ศิลปะ วัฒนธรรม ประพณี
ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
ศิลปะ วัฒนธรรม ประพณี ตำบลชมพูอำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก
"ผ้าไหมเรืองรอง หนองหญ้าปล้องสืบสาน สื่อสาดสรรสร้าง งานช่างแกะสลัก จักสานงานประณีต จิ้งหรีดคู่บ้าน
วัฒนธรรมอีสาน ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง"
บ้านหนองหญ้าปล้อง เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่แยกตัวมาจากบ้านซำรัง พื้นเพของคนที่นี่ส่วนใหญ่มาจากภาคอีสาน ดังนั้นประเพณี วัฒนธรรม ภาษาก็ยังคงสืบสานมาจนทุกวันนี้ เสน่ห์และความโดดเด่นของบ้านหนองหญ้าปล้อง คือชุมชนน่ารัก อบอุ่นเป็นมิตร หมู่บ้านเล็กแต่มีกิจกรรมที่โดดเด่นมากๆ
ผ้าไหมของยายเฮียงและยายโฮม มีลวดลายมากมายให้ท่านเลือกชม มีผ้าไหมแท้ ไหมประดิษฐ์ ผ้าฝ้าย จะเป็นเสื้อ ผ้าถุง ผ้าคลุมไหล่ ผ้าขาวม้า ที่นี่มีหมด งานประณีตคุณภาพดีมากๆ
เสื่อกก
ที่นี่มีการทอเสื่อกกไว้ให้นักท่องเที่ยวมาซื้อมาชมด้วยครับ และยังแปรรูปจากเสื่อกกมาเป็นปลอกหมอนเสื่อกกอีกด้วย
แกะสลัก
ที่นี่มีช่างแกะสลักฝีมือดี ที่ผมเห็นแล้วน่าแระทับใจที่สุด ไม่อยากเชื่อว่าบ้านเรามีคนเก่งแบบนี้ด้วย
ปั้นโอ่ง
ที่นี่มีช่างแั้นโอ่ง ปั้นอ่างเลี้ยงปลา ปั้นได้ทุกอย่างที่ท่านสั่ง ที่สำคัญราคาไม่แพงครับ
จิ้งหรีด
มีการเพาะพันธุ์เลี้ยงจิ้งหรีดไว้จำหน่ายด้วย
อาหารคาว-หวานพื้นถิ่นของชุมชนได้แก่
-ต่อนใต้น้ำ
-อ่อมไก่อีสาน
-ลาบปลาดุก
-น้ำพริกจิ้งหรีด
-ต้มเฉยเมย
-ขนมฝักบัว
-ต้มถั่วธัญพืช
-ข้าวเขิบ
-ข้าวตอกแตก
-ขนมห่อหมกหยกมณี เป็นต้น
สำหรับประวัติเจ้าวังตะกูโดยสังเขป เจ้าพ่อวังตะกูเดิมประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าพ่อแก้ว เนื่องจากตำบลวังตะกูแยกหมู่บ้านออกมาจากตัวอำเภอและเป็นตำบลใหม่มีประชากรในชุมชนเย๊อะ และประชาชนบาง่คนเป็นคนเชื้อสายจีนจึงได้ก่อตั้งศาลเจ้สพ่อวังตะกูที่ตำบลวังตะกู อัญเชิญจากศาลเจ้าาพ่อแก้วในตัวอำเภอบางมูลนาก และตั้งได้ใช้ชื่อว่า เจ้าพ่อวังตะกู เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจคนตำบลวังตะกู และยังปกป้องคุ่มครองดดูแลลูกหลานชาววังตะกูใหอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป ตามความเชื่อของคนจีนในสมัยโบราณ หลังจากนั้นชาวตำบลวังตะกูก็ได้ทำพิธีกรรมบวงสรวงเจ้าพ่อสืบต่อกันมา ที่หลายคนรู้จักกันดีว่า “งานเจ้าพ่อวังตะกู” เดิมเจ้าพ่อแก้ว ซึ่งคุณเผ่าพงษ์ สมนิล ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอบางมูลนาก ได้เรียบเรียงไว้ในหนังสือ “เจ้าพ่อแก้วบางมูลนาก” และคำบอกเล่าของผู้อาวุโสชาวบางมูลนากอีกหลายท่านดังนี้ จากประจักษ์พยานบุคคล คือ นายแก้ว แสงอินทร์ ได้เล่าให้ฟังว่า บิดาคือ นายห้อย แซ่ลี้ เจ้าของร้านลี้เต็กเส็ง อาชีพตีเหล็ก เป็นผู้พบเจ้าพ่อแก้วซึ่งแกะสลักด้วยไม้ลอยมาในแม่น้ำน่าน จึงได้นำขึ้นไว้ในศาล ศาลในสมัยแรก ๆ ก็ไม่ได้เป้นอย่างทุกวันนี้ เป็นเพียงศาลไม้เล็กๆ โกโรโกโส ขณะนั้นนายแก้วมีอายุราว 7 – 8 ขวบ ต่อมาอาแป๊ะห้อยได้นำรูปแกะสลักเจ้าพ่อลงไปวัด เล่งเน่ยยี่ (วัดมังกรกมลาวาส) กรุงเทพฯ เพื่อให้ช่างตกแต่งรูปเจ้าพ่อให้ดูเรียบร้อยสวยงามกว่าเดิม ใช้เวลาราว 3 เดือน จึงแล้วเสร็จ หลังจากทำพิธีกรรมแล้ว จึงได้เชิญเจ้าพ่อแก้วกลับมาประดิษฐานไว้ ณ ที่ศาลเดิม จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่า ซึ่งเป็นอาแป๊ะชราอีกคนหนึ่ง ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว มีนามว่า “อาแป๊ะหยู” เมื่ออายุท่านได้ 85 ปี (พ.ศ.2538) ได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า เจ้าพ่อซึ่งประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าริมแม่น้ำน่านฝั่งตรงข้ามวัดบางมูลนากนั้น แต่เดิมยังไม่มีใครรู้จักชื่อ ชาวจีนในตลาดก็ได้แต่บวงสรวงกราบไหว้กันตามประเพณีเรื่อยมา จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 ได้มีอาซิ้มชราคนหนึ่งมาจอดเรือตรงท่าหน้าศาลเจ้า เจ้าได้เข้าประทับทรง และได้บอกว่าท่านั้นมีชื่อเป็นภาษาจีน ซึ่งมีความหมายว่า “แก้ว” ตั้งแต่นั้นมาคนทั้งหลายจึงได้เรียนขานนามท่านว่า “เจ้าพ่อแก้ว”
ขั้นนตอนในการจัดงาน รูปแบบของงาน พิธี
การดําเนินงานจัดงานเจ้าพ่อวังตะกูนั้น จะทําบุญในรูปคณะกรรมการ ซึ่งได้รับการคัดเลือกจากองค์เจ้าพ่อวังตะกู และจะอยู่ในตําแหน่งได้ตลอดระยะเวลา ๑ ปีเต็ม
วิธีการคัดเลือกกรรมการ หรือ “เท่านั้ง” นี้ จะกระทํากันที่ศาลเจ้า ชั่วคราว บริเวณที่จัดงานวันเกิดเจ้าพ่อ และจะคัดเลือกในวันกินเลี้ยง หรือ “กินโต๊ะเจ้า” นั้นเอง วิธีการคัดเลือกจะทําดังนี้คือ มีเจ้าหน้าที่เขียนชื่อ ที่อยู่ อาชีพของบุคคลใน ตลาดที่บริจาคเงินช่วยงาน ใส่กระดาษแล้วม้วนใส่รวมกันไว้ จากนั้นก็จะล้วงชื่อขึ้นมาวาง ไว้ในจานทีละคน เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งจะเสี่ยงทายด้วยไม้ “ปัวะปวย” หรือ “ไม้ปวย” ซึ่งเป็นไม้ ๒ อันประกบกันมีลักษณะคล้ายมะม่วงหิมพานต์ผ่าซีก แต่ใหญ่ กว่า วิธีเสี่ยงทายจะทําถึง ๓ ครั้งคือ
- ครั้งแรก และครั้งที่สอง เมื่อโยนแล้ว ไม้จะต้องคว่ำอันหงายอัน
- ครั้งที่สาม เมื่อโยนแล้ว ไม้จะต้องคว่ำทั้งคู่ บุคคลผู้นั้นจึงจะได้เป็น “เท่านั้ง” เท่านั้งนี้เป็นได้ทั้งชายและหญิง ถ้าเสี่ยงทายไม่เป็นไปตามนี้ ผู้นั้นก็หมดสิทธิ์เป็นเท่านั้ง ต้องจัดชื่อ คนอื่นต่อไป จนกระทั่งได้ครบ ๒๐ คนแล้วพอ เท่านั้ง ทั้ง ๒๐ คน นี้จะหมดสิทธิ์ไม่ได้รับการจัดชื่อขึ้นมาเสี่ยงทายติดต่อกันไป ๓ ปี พ้น ๓ ปีแล้วจึงจะมีสิทธิ์ใหม่
“เท่านั้ง” นี้ถือกันว่าเป็นผู้ได้รับการอนุมัติจากเจ้าพ่อวังตะกู ถือว่าเป็นผู้มี บารมีพอที่จะได้เป็นเจ้าภาพจัดงานให้ ท่านได้ผู้ถูกเลือกถือว่าเป็นเกียรติยศอย่างสูง ซึ่งบางคนแม้ว่าจะร่ำรวย มีฐานะดี บางทีก็ไม่มีโอกาสที่จะได้รับตําแหน่งนี้เลยจนตลอดชีวิต
จัดทำโดย
นางสาววิลาวัณย์ กลิ่นจันทร์
ครู กศน.ชมพู