่นอนของภูมิอากาศ เหตุการณ์เอลนีโญ ต่าง ๆ ล้วนเป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรม ในอดีตที่มีการใช้ทรัพยากรทุกประเภทจํานวนมากมายมหาศาล เพื่อการอุตสาหกรรม และเพื่อการ คิดค้นประดิษฐ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหล่านี้