ประวัติความเป็นมา

นายตีพะลี อะตะบู เป็นผู้สืบทอดการทำกริชรามัน การจัดตั้งกลุ่มทำกริชรามันเรื่มมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ก่อนที่จะเริ่มตั้งกลุ่มทำกริช ตีพะลีสอนอยู่ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน แล้วมีกลุ่มที่สนใจที่จะค้นคว้าเรื่องการทำกริชรามัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมที่สำคัญ จึงได้เริ่มมีการเรียนการสอนการทำกริชรามันขึ้น ที่ศูนย์ฝึกอาชีพวัดช้างให้ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ซึ่นในช่วงนั้นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้ทรงเสด็จมาและทรงสนพระทัย จึงรับสั่งให้สืบสานอนุรักษ์กริชรามันเอาไว้ ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก

กริช ในชุมชนภาคใต้ตอนล่างที่มีส่วนสำคัญต่อสังคมในด้านต่าง ๆ ดังนี้ เป็นศาสตราวุธสำหรับต่อสู้กันซึ่งหน้าในระยะประชิดตัว ใช้ในการพกพาแสดงถึงความเป็นชายชาตรี เป็นวัตถุสำหรับเคารพบูชาเพื่อโชค ลาภ และความเป็นสิริมงคล เป็นสัญลักษณ์ของสายพันธ์แห่งตระกูล เป็นเครื่องหมายบ่งบอกฐานะทางสังคม ยศและตำแหน่งเป็นผลสัมฤทธิ์แห่งงานศิลปะ ผู้สืบทอด เริ่มจากตระกูลบันไดซาระ เป็นช่างฝีมือเอกขาวชวาที่หลบหนีเข้ามาอยู่ในเมืองรามันห์ในอดีต ให้ถ่ายทอดมา 6 ช่วงอายุคน นายตีพะลี อะตะบู เป็นศิษย์ ในรุ่นที่ 6 ของต่วนบูเกต หลงสารี เป็นศิษย์ตระกูลปาแนซาแระห์ที่ 5

ตีพะลี อะตะบู อายุ 71 ปี ปัจจุบัน อาศัยอยู่ที่ 54/1 หมู่ 5 ตำบลตะโละหาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้ศึกษาการทำกริช เมื่อปี พ.ศ. 2523 โดยเริ่มจากการทำกริช การทำหัวกริชและทำฝักกริช และปัจจุบันได้ถ่ายทอดการทำกริชและรำกริชให้กับเยาวชน ผู้สนใจและสถานการศึกษา เป็นเวลาร่วม 42 ปี ที่ได้สืบสาน ถ่ายทอดเรื่องการทำกริชรามันห์ และการรำกริช ซึ่งมีผลงานการถ่ายทอดเผยแพร่สู่สาธารณชน และวิถีความเชื่อปรากฎทั้งในประเทศและนอกประเทศ

ภูมิหลัง

กว่า 200 ปีมาแล้ว เจ้าเมืองรามันห์ได้เชิญช่างผู้ชำนาญกริชจากประเทศอินโดนีเซีย ชื่อว่าปันไดซาร๊ะ มาทำกริชที่เมืองรามันห์ จนได้สืบทอดภูมิปัญญา ถึงปัจจุบันกริชรามันห์ จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีด้ามเป็นรูปนกพังกะ บ่งบอกความสูงศักดิ์ของผู้ครอบครองด้วย อย่างเช่น บุคคลทั่วไปจะใช้หัวกริชนกพังกะ และถ้าเป็นเจ้าเมือง หรือราชครู จะใช้หัวกริชนกพังกะรูปแบบตามืองง จุดเด่นของกริชรามันห์อยู่ที่ด้ามกริชหรือหัวกริช ซึ่งเป็นรูปนก ปัจจุบันถือเป็นศาสตราภรณ์ และศาสตราวุธที่สวมใส่และใช้ในวันสำคัญ

แรงบันดาลใจ

แรงบันดาลใจจากการทำกริช กริชเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความสำคัญทางด้านวัฒนธรรมและมีความเชื่อ ซึ่งเป็นของโบราณ นับวันมีผู้คนต้องการมากขึ้น แต่มีจำนวนจำกัด ฉะนั้น จำเป็นต้องมีของใหม่ขึ้น จึงมีการเลียนแบบเพื่อทดแทนของเก่าทำให้เกิดการรวมกลุ่มทำกริชขึ้นมา

จุดเด่นผลิตภัณฑ์

"หัวกริช" เป็นรูปนกพังกะ ส่วนเล่มกริช เป็นรูปแบบศิลปะปัตตานี หรือที่เรียกกันว่า กริชตายง โดยแกะสลักหัวกริชเป็นรูปนกปือกา หรือนกพังงะ เป็นนกในวรรณคดีท้องถิ่น ที่มีความหมายว่า ผู้คุ้มครอง เป็นนกที่มีลำตัวสีเขียว ปากยาวมีสีแดงอมเหลือง คอมีสีขาวสลับสีแดง กริชรามันจึงเป็นรูปนกแทบทั้งสิ้น นอกจากนั้นความแข็งแกร่งยังเป็นจุดเด่นอีกประการ ของกริชรามันห์ ซึ่งได้รับการยอมรับในกลุ่มคนทำกริช หรือกลุ่มผู้นิยมกริชทั่วโลกว่ามีความแข็งแกร่ง ของกริช สามารถแทงโอ่งน้ำให้แตกได้ เพราะกริชมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษได้ เนื่องจากเป็นกริชชนิดเดียวที่มีสันตรงกลางใบกริช เพราะมีสูตรการผสมเนื้อเหล็ก ที่เน้นความแข็งแกร็งเป็นพิเศษ

วัสดุส่วนประกอบในการผลิต

กระบวนการผลิต

การทำใบกริช

การทำหัวกริช

การทำฝักกริช

รายละเอียดผลิตภัณฑ์

การรำกริช

ศิลปการรำกริชตำบลตะโละหาลอ ถูกประยุกต์มาจากวิทนายุทธ์ในการร่ายรำของช่างตีกริชในสมัยโบราณ เพื่อทดสอบความคล่องตัวในการใช้ นอกจากนั้นการรำกริชยังถือเป็นการออกกำลังกายผ่อนคลาย ความเมื่อยล้าจากการทำกริชอีกด้วย เนื่องจากการแกะสลักหัวกริช ซึ่งเป็นงานฝีมือที่ต้องอาศัยความละเอียดปราณีตสูง ช่างทำกริชจะต้องนั่งใช้สมาธิและใช้กำลังข้อมือเป็นเวลานาน การรำกริชจึงถือเป็นการช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดีจากท่วงท่าดังกล่าว การรำกริชได่ถูกนำมาใช้แสดงเป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า หรือที่เรียกว่า "ซิละ" โดยมีต้นกำเนิด มาจากชวาซึ่งแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ซิละกายง ซิละดารี และซิละยาโด๊ะ

ซิละกายง ซึ่งเป็นซิละที่เน้นแสดงการต่อสู้กันด้วยกริช ประกอบท่ารำ หรือเป็นการอวดลีลากระบวนการต่อสู้

ซิละดารี เป็นการแสดงลีลาการร่ายรำในการต่อสู้ ส่วนมากใช้แสดงเฉพาะหน้า เจ้าเมืองหรือเจ้านายชนชั้นสูง

และซิละยาโด๊ะ เป็นการแข่งขันที่มีกฎกติกา มีการตัดสินให้มีการแพ้/ชนะเป็นการแสดงการต่อสู้กันด้วยกริช ประกอบท่ารำ หรือเป็นการอวดลีลา กระบวนการต่อสู้ ใช้แสดงเฉพาะหน้าเจ้าเมืองหรือเจ้านายชนชั้นสูง

ฐานข้อมูล "ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทย (cpot) และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย (ccpot) จังหวัดยะลา โดยโครงการสหกิจศึกศาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา

ช่องการติดต่อหน่วยงาน

website : https://yala.m-culture.go.th/th

facebook : สนง.วัฒนธรรม จังหวัดยะลา