เกี่ยวกับเรา

ประวัติ ภ.จว.ชุมพร

ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรได้ตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช ใดไม่ปรากฏ แต่ตามที่สืบค้นอนุมาณได้ว่าเดิมตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร มีสถานที่ทำการอยู่บนชั้น 2 ของสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมือง ซึ่งเป็นอาคารโรงเรือนครึ่งตึกครึ่งไม้ ต่อมาเมื่ออาคารได้ชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา ในปี พ.ศ.2519 จึงได้รับงบประมาณจากกรมตำรวจสร้างเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร ก็ยังคงใช้สถานที่ชั้นที่ 2 เป็นที่ทำการเช่นเดิม

ต่อมาด้วยภารกิจที่เพิ่มมากขึ้นตามความเจริญของบ้านเมือง กำลังพลได้รับการบรรจุเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีภารกิจที่ต้องบริการจัดการด้านการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม ยาเสพติด ผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ สำนวนการสอบสวนคดีอาญา และการประชุมข้าราชการตำรวจในปกครอง ทำให้สถานที่คับแคบ และไม่สามารถขยายได้อีก เพื่อให้ตอบสนองต่องานบริหารและบริการประชาชนได้อย่างคล่องตัว มีประสิทธิภาพจึงควรที่จะมีสถานที่ทำงานเป็นของตนเอง โดยในปีพ.ศ.2539 ได้ขออนุมัติใช้ที่ดินของศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร และขออนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารที่ทำการจากกรมตำรวจ ในระหว่างที่รออนุมัติงบประมาณอยู่นั้น ในปี พ.ศ.2544 จังหวัดชุมพรได้ก่อสร้างอาคารศาลากลางจังหวัดชุมพรขึ้น ณ บริเวณศูนย์ราชการจังหวัดชุมพร ตำรวจภูธรจึงได้ย้ายที่ทำการมารวมอยู่ด้วย โดยใช้พื้นที่ชั้นที่ 4 ของอาคารศาลากลางจังหวัดชุมพรชั่วคราว

จนกระทั่งปี พ.ศ.2546 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารของตำรวจภูธรจังหวัดชุมพรเป็นงบผูกพันในปี พ.ศ.2546 จำนวน 3 ล้านบาท และในปี พ.ศ.2547 จำนวน 12 ล้านบาท โดยก่อสร้างเป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น ใช้เนื้อที่จำนวน 1 ไร่ 78 ตารางวา ก่อสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2548 และได้มีพิธีเปิดอาคารอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2548 และใช้ราชการมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้

1.สภาพโดยทั่วไปของจังหวัดชุมพร

1.1 ที่ตั้งและภูมิประเทศ

จังหวัด ชุมพร เป็นจังหวัดตอนบนสุดของภาคใต้ มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 10 องศา 29 ลิปดาเหนือ และเส้นลองติจูดที่ 99 องศา 11 ลิปดาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

-ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

-ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

-ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อ่าวไทย

-ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดระนอง และสาธารณรัฐสังคมนิยมเมียนม่า

1.2 ขนาดพื้นที่

มีเนื้อที่ประมาณ 3.75 ล้านไร่ หรือ 6,010.849 ตารางกิโลเมตร

1.3 ลักษณะภูมิประเทศ

สภาพ พื้นที่แบ่งเป็น 3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ พื้นที่สูงและภูเขาสูงทางทิศตะวันตก พื้นที่ราบตอนกลางและพื้นที่ราบชายฝั่งทะเล พื้นที่ทางตะวันตกเป็นที่สูงและภูเขา ทิวเขาที่สำคัญ คือ ทิวเขาตะนาวศรี ซึ่งเป็นพรหมแดนทางธรรมชาติระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐสังคมนิยมเมีย นม่า และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารไหลผ่านจังหวัดชุมพรที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำหลังสวน เป็นต้น ถัดจากแนวที่สูงมาจากด้านตะวันออกเป็นที่ราบตอนกลางซึ่งมีที่ราบเป็นลูก คลื่นและที่ราบลุ่ม และเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญ สำหรับพื้นที่ทางตะวันออกเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลยาว ประมาณ 222 กิโลเมตร ลักษณะชายหาดของจังหวัดชุมพรค่อนข้างเรียบ มีความโค้งเว้าน้อย ความกว้างของจังหวัดโดยเฉลี่ย 36 กิโลเมตร

1.4 สภาพภูมิอากาศ

เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นเหตุให้มีฤดูกาลเพียง 2 ฤดู คือ

1) ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ - พฤษภาคม โดยในช่วงนี้ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ อากาศจะเริ่มร้อนตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ มีอุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 26.8 องศาเซลเซียส

2) ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือน มิถุนายน - มกราคม ซึ่งเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาคใต้ เป็นมวลอากาศที่มีความชื้นสูง ดังนั้นเมื่อปะทะแนวเทือกเขาตะนาวศรี จึงทำให้เกิดฝนตกชุกตลอดพื้นที่จังหวัดปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,000 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 27 องศาเซลเซียส

ตำรวจภูธรจังหวัดชุมพร มีสถานีตำรวจในปกครอง 16 สถานีตำรวจ

ระยะ ทางจาก ภ.จว.ชุมพร ถึง สถานีตำรวจในสังกัด

ถึง สภ.เมือง ชุมพร ระยะทาง 3 กิโลเมตร

ถึง สภ.ปากน้ำ ชุมพร ระยะทาง 17 กิโลเมตร

ถึง สภ.บ้านวิสัย เหนือ ระยะทาง 33 กิโลเมตร

ถึง สภ.หลัง สวน ระยะทาง 77 กิโลเมตร

ถึง สภ.ปากน้ำหลังสวน ระยะทาง 89 กิโลเมตร

ถึง สภ.บ้านในหู ต ระยะทาง 70 กิโลเมตร

ถึง สภ.สวี ระยะทาง 41 กิโลเมตร

ถึง สภ.นา สัก ระยะทาง 75 กิโลเมตร

ถึง สภ.ท่า แซะ ระยะทาง 35 กิโลเมตร

ถึง สภ.สลุย ระยะทาง 62 กิโลเมตร

ถึง สภ.ปะ ทิว ระยะทาง 32 กิโลเมตร

ถึง สภ.บ้านมาบอำมฤต ระยะทาง 56 กิโลเมตร

ถึง สภ.ละ แม ระยะทาง 103 กิโลเมตร

ถึง สภ.พะ โต๊ะ ระยะทาง 114 กิโลเมตร

ถึง สภ.ทุ่ง ตะโก ระยะทาง 54 กิโลเมตร

ถึง สภ.ปาก ตะโก ระยะทาง 64 กิโลเมตร