กระดูกสันหลังเสื่อม หมอรักษาอย่างนี้

อาการกระดูกสันหลังเสื่อม ในเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถรักษาตนเองได้ ยกตัวอย่างเช่น การประคบร้อน หรือ ประคบเย็น ตรงบริเวณที่ปวด และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้นได้เช่นกัน หากยังไม่ดีขึ้น อาจใช้ยาช่วย แต่ยาบางชนิด อาจส่งผลต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด โรคตับ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หรือ ผู้ที่เคยมีแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งผู้ป่วยสามารถปรึกษาเภสัชกร หรือ แพทย์ได้ แต่หากรักษาด้วยยาไม่ได้ผล แนะนำให้ลองใช้วิธีอื่น เช่น การทำกายภาพบำบัด การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง หรือ การผ่าตัด แต่การผ่าตัดจะเหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการรุนแรง เพราะมีผลข้างเคียงในหลายๆ ด้าน ผู้ป่วยควรให้แพทย์วินิจฉัยอาการก่อน


วิธีการรักษาต่างๆ มีดังนี้

  • ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ลดการปวด หาซื้อได้ทั่วไป โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ แต่หากไม่ใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้อง รับประทานติดต่อกันนานๆ อาจส่งผลเสียต่อตับได้
  • รักษาด้วยยาในกลุ่มต้านอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ต่ออาการกระดูกสันหลังเสื่อม และยาทั่วไปที่ใช้กันได้แก่ ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค และนาพรอกเซน
  • รักษาด้วยยาตามใบสั่งแพทย์
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วย เพิ่มการเคลื่อนไหว และความแข็งแรง บางกรณี นักกายภาพบำบัดอาจใช้ วิธียืดกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาท ให้มีช่องระหว่างกระดูกสันหลังมากขึ้น เพื่อช่วยลดอาการปวดลง
  • การฉีดยาเข้าโพรงกระดูกสันหลัง ช่วยลดอาการปวดและแผลที่อักเสบ บริเวณหมอนรองกระดูกสันหลัง
  • การผ่าตัด มีหลายประเภท ได้แก่ การผ่าตัดเชื่อมข้อต่อกระดูกสันหลัง หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนหมอนรองกระดูกกสันหลังเทียม แพทย์มักแนะนำวิธีรักษาแบบนี้ให้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาทที่รุนแรง เช่น ผู้ป่วยมีอาการแสดงออกของเส้นประสาทถูกกดทับ ได้แก่ ชา กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อขาลีบ หรือ ระบบควบคุมการขับถ่ายสูญเสียไป นอกจากนี้ การผ่าตัดจะถูกนำมาพิจารณาก็ต่อเมื่อการรักษาโดยวิธีอื่นๆ นั้นใช้ไม่ได้ผล ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง ทั้งนี้ การผ่าตัดอาจจะช่วยป้องกันอาการไม่ให้แย่ลง แต่ไม่หายขาด



คชาบาล์ม พรีเมี่ยม - สุดยอดบาล์มทานวด รักษาอาการปวดข้อ-เข่า ข้อ-เข่าเสื่อม ปวดกระดูก กระดูกเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเส้นเอ็น ปวดต้นคอ ปวดหลัง ปวดเอว มือเท้าชา มือล็อค ไหล่ติด เส้นยึด ตาลาย สลายลิ่มเลือด ขับลมออกจากเส้น อัมพฤกษ์ เหน็บชา ตะคริว เก๊าท์ รูมาตอยด์ กระดูกทับเส้น

กระดูกคอเสื่อม