กิจกรรมปี 2022

ขอเรียนเชิญคณาจารย์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าร่วมกิจกรรม MMS Talk ครั้งที่ 3 หัวข้อ “การขอตำแหน่งทางวิชาการของกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” โดยได้รับเกียรติจากวิทยากร ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของชาติ และได้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ มากมาย เช่น


กิจกรรมนี้จะเน้นการบรรยายให้ข้อมูลระเบียบการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการที่เป็นปัจจุบัน และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ซักถามประเด็นข้อสงสัยต่างๆ


ดำเนินรายการโดย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรัสรัก  วิภาวกิจ และ อาจารย์ ดร.พรรณราย  ศิริเจริญ


กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น.

ทั้งแบบ On-Site และ Online


กิจกรรมนี้เปิดให้เข้าร่วมเฉพาะคณาจารย์และบุคลากรในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น


กรุณาลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม https://tinyurl.com/mms3-2022-05-signup

ปิดรับลงทะเบียนวันจันทร์ที่ 23 ม.ค. 66 เวลา 12.00 น.


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Email: research.eng.chula@gmail.com

หรือโทร. 02-218-7830


ดาวน์โหลดเอกสารประกอบการบรรยาย [PDF]

ขอเรียนเชิญคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมกิจกรรม MMS Talk ครั้งที่ 2 หัวข้อ "เทคนิคการเขียนตำราและหนังสือวิชาการ จากประสบการณ์" โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์  เดชะอำไพ

ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ เดชะอำไพ ปัจจุบันดำรงตําแหน่ง ศาสตราจารย์ ระดับ 11 ภาควิชาวิศวกรรมอากาศยาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่ง Senior Aerospace Engineer เป็นข้าราชการประจำระดับ GS-14 ในองค์การอวกาศ NASA มากว่า 10 ปี ทำงานวิจัยค้นคว้าโครงการกระสวยอวกาศ สถานีอวกาศ และยานอวกาศความเร็วสูงข้ามทวีป ได้เขียนบทความทางวิชาการกว่า 335 บทความ และแต่งตำราอีก 25 เล่ม


ศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ เดชะอำไพ ได้รับรางวัลดีเด่นเป็นจำนวนมากในช่วงของการปฏิบัติงานใน องค์การอวกาศ เช่น รางวัล NASA Superior Accomplishment Award รางวัล NASA Group Achievement Award รางวัล NASA Outstanding Performance Award และ หลังจากกลับเข้ารับราชการในประเทศไทยได้รับรางวัลตำราดีเด่นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลเมธีวิจัยอาวุโส สกว. รางวัลอาจารย์ดีเด่นของคณะวิศวกรรมศาสตร์ รางวัลอาจารย์ดีเด่น ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รางวัลดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากประธานองคมนตรี รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย รางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติจาก สภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และ รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติจากสำนักนายกรัฐมนตรี


กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 12.00 - 13.30 น.

(เริ่มเปิดลงทะเบียน 11.30 น. และเรียนเชิญรับประทานอาหารกลางวัน)

ณ ตึกร้อยปีวิศวกรรมศาสตร์ ชั้น 5 ห้อง 505


ดำเนินรายการโดย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรัสรัก  วิภาวกิจ 

และ อาจารย์ ดร.พรรณราย  ศิริเจริญ


กิจกรรมนี้เปิดรับเฉพาะคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และจัดแบบ on-site เท่านั้น (ไม่มี online)


กรุณาลงชื่อเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม https://tinyurl.com/mms3-2022-04-signup

ปิดรับลงชื่อวันอังคารที่ 23 ส.ค. 65 เวลา 12.00 น.


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Email: research.eng.chula@gmail.com

ขอเรียนเชิญคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรม MMS Networking #1 “อัพสปีด รีดศักยภาพ และวาร์ปไปยังจุดที่ฝันด้วย Networking”

มาร่วมกันสร้างเครือข่ายทีมวิจัยที่จะพาคุณเดินหน้าสู่เส้นทางของนักวิจัยอย่าง

“ไม่โดดเดี่ยว แต่โดดเด่น”


เตรียมตัวให้พร้อมแล้ว "ลงเรือ(เล็ก)สร้างเครือข่าย(วิจัย)ไปด้วยกัน"


พิเศษสุด!! เฉพาะคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น!!


ในวันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน 2565 เวลา 12.00-15.30 น. 

ณ TRUE  Lab ตึก 3 แบบ on-site


เวลา 11.00-13.00 น. เรียนเชิญประทานอาหารกลางวัน (แบบแยกเป็นชุด)


เวลา 12.00 น. เริ่มกิจกรรม networking เข้ารับฟังข้อมูลวงในเรื่องการคัดกรองข้อเสนอโครงการวิจัยจากทีมกูรู นำโดย 

ศ. ดร.สุทธิชัย อัสสะบำรุงรัตน์ (ศูนย์ BCGeTEC) 

ศ. ดร.เฉลิมชนม์ สถิระพจน์ (ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ) 

ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ (ศูนย์ AI Engineering Center)


เวลา 13.00– 14.30 น. กิจกรรมสร้างเครือข่ายวิจัย นำโดย 

รศ. ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ (ศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช BMERC) 

รศ. ดร. ภัทรพร  คิม (ศูนย์ BCGeTEC) 

ผศ. ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ (ศูนย์ AI Engineering Center) 

อ. ดร.เจนยุกต์ โล่ห์วัชรินทร์ (ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม)


พ่วงด้วยกิจกรรมสันทนาการเบาๆ


ห้ามพลาดเด็ดขาด!

....แล้วพบกันนะ ...


โปรดทราบ : เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จึงขอให้ผู้ที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านมีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR มาก่อนล่วงหน้าไม่เกิน 72 ชั่วโมง โปรดถ่ายรูปผลการตรวจที่แสดงชื่อของท่านไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์หรือแท็บแบล็ตเพื่อแสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจคัดกรองหน้างาน จากนั้นทางผู้จัดจะมอบชุดตรวจ ATK ชุดใหม่คืนให้ท่านละ 1 ชุด


กรุณาลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม https://tinyurl.com/reg-mms3-2022-03

กิจกรรมนี้เปิดรับเฉพาะคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้น

ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม MMS3 2022–MMS Talk #1: “อาจารย์รุ่นใหม่ สมัครทุนอย่างไรไม่ให้โดนเท”

ในวันพฤหัสบดี ที่ 12 พฤษภาคม 2565

เวลา 12.00 - 13.30 น.

ผ่านช่องทางออนไลน์ (Zoom)


โดย


ผศ. ดร.ศุภฤกษ์ ประเสริฐธรรม

ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ผศ. ดร.ธีรวิทย์ วิไลประสิทธิ์พร

สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC)


อ. ดร.ชยุตม์ งามโขนง

ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


อ. ดร.ธีระยุทธ เพ็งสะอาด

ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และปิโตรเลียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


** กิจกรรมครั้งนี้เปิดสำหรับผู้สนใจทั่วไป **


ลงทะเบียนที่ https://tinyurl.com/reg-mms3-2022-02 

ขอเรียนเชิญคณาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรม MMS3 - 2022 ครั้งที่ 1 “First Meeting”

คณบดีพบอาจารย์ใหม่


ในวันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม 2565

เวลา 12.00 - 13.00 น.

ผ่านช่องทางออนไลน์ (Zoom)


… เปิดตัว Exclusive Package for Young Chula Engineering Lecturers …

เตรียมพบกับแหล่งทุนสนับสนุนและข้อมูลลับเฉพาะสำหรับอาจารย์ใหม่ วิศวฯ จุฬาฯ


สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกัน น้อง ๆ และพี่ ๆ มาร่วมกันสรรสร้างกิจกรรมในการพัฒนาตนเอง ทั้งด้านงานวิจัยและการใช้ชีวิตอาจารย์ให้สมดุล


คุณจะไม่เดินคนเดียวอีกต่อไป เราจะเดินไปด้วยกัน


ลงทะเบียนที่ https://tinyurl.com/reg-mms3-2022-01


กิจกรรมนี้แม้จะเน้นกลุ่มเป้าหมายที่อาจารย์รุ่นใหม่ ทว่าผู้จัดขอเรียนเชิญคณาจารย์ในคณะฯ ทุกท่านที่สนใจเข้าร่วม

ข้อคิดจากวิทยากร