วิทยาการคำนวณ ม.2
วิทยาการคำนวณ ม.2
หน่วยที่ 3 ระบบคอมพิวเตอร์
3.3 เทคโนโลยีการสื่อสาร
1. มาตรฐาน/ตัวชี้วัด
1.1 ตัวชี้วัด
ว 4.2 ม.2/3 อภิปรายองค์ประกอบและหลักการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อประยุกต์ใช้งานหรือแก้ปัญหาเบื้องต้น
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายองค์ประกอบของการสื่อสารได้ถูกต้อง (K)
2. อธิบายสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
3. อธิบายทิศทางในการสื่อสารข้อมูลได้ถูกต้อง (K)
4. สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีการสื่อสารได้ถูกต้อง (P)
5. สนใจใฝ่เรียนรู้ในการศึกษา (A)
สาระสำคัญ
ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากขึ้น ซึ่งองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลจะประกอบไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ผู้ส่งสาร สื่อกลาง ผู้รับสาร และโปรโตคอล นอกจากนั้นสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สื่อกลางประเภทสายสัญญาณและสื่อกลางประเภทไร้สาย สำหรับระบบเครือข่ายในปัจจุบันจะแบ่งเป็น เครือข่ายส่วนบุคคล เครือข่ายท้องถิ่น เครือข่ายระดับเมือง และเครือข่ายระดับประเทศ
3.3.1 องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
1. ข้อมูลข่าวสาร (message) หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้ ความคิด ความต้องการ อารมณ์ ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับรู้ และแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันได้
2. ผู้ส่งสาร (sender) หรือ แหล่งสาร (source) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร หรือเป็นแหล่งกำเนิดสาร ที่เป็นผู้เริ่มต้นส่งสารด้วยการแปลสารนั้นให้อยู่ในรูปของสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นแทนความคิด
3. สื่อกลาง (Medium) หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
4. ผู้รับสาร (receiver) หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร จากผู้ส่งสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับ (Feedback) ต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ ตามจุดมุ่งหมายของผู้ส่งสาร
5. โปรโตคอล(Protocol) หมายถึง ข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็น ภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกัน การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้
3.3.2 พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลก นับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่ตั้งแต่โบราณนั้น ก็เริ่มมีการสื่อสารเกิดขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารก่อนที่จะมาถึงปัจจุบันนั้น ย่อมมีพัฒนาการมายาวนาน ก่อนที่จะมียุคของการสื่อสารนั้น ยุคโบราณเป็นยุคที่มนุษย์มีการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกันอย่างจำกัด แต่ได้ผลดีเพราะมีคนจำนวนน้อยการสื่อสารจึงไม่ซับซ้อน ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันด้วยการใช้ท่าทาง หรือแม้กระทั่งการใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น การวาดภาพตามผนังถ้ำมากกว่าการใช้ภาษาในการสื่อสารซึ่งกันและกัน การสื่อสารในยุคนี้เป็นการสื่อสารกลุ่มย่อยเท่านั้น เชื่อว่ายังไม่มีการสื่อสารแบบมวลชนเกิดขึ้น ดังนั้นจึงสามารถแบ่งการสื่อสารออกได้เป็น 3 ยุค ดังนี้
1. การสื่อสารยุคโบราณ เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้ในอดีต ซึ่งปัจจุบันไม่มีการสื่อสารด้วยวิธีนี้ หรือไม่นิยมใช้การสื่อสารประเภทนี้แล้ว การสื่อสารในยุคโบราณจะกระทำเพื่อตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ ใช้ถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่มีความสลับซับซ้อน และตัวกลางที่ใช้มักจะมีประสิทธิภาพน้อย และไม่มีความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสาร ตัวอย่างการสื่อสารในยุคโบราณ เช่น
- ภาพบนผนังถ้ำ
เป็นการสื่อสารของบุคคลสมัยโบราณเพื่อบอกเล่าวิถีชีวิตของตนเอง ด้วยการใช้สีธรรมชาติหรือก้อนหินขีดเขียนและวาดภาพต่าง ๆ ไว้บนผนังถ้ำหรือก้อนหิน การวาดภาพบนผนังถ้ำจัดเป็นการสื่อสารรูปแบบแรกของมนุษย์ ที่ยังมีหลักฐานปรากฏให้เห็นได้ในปัจจุบัน
- ควันไฟ
เป็นการสื่อสารโดยใช้กลุ่มของควันไฟแทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่อสื่อสารไปยังผู้รับสาร โดยผู้ส่งสารจะต้องก่อกองไฟในที่สูงเพื่อให้ผู้รับสารสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล การสื่อสารประเภทนี้มีความผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากควันไฟอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพอากาศ ทำให้เกิดการตีความหรือแปลสัญลักษณ์นั้น ๆ ผิดพลาดได้ และทุกคนสามารถมองเห็นควันไฟจากผู้ส่งสารได้ จึงไม่สามารถเก็บความลับของข้อมูลจากบุคคลอื่น ๆ ที่รู้รหัสหรือสัญลักษณ์นั้นได้
- วิ่งผลัด
เป็นการสื่อสารโดยใช้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลส่งต่อข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของสารต่อกันไปเรื่อย ๆ จนถึงปลายทาง คล้ายลักษณะของการวิ่งผลัด ทำให้สามารถสื่อสารได้สะดวกและส่งข้อมูลถึงผู้รับสารได้มีประสิทธิภาพมากกว่าการใช้ควันไฟ แต่มักมีปัญหาเรื่องความลับของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสาร
- นกพิราบสื่อสาร
ป็นการสื่อสารโดยใช้สัตว์เป็นตัวกลางหลักในการสื่อสาร โดยใช้ธรรมชาติในการรู้ทิศทางของนกพิราบที่จะเดินทางกลับรังหรือที่อยู่ของมันได้ไม่ว่าจะถูกส่งมาจากที่ใด จึงมีการผูกข้อความหรือข้อมูลสั้น ๆ ที่ขาหรือแขวนที่คอของนกพิราบ แล้วให้ผู้รับสารรอรับสารได้จากรังหรือที่อยู่ของนกพิราบ การสื่อสารด้วยการใช้นกพิราบสามารถรักษาความลับของข้อมูลได้เป็นอย่างดี แต่ไม่สามารถกำหนดระยะเวลาในการสื่อสารได้อย่างแน่นอน และไม่สามารถส่งข้อมูลหรือข้อความในปริมาณมาก ๆ ได้ ปัจจุบันมีการใช้นกพิราบสื่อสารเพื่อการแข่งขันมากกว่าการใช้เพื่อส่งข้อมูลหรือสื่อสารในชีวิตประจำวัน
- ม้าเร็ว
เป็นการสื่อสารโดยใช้มนุษย์และสัตว์เป็นสื่อกลางในการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพมากกว่าการวิ่งผลัด เนื่องจากประสิทธิภาพของการสื่อสารขึ้นอยู่กับบุคคลที่บังคับม้าและม้าเป็นหลัก ทำให้สามารถสื่อสารหรือส่งข้อมูลได้รวดเร็ว รักษาความลับของข้อมูลและส่งข้อมูลไปยังผู้รับสารได้ถูกต้องกว่าการสื่อสารด้วยการวิ่งผลัด
2. การสื่อสารยุคอุตสาหกรรม เป็นการสื่อสารที่ยังนิยมใช้ในปัจจุบัน แต่มีแนวโน้มที่จะเลิกใช้ในอนาคต เนื่องจากมีเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการสื่อสารใหม่ ๆ เข้ามาแทนที่ การสื่อสารยุคอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นประสิทธิภาพมากกว่าการสื่อสารยุคโบราณ ตัวอย่างการสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม เช่น
- โทรศัพท์หรือเทเลโฟน (Telephone)
เป็นการสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน แต่สามารถรับและส่งข้อมูลได้ในรูปแบบเสียงเท่านั้น โดยผู้สื่อสารทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโทรศัพท์เพื่อใช้ในการสื่อสาร เวลาสื่อสารจะเป็นเวลาจริงในช่วงนั้น ๆ (Real Time) หากผู้รับข้อมูลไม่อยู่หรือมีความผิดพลาดด้านเวลาก็จะทำให้การสื่อสารไม่สามารถทำได้ โทรศัพท์มีพัฒนาการต่อเนื่องและยาวนานโดยเป็นพื้นฐานของการพัฒนาโทรศัพท์แบบไร้สายหรือโทรศัพท์แบบพกพา การใช้โทรศัพท์จะต้องติดตั้งเครื่องรับ เครื่องส่ง และสายโทรศัพท์ในพื้นที่ที่ให้บริการหรือมีสายโทรศัพท์จากหน่วยงานที่ให้บริการเท่านั้น จึงนิยมติดตั้งในที่อยู่อาศัย สำนักงาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารมากนัก โทรศัพท์ประเภทนี้จะใช้ระบบการทำงานแบบ แอนะล็อก (Analog) โดยใช้สายโทรศัพท์เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูล
- โทรสารหรือแฟกซ์ (Fax)
พัฒนามาจากการสื่อสารประเภทโทรศัพท์ เพื่อให้สามารถส่งข้อมูลในรูปแบบตัวอักษรหรือข้อความไปยังผู้รับสารได้มากกว่าข้อมูลเสียงเพียงอย่างเดียว มีลักษณะการใช้งานเหมือนโทรศัพท์ ในการส่งข้อมูลด้วยโทรสารผู้ส่งสารและผู้รับสารจะต้องเปิดใช้เครื่องโทรสารจึงจะสามารถส่งข้อมูลได้ และไม่สามารถส่งข้อมูลเอกสารผ่านโทรสารได้พร้อมกับการส่งข้อมูลเสียง การสื่อสารด้วยโทรสารนี้ ข้อมูลต้นฉบับจะยังคงอยู่ที่ผู้ส่งสาร โดยผู้รับสารจะต้องมีกระดาษสำหรับคัดลอกข้อมูลที่ส่งไปยังปลายทาง
- จดหมายและพัสดุ (Letter and Inventories)
เป็นการสื่อสารในรูปแบบดั้งเดิมโดยใช้บริการในการส่งจดหมายและพัสดุจากหน่วยงานให้บริการการสื่อสาร คิดอัตราค่าบริการตามน้ำหนักและระยะทางในการส่งจดหมายและพัสดุ ซึ่งการสื่อสารด้วยวิธีการนี้ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือกว่าการสื่อสารในรูปแบบอื่น สามารถกำหนดระยะเวลาในการสื่อสารได้แน่นอน และสามารถส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ส่งข้อมูลได้ทุกรูปแบบ และมีพื้นที่ให้บริการทั่วโลก
3. การสื่อสารในยุคปัจจุบันหรือการสื่อสารยุคโลกไร้สาย เป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายของผู้ใช้และประสิทธิภาพของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารเป็นหลัก ผู้สื่อสารจะต้องมีความรู้ด้านเทคโนโลยีเป็นอย่างดี จึงจะสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ไวไฟ (Wi-Fi)
เป็นระบบเชื่อต่ออุปกรณ์ที่ทำงานบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไร้สาย (Wireless LAN) โดยใช้คลื่นสัญญาณวิทยุทำให้สามารถติดต่อสื่อสารข้อมูลได้ระหว่างอุปกรณ์นั้น ๆ ปัจจุบันนิยมติดตั้งอุปกรณ์รับและส่งสัญญาณ ไวไฟในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อให้สามารถค้นหาสัญญาณไวไฟที่ส่งมาจากคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้คอมพิวเตอร์แบบพกพานั้นสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ด้วย ผู้ใช้ไวไฟสามารถติดต่อสื่อสารได้ด้วยข้อมูลทุกรูปแบบที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ข้อมูลแต่จะมีความเร็วในการสื่อสารน้อยกว่าการสื่อสารในระบบเครือข่ายที่ใช้สายรับและส่งสัญญาณ
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล (Electronic Mail หรือ E-Mail)
เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อความในรูปของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น การสื่อสารนี้ผู้ใช้จะต้องมีที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้รับหรืออีเมลแอดเดรส (E-Mail Address) เช่น banana123@yahoo.com ผู้ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งข้อมูลเวลาใดก็ได้ เนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปจะฝากไว้บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบและเรียกใช้บริการก็จะได้รับข้อความโดยไม่ต้องรอให้เวลาตรงกัน นอกจากนี้ยังสามารถส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบในปริมาณที่มากกว่าการส่งข้อความผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Short Message) และสามารถส่งข้อมูลไปยังผู้รับหลาย ๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน
- บลูทูท (Bluetooth)
เป็นระบบเชื่อมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้น ๆ โดยอาศัยคลื่นความถี่หรือสัญญาณวิทยุ ตัวอย่างการเชื่อมต่อบลูทูท เช่น การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์แบบพกพากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ การเชื่อต่อระหว่างโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสมอลล์ทอล์ก (Small talk) บลูทูทสามารถเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลได้ในระยะทางใกล้ ๆ ไม่เกิน 10 เมตร ทำให้ต้องสื่อสารข้อมูลในระยะทางใกล้กว่าการสื่อสารด้วยไวไฟ นอกจากนี้บลูทูทยังมีประสิทธิภาพด้านความเร็วในการสื่อสารน้อยกว่าไวไฟอีกด้วย
- การสนทนาออนไลน์หรือแชท (Chat)
เป็นการสนทนาระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจุบันสามารถพัฒนาให้ใช้ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ แทนภาพผู้สื่อสารได้ นอกจากการสนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลที่มีลักษณะเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ได้อีกด้วย การสนทนาแบบนี้เป็นการสนทนาแบบโต้ตอบในเวลาเดียวกัน ดังนั้นผู้สื่อสารจึงต้องออนไลน์พร้อมกัน การสนทนาออนไลน์ในบางโปรแกรมจะมีการแบ่งการสนทนาออกเป็นห้อง ๆ หรือเป็นกลุ่มสนทนา โดยผู้ใช้ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีโปรแกรมสำหรับใช้สนทนา
- วีดีโอทางไกล (Video Conferencing)
เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปสู่อีกฝ่ายหนึ่ง การใช้วิดีโอทางไกลต้องมีอุปกรณ์สำหรับบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นสามารถแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ ปัจจุบันหลายหน่วยงานนำวิธีสื่อสารแบบวิดีโอทางไกลมาใช้เพื่อการประชุมมากขึ้น เพราะช่วยให้หน่วยงานประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ตัวอย่างการใช้ประโยชน์วิดีโอทางไกล เช่น การนำวิดีโอทางไกลมาใช้ทางการศึกษา ทำให้นักเรียนสามารถรับฟังการบรรยายจากอาจารย์ซึ่งอยู่อีกที่หนึ่งได้โดยไม่ต้องเดินทางไปเรียนด้วยตนเอง และยังสามารถโต้ตอบระหว่างคู่สนทนาได้ เนื่องจากมีกล้องดิจิทัล ไมโครโฟน และลำโพง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นและได้ยินเสียงซึ่งกันและกัน
3.3.3 ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร โดยผ่านตัวกลางสามารถจำแนกทิศทางการสื่อสารออกเป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
ทิศทางเดียว (Simplex) เป็นทิศทางการสื่อสารที่ข้อมูลจะส่งจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง โดยที่ข้อมูลจะไม่สามารถส่งย้อนกลับมาได้ เช่น วิทยุฟังเพลง
ข้อดีคือ ไม่มีข้อจำกัดทางด้านเวลา
แต่ผลเสียคือ ผู้รับข้อมูลอาจ ไม่ได้รับข้อมูลที่ส่งไป และผู้ส่งข้อมูลจะไม่ทราบว่าผู้รับได้รับหรือไม่ ตัวอย่างการสื่อสารข้อมูลทิศทางเดียว เช่น การฟังวิทยุ การดูโทรทัศน์ และการฟังเสียงประกาศ
2. กึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) เป็นทิศทางการสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลไปและรับสองทิศทางได้ แต่ไม่สามารถส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้ ขณะที่เครื่องหนึ่งเป็นผู้รับอีกเครื่องจะเป็นผู้ส่ง การสื่อสารข้อมูลประเภทนี้ นิยมใช้ในเฉพาะกลุ่ม ได้แก่วิทยุสื่อสาร (Radio Communication)
3.3.4 สื่อกลางของการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบเครือข่าย
การสื่อสารทุกชนิดจะต้องอาศัยสื่อกลางในการสื่อสารเพื่อทำหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากผู้ส่งไปยังผู้รับ ซึ่งสื่อกลางของการสื่อสารข้อมูล สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
สายคู่บิดเกลียว (Twisted Pair) มีลักษณะเป็นสายส่งสัญญาณทองแดงถูกจับพันกันเป็นเกลียวตามมาตรฐานจำนวน 4 ฉู่สาย เพื่อช่วยลดการรบกวนของดลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ทั้งจากภายในสายและภายนอกสาย ซึ่งสายคู่บิดเกลียวมี 2 ประเภท ได้แก่ สายคู่บิดเกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม (Shielded Twisted Pair: STP)และสายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้ม (Unshielded Twisted Pair: UTP) ในปัจจุบันการติดตั้งสายสัญญาณนเทอร์เน็ตภายในอาคารบ้านเรือนนิยมใช้สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีฉนวนหุ้มเป็นหลัก เพราะมีราคาถูกกว่าสายบิด-เกลียวแบบมีฉนวนหุ้ม
เป็นสายนำสัญญาณที่รู้จักกันดี โดยใช้เป็นสายนำสัญญาณที่ต่อจากเสาอากาศเครื่องรับโทรทัศน์หรือสายเคเบิลทีวี ตัวสายประกอบด้วยลวดทองแดงที่เป็นแกนหลักหนึ่งเส้นหุ้มด้วยฉนวน เพื่อป้องกันกระแสไฟรั่ว จากนั้นจะหุ้มด้วยตัวนำซึ่งทำจากทองแดงถักเป็นร่างแห เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสัญญาณรบกวนอื่น ๆ ก่อนหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวนพลาสติก และนิยมใช้เป็นสายนำสัญญาณแอนะล็อก เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์ภาพและเสียง (audio-video devices)ต่าง ๆ ภายในบ้านและสำนักงาน
1.3 สายไฟเบอร์ออฟติก (fiber – optic cable)
ประกอบด้วย กลุ่มของเส้นใยทำจากแก้ว หรือพลาสติก ที่มีขนาดเล็กประมาณเส้นผม แต่ละเส้นจะมีแกนกลาง (core) ที่ถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุใยแก้วอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า แคล็ดดิง (cladding) และหุ้มอีกชั้นด้วยฉนวนเพื่อป้องกันการกระแทกและฉีกขาดการส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้
ประเภทที่ 2 สื่อกลางประเภทไร้สาย
1. อินฟาเรด (Infrared) สื่อกลางประเภทนี้มักใช้กับการสื่อสารข้อมูลที่ไม่มีสิ่งกีดขวางระหว่างตัวส่ง และตัวรับสัญญาณ เช่น การส่งสัญญาณจากรีโมตคอนโทรลไปยังเครื่องรับโทรทัศน์หรือวิทยุ
คลื่นวิทยุ (Radio Wave) เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่าง ๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ (Wi-Fi) และบลูทูท (Bluetooth)
ไมโครเวฟ (Microwave) เป็นสื่อกลางในการสื่อสารทีมีความเร็วสูง ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล โดยการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าไปในอากาศ พร้อมกับข้อมูลที่ต้องการส่ง และต้องมีสถานีที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูล และเนื่องจากสัญญาณไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ จึงต้องมีการตั้งสถานีรับส่งข้อมูลเป็นระยะ และส่งข้อมูลต่อกัน ระหว่างสถานีจนกว่าจะถึงสถานีปลายทางและแต่ละสถานีจะตั้งอยู่บนที่สูง เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง การส่งข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้เหมาะกับการส่งข้อมูลในพื้นที่ห่างไกลมาก ๆ สามารถวางห่างกันได้ถึง 80 กิโลเมตร ตัวอย่างการส่งสัญญาณไมโครเวฟผ่านพื้นผิวดิน
ดาวเทียมสื่อสาร พัฒนาขึ้นมาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อจำกัดของสถานีรับส่งไมโครเวฟบนผิวโลกโดยเป็นสถานีรับส่งสัญญาณไมโครเวฟบนอวกาศ ในการส่งสัญญาณต้องมีสถานีภาคพื้นดิน คอยทำหน้าที่ รับส่งสัญญาณ ขึ้นไปบนดาวเทียมที่โคจร อยู่สูงจากพื้นโลกประมาณ 35,600 กิโลเมตร
ประเภทระบบเครือข่าย
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ( computer network ) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ
2. เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network: LAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายที่พักอาศัย ( home network )
3. เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network: MAN)
เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ เครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส ( Campus Area Network: CAN ) ซึ่งถือว่าเป็นระบบเครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อกันในระหว่างที่กว้างใหญ่ ครอบคลุมระยะทางเป็น 100 กิโลเมตร ที่มีการติดต่อกันในระยะที่ไกลกว่าระบบแลนและใกล้กว่าระบบแวน เป็นการติดต่อระหว่างเมือง เช่น กรุงเทพฯ กับเชียงใหม่ เชียงใหม่กับยะลาหรือเป็นการติดต่อระหว่างรัฐ โดยมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Ring
4. เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network: WAN)
เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระยะไกล ซึ่งมีอยู่ทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยอุปกรณ์แปลงสัญญาณ เช่น โมเด็ม ช่วยในการติดต่อสื่อสารหรือสามารถนำเครือข่ายท้องถิ่นมาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายระยะไกล เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เครือข่ายระบบธนาคารทั่วโลก หรือเครือข่ายของสายการบิน เป็นต้น