บทที่1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

แมลงสาบเป็นแมลงศัตรูสำคัญที่พบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน ท่อระบายน้ำ โรงอาหาร โรงเรือน คอกสัตว์ ร้านอาหาร ฯลฯ จัดเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ โดยเป็นแมลงที่ก่อให้เกิดความรำคาญ และเป็นแมลงที่นำโรคต่างๆ มาสู่มนุษย์ได้หลายชนิด เช่น อาหารเป็นพิษ บิด ท้องร่วง ท้องเสีย กระเพาะอาหารอักเสบ ไทฟอยด์ โรคผิวหนัง โรคระบบทางเดินหายใจ โรคเยื่อจมูกอักเสบ ไอจาม ผิวหนังผื่นแดง โรคภูมิแพ้ เป็นต้น

สำหรับการป้องกันกำจัดแมลงสาบนั้น ผู้คนส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นการกำจัดโดยใช้สารเคมี เพราะเป็นวิธีการที่ง่าย และสะดวกในการป้องกันกำจัด แต่วิธีนี้ก็จัดเป็นอันตรายต่อตัวผู้ใช้เอง ซึ่งหากผู้ใช้ได้รับสารเคมีเข้าไปในร่างกายมากๆ ก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อรางกาย โดยทำให้เกิดอาการแพ้สารเคมี เบื่ออาหาร อาการคลื่นไส้ หอบหืด มีผลต่อระบบหายใจ และสมอง ผิวหนังอักเสบ นอกจากนี้ หากมีการใช้สารเคมี ตัวใดตัวหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เป็นระยะเวลาติดต่อกันนานๆ จะทำให้แมลงสาบสามารถสร้างความต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้ได้

จากปัญหาดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงมีความสนใจที่จะศึกษา สมุนไพรพื้นบ้านกำจัดแมลงสาบ ซึ่งวิธีการนี้จัดเป็นวิธีการที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ไม่เป็นพิษต่อมนุษย์ และไม่มีสารพิษตกค้างในธรรมชาติ

1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน

  1. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสมุนไพร ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม และใบชะอม ในการกำจัด
    แมลงสาบ

  2. ศึกษาถึงประโยชน์ของการใช้สมุนไพรในการกำจัดแมลง

1.3 สมมติฐานของโครงงาน

สมุนไพรไทย ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม และใบชะอม สามารถกำจัดแมลงสาบได้ แต่สมุนไพรแต่ละชนิมีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงสาบไม่เท่ากัน

1.4 กรอบแนวคิดการทดลอง

ตัวแปรต้น ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม ใบชะอม

ตัวแปรตาม ประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงสาบ

ตัวแปรควบคุม ชนิดของแมลงสาบ ปริมาณของสมุนไพรที่ใช้ ระยะเวลา สถานที่ จำนวนแมลงสาบ

1.5 ขอบเขตของการทำโครงงาน

1.5.1 สมุนไพรที่ใช้ในการศึกษามี 3 ชนิด คือใบชะอม ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม

1.5.2 ใช้เฉพาะแมลงสาบเป็นตัวทดลอง

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.6.1 ทราบถึงประสิทธิภาพของสมุนไพร ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม และใบชะอม ในการกำจัดแมลงสา

1.6.2 ทราบถึงชนิดของสมุนไพร ใบมะกรูด ใบตะไคร้หอม และใบชะอม ว่าชนิดใดกำจัดแมลงสาบได้ดีกว่ากัน

1.6.3 ทราบถึงประโยชน์ของการใช้สมุนไพรในการกำจัดแมลง

1.7 นิยามศัพท์เฉพาะ

สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ ทำเป็นเครื่องยา สมุนไพรกำเนิดมาจากธรรมชาติและมีความหมายต่อชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะ ในทางสุขภาพ อันหมายถึงทั้งการส่งเสริมสุขภาพและการรักษาโรค ความหมายของยาสมุนไพรในพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ได้ระบุว่า ยาสมุนไพร หมายความว่า ยาที่ได้จาก พฤกษาชาติสัตว์หรือแร่ธาตุ ซึ่งมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ เช่น พืชก็ยังเป็นส่วนของราก ลำต้น ใบ ดอก ผลฯลฯ ซึ่งมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใด ๆ แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถูกหั่นให้เป็นชิ้นเล็กลง บดเป็นผงละเอียด หรืออัดเป็นแท่งแต่ในความรู้สึกของคนทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสมุนไพร มักนึกถึงเฉพาะต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นยาเท่านั้น

กำจัด หมายถึง ขับไล่ ปราบ ทำให้สิ้นไป