เส้นทางสู่อาชีพครู
เขียนโดย สมชาย ช่างทอง
https://sites.google.com/view/charngthong
3/7/2566
“ครู” เป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่ได้รับสมญานามว่า “แม่พิมพ์ของชาติ” หลายต่อหลายคนใฝ่ฝันที่จะประกอบอาชีพนี้ โดยเฉพาะข้าราชการครูในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการซึ่งเป็นครูส่วนมาก และยังมีข้าราชการครูในสังกัดหน่วยงานอื่นๆ เช่น กระทรวงมหาดไทย (ครูโรงเรียนเทศบาล ครูองค์การบริหารส่วนจังหวัด) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ครู ต.ช.ด). ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร-เมืองพัทยา เป็นต้น
ตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมสู่มหาวิทยาลัย
นักเรียนมัยมศึกษาตอนปลายหลายคนมีความมุ่งมั่นและใฝ่ฝันที่จะประอาชีพครู เนื่องจากรับรู้ว่าเป็นอาชีพรับราชการที่มีความมั่นคงและมีเกียรติอย่างมากอาชีพหนึ่งในสังคม รวมทั้งเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอด อบรม และสั่งสอนความรู้ต่างๆ ให้แก่เด็กและเยาวชนให้ได้เหมือนกับหรือดีกว่าครูที่สอนตนเองมา ในการคัดเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยนั้นจะมีระบบการคัดเลือกหลายระบบ ได้แก่ ยื่นแฟ้มสะสมงาน โควต้า (ตามภาค โครงการพิเศษ บุตรของบิดามารดาที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับสาขาวิชาที่จะสมัคร บุตรของบิดามารดาผู้เสียสละในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ฯ) ผู้มีความสามารถพิเศษ (ด้านกีฬา ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์ ฯ) ผู้มีความเป็นเลิศด้านวิชาการ (แข่งขันระดับประเทศ นานาชาติ) รับตรง/สอบตรง และสอบผ่านระบบคัดเลือกกลาง ซึ่งจะเริ่มรับสมัครในระบบยื่นแฟ้มสะสมงานเป็นอันดับแรกในเดือนกันยายน (ติดตามประกาศรับสมัครได้ทางเว็บไซต์ต่างๆ) หากเป็นสมัยก่อนเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาเป็นการสอบเข้ามหาวิทยาลัยครั้งเดียวและเลือกคณะ 5 อันดับ ปัจจุบันเปิดโอกาสให้เลือกได้ถึง 10 อันดับ ถ้าเตรียมอ่านหนังสือและทำโจทย์อย่างหนักจะมีโอกาสสูงในการสอบติดคณะ สาขาวิชา และมหาวิทยาลัยที่เลือกไว้ แต่ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงระบบการรับสมัครเข้ามหาวิทยาลัยในหลายรูปแบบ โดยเฉพาะรูปแบบที่จะช่วยให้นักเรียนมีโอกาสสูงได้รับคัดเลือกโดยการยื่นแฟ้มสะสมงานแล้วคัดเลือกสอบสัมภาษณ์ ยื่นแฟ้มสะสมงานแล้วคัดเลือกเข้าสอบคัดกรองเบื้องต้น และสอบสัมภาษณ์ มีพัฒนาการสอบ Admission จนถึงระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai University Central Admission System: TCAS) ใช้คะแนนสอบ เลือกคณะ และเข้าสอบสัมภาษณ์
ในบทความนี้จะขอกล่าวถึงการเตรียมของน้องๆ ว่าความทำอย่างไร และเล่าถึงรุ่นพี่ที่ประสบความสำเร็จในสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนี้
ประเมินความสามารถ ความถนัด และความชอบของตนเอง
นักเรียนต้องรู้แล้วว่าตนเองมีความถนัดและความชอบในสาขาวิชาใดที่โดดเด่นเป็นพิเศษ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกเรียนสาขาที่ตรงกับความถนัดและความชอบของตนเองในระดับมหาวิทยาลัย มีความเชื่อมั่นในเบื้องต้นว่าถ้าเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยแล้วสำเร็จการศึกษาออกมาประกอบอาชีพครูได้ ไม่ใช่เรียนไปเครียดไปเบื่อไป บ่นจะลาออกไม่เรียนแล้วสามเวลาหลังอาหาร !!! เพราะตนเองไม่ถนัดและไม่ชอบแต่ถูกบังคับให้เรียนสายครู พอจบออกมานอนอยู่บ้านเฉยๆ หรือไม่ก็เปิดร้านขายกาแฟ ขายสินค้าออนไลน์ ฯ อย่างนี้เรียกได้ว่า “เรียนไปเสียของ” บางคนอยากเป็นครูสอนคณิตศาสตร์เนื่องจากจากไม่ชอบทำงานในห้องปฏิบัติการ ไม่ชอบใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ แต่คะแนนสอบวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับพอใช้ นักเรียนสามารถเรียนเสริม ฝึกคิด และฝึกทำโจทย์คณิตศาสตร์ในระดับมัธยม แล้วกลับมาประเมินตัวเองว่ายังจะมุ่งในเส้นทางวิชาคณิตศาสตร์ได้ดีไหม ถ้าเห็นว่าพอต่อได้และรู้สึกสนุกกับการเรียนคณิตศาสตร์ สามารถเลือกเรียนสาขานี้ได้ แต่ถ้ารู้สึกไม่ไหวและเครียดทุกครั้งที่ทำโจทย์คณิตศาตสร์ ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปหาสาขาวิชาอื่นๆ เช่น สังคมศึกษา คอมพิมเตอร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น หมั่นหาแรงบันดาลใจจากรุ่นพี่ที่กำลังเรียนในมหาวิทยาลัย รุ่นพี่ที่สำเร็จการศึกษาหรือทำงานแล้ว รวมทั้งปรึกษาครูแนะแนวของโรงเรียน หากมีโอกาสจงพูดคุยกับคุณครูที่สอนในวิชาต่างๆ แต่ไม่ควรถามว่า “หนูควรเรียนต่อมหาวิทยาลัยสาขาวิชาอะไร” เป็นการแสดงให้เห็นว่านักเรียนยังไม่ค้นพบตัวเอง แต่ควรถามว่า “ถ้าเรียนต่อมหาวิทยาลัยสาขาวิชา………. เรียนเป็นอย่างไร ยากไหมค่ะ” อาจจะลองทำแบบทดสอบค้นหาตนเองได้ที่ ez.eduzones.com เพื่อให้รู้เบื้องต้นว่าตนเองถนัดและชอบด้านไหนเพื่อนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัยไปจนถึงเมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจะประกอบอาชีพด้านไหน รีบทำตั้งแต่บัดนี้ศึกษาข้อมูลสายอาชีพครูก่อนการตัดสินใจ
ช่วงนี้มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งผลิตบัณฑิตสายครูสำเร็จการศึกษาออกมาจำนวนมาก รวมกับบัณฑิตสายอื่นที่มีสิทธิ์สมัครสอบครู บัณฑิตสายครูที่ว่างงาน/ทำงานอื่นที่ไม่ใช่ครู และครูประจำการที่สอบเพื่อขอย้ายแล้วมีหลายหมื่นคน จึงมีจำนวนคู่แข่งในการสมัครสอบเข้ารับราชการครูจำนวนมาก ในขณะที่ทั่วประเทศมีอัตราครูว่างที่รอบรรจุครูใหม่ทดแทนเพียงหลักพันเท่านั้น พบว่าบางสนามสอบมีสัดส่วนการรับครูใหม่ถึง 1 : 100 และการเปิดสอบครูไม่ได้เปิดสอบทุกปีหรือทุกพื้นที่ ผู้ที่สอบผ่านจะได้รับการขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลา 2 ปี แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยจะไม่มีการเปิดสอบครูในช่วงเวลา 2 ปี และในช่วงเวลา 2 ปีนี้จะมีบัณฑิตสายครูและไม่ใช่สายครูที่มีสิทธิ์สมัครสอบครูสำเร็จการศึกษาออกมาอีกเท่าไร ? เมื่อก่อนบัณฑิตสายครูสาขาวิชาที่ล่ำลือกันว่าเรียนยาก คือ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และคอมพิวเตอร์มีจำนวนไม่มาก แต่จากกผลการสอบครูล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่าไม่ใช่แล้ว สาขาวิชาดังกล่าวมีผู้สมัครหลักร้อย (บางสนามสอบเกือบ 300 คน) แต่รับได้เพียงหลักสิบ แม้แต่สาขาวิชาภาษาจีนซึ่งเมื่อก่อนมีผู้สมัครไม่ถึงห้าคน แต่ล่าสุดมีจำนวนผู้สมัครหลักร้อยแต่รับได้เพียงหลักสิบเช่นเดียวกัน ส่วนสาขาวิชาที่ยังมีผู้สมัครจำนวนน้อย คือ ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ดนตรี นาฏศิลป์ เกษตร-สิ่งแวดล้อม และการศึกษาพิเศษ แต่มีอัตราครูในสาขาวิชาเหล่านี้ว่างน้อยเพียง 1 – 3 อัตราในแต่ละพื้นที่เท่านั้น จากข้อมูลพบว่าในแต่ละปีมีครูเกษียณอายุราชการประมาณหมื่นคน แต่ครูทั้งหมดนี้จะยังไม่ได้รับการพิจาณาเปิดสอบทดแทนอัตราว่างทุกตำแห่งในปีที่เกษียณอายุราชการทันที อาจต้องรอการอนุมัติ 1 – 3 ปี มีบัณฑิตสายครูและบัณฑิตไม่ใช่สายครูที่มีสิทธิ์สมัครสอบครูประมาณหนึ่งแสนคน ดังนั้นสัดส่วนการรับครูบรรจุใหม่อยู่ที่ประมาณ 1 : 10 จนถึง 1 : 15 ดังนั้น บัณฑิตครูจะต้องมีคุณภาพจริงๆ จึงจะสามารถแซงบรรดาคู่แข่งได้ อีกอย่างคือ เด็กไทยมีอัตราการเกิดน้อยลงทำให้มีจำนวนนักเรียนลดลง จึงมีแนวโน้มว่าจะมีการยุบโรงเรียนเพิ่มมากขึ้น ผลที่ตามมาคือ มีแนวโน้มที่จะลดอัตราครูในบางพื้นที่ ในประเด็นนี้ก็ควรนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจเลือกเรียนสายครูด้วย ต้องดูข้อมูลการรับสมัครและผลการสอบครูจากเว็บไซต์ต่างๆ จะรู้ข้อมูลว่าครูสาขาวิชาใดที่มีคนสมัครมาก (คาดคะเนได้ว่ามีบัณฑิตสายครูจำนวนมาก) หรือคนสมัครน้อย (คาดคะเนได้ว่ามีบัณฑิตสายครูจำนวนน้อย) ถ้าพิจารณาแล้วคงไม่ไหวก็เลือกเรียนต่อสาขาอื่นเถอะ..???..!!!..ตัดสินใจแน่วแน่
ตัดสินใจแน่แน่แล้วว่าจะเรียนทางครูและประกอบอาชีพครูหลังจากสำเร็จปริญญาตรี ครูถามว่า “หนูจะเรียนต่อมหาวิทยาลัยด้านไหน” นักเรียนตอบบว่า “ยังไม่รู้เลยค่ะ ต้องถามพ่อถามแม่” แล้วตัวเองจะเรียนหรือพ่อแม่จะเรียน ? พอนักเรียนขึ้นชั้น ม. 4 ทั้งตัวนักเรียน พ่อ แม่ และญาติต้องตัดสินใจเด็ดขาดเป็นครั้งสุดท้ายแล้วว่าจะเรียนมหาวิทยาลัยด้านวิชาชีพครู นักเรียนจะไม่กดดัน ไม่เครียด ไม่เบื่อ จะมีสุขภาพจิตที่ดีเนื่องจากรู้เป้าหมายการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยของตนเองแล้วและจะเลือกประกอบอาชีพครูเมื่อสำเร็จการศึกษาติดตามข่าวการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย
นักเรียนต้องติดตามข่าวการรับสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่องจากเว็บไซต์ต่างๆ เช่น trueplookpanya.com, dek-d.com, mytcas.com, eduzones.com เป็นต้น เลือกให้ได้ข้อสรุปว่าจะเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยด้วยวิธีใด มหาวิทยาลัยต่างๆ มีการรับสมัครเข้าเรียนตั้งแต่ระดับที่มีโอกาสสูงจนถึงระดับที่มีโอกาสลดลง คือ ยืนแฟ้มสะสมงาน โควต้าผู้มีความสามารถพิเศษ (วิชาการ กีฬา ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ) โควต้าภาค สอบตรงทั่วไป ยื่นคะแนน TCAS เป็นต้นเตรียมผลงานและประสบการณ์
นักเรียนควรเตรียมผลงานที่เป็นเกียรติบัตร วุฒิบัตร และรูปทำกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ เก็บรวบรวมไใ้ในแฟ้มสะสมงานให้มีมากเพียงพอ รุ่นพี่ๆ หลายคนทำแบบนี้แล้วยื่นสมัครเข้ามหาวิทยาลัยหลายแห่งในรอบยื่นแฟ้มและโควต้า ได้รับความสำเร็จตามความต้องการ บางคนไม่ผ่านรอบยื่นแฟ้มสะสมงานและโควต้า แต่ผ่านรอบสอบคัดกรอง หรือยื่นคะแนน TCAS ยืนแฟ้มสะสมงานให้คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์ย่อมได้รับการพิจารณามากกว่าคนอื่นๆ ที่แฟ้มสะสมงานไม่ดีหรือไม่มี สิ่งที่ควรจะใส่ไว้ในแฟ้มสะสมงานอาจเป็นกิจกรรม โครงการ โครงงานภายในหรือภายนอกโรงเรียนที่เกี่ยวข้อง ถ้าจะสมัครเรียนเป็นครูคอมพิวเตอร์จะต้องมีทักษะการเขียนโปรแกรมภาษาซี/ไพธอน การเขียนขั้นตอนวิธี (อัลกอริทึม) การเขียนแผนผังการทำงาน (โฟลชาร์ต) การใช้โปรแกรมชุดสำนักงาน โครงงานด้านคอมพิวเตอร์ ถ้าจะสมัครเรียนเป็นครูสอนศิลปะจะต้องมีทักษะและผลงานการวาดลายเส้น ออกแบบ โมเดล เป็นต้น รวมทั้งกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม เช่น คัดแยกขยะ เก็บกวาดถนน-สถานที่สาธารณะ ทาสีกำแพงโรงเรียน ช่วยแจกสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปลูกต้นไม้ในบริวเณบ้านตนเองและสถานที่สาธารณะ ดูแล สอนหนังสือ และช่วยเหลือในสถานนเลี้ยงเด็ก ดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้น ถ้าต้องการได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยจงเริ่มทำตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอหาความรู้เพิ่มด้วยการเรียนเสริม
นักเรียนจะต้องมีคะแนนในสาขาวิชาที่เลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยอย่างโดดเด่น เริ่มต้นด้วยการเรียนในชั้นเรียนและทำงานที่ครูมอบหมายให้เสร็จสิ้นและครบถ้วน หมั่นทบทวน ฝึกคิด และฝึกทำโจทย์อย่างสม่ำเสมอ พอมีเวลาว่างควรเรียนเสริมทางออนไลน์ที่มีทั้งไม่เสียค่าใช้จ่ายและเสียค่าใช้จ่ายบ้างรักษาสุขภาพ
สิ่งนี้มีความสำคัญมากเนื่องจากสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจมีผลต่อการเรียน โดยเฉพาะในวันสอมคัดเลือกหรือสอบสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย อุตส่าห์เตรียมตัวมาดีตลอดแต่มาเจ็บป่วยในวันนั้นย่อมทำเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ถ้ามีปัญหาด้านสุขภาพต้องรีบแก้ไขและปรึกษาครูแนะแนวเป็นการด่วน หมั่นออกกำลังกายหรือทำงานอดิเรกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรเคร่งเครียดกับการเรียนและความคาดหวังในอนาคตมากจนเกินไป เพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานทางร่างกายและจิตใจ
ตอนที่ 2 – หลักสูตรปริญญาตรีสำหรับอาชีพครู
ผู้ที่ประสงค์จะสมัครสอบคัดเลือกเป็นข้าราชการครูต้องเตรียมตัวอย่างไร
ปัจจุบัน ศธ. รับสมัครคัดเลือกผู้ที่สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีสาขาต่างๆ เข้ามารับราชการครู ดังนั้น จำเป็นจะต้องสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือแต่เดิมนิยมเรียกว่า วิชาเอก เช่น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พละศึกษา เป็นต้น สำเร็จปริญญาตรีสาขาใดจะมีสิทธิ์สมัครสอบครูในตำแหน่งที่ได้ประกาศคุณสมบัติไว้แล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปผู้สำเร็จระดับปริญญาตรีที่มีสิทธิ์สมัครสอบเข้ารับราชการครู แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
ปริญญาตรีที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง ได้แก่ ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) และการศึกบัณฑิต (กศ.บ.) ผู้สำเร็จปริญญาตรีเหล่านี้มีการเรียนเพิ่มเติมในวิชาปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษา จิตวิทยาการศึกษา และการบริหารการศึกษา รวมทั้งมีการฝึกงานประสบการณ์วิชาชีพครูในโรงเรียน (ฝึกสอน) ซึ่งเป็นการที่นักศึกษาออกไปฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูในโรงเรียนร่วมพัฒนา วิชาชีพโดยใช้เวลาต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง เพื่อเรียนรู้ฝึกฝน และทำความเข้าใจในงานครูจนเกิดทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู มีความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่เหมาะสมเพียงพอที่จะประกอบอาชีพครูต่อไปในอนาคตอย่างมี ประสิทธิภาพ การฝึกสอนนั้นเป็นนักศึกษาปีสุดท้าย (ปีที่ 4) ใช้เวลาประมาณ 450 ชั่วโมง หรือ ประมาณ 3 – 4 เดือน บางมหาวิทยาลัยกำหนดฝึกสอนจนถึงช่วงสอบปลายภาคของโรงเรียนดังนั้น จึงมีคุณสมบัติที่สามารถยื่นสมัครได้ทันทีโดยไม่มีต้องมีประกาศนียบัตร วุฒิบัตร หรือใบรับรองอื่นๆ เพิ่มเติม ขอยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดหลักสูตรสาขาวิชาการศึกษา
– ครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏ จุฬาลงกร์มหาวิทยาลัย ม.นครพนม ม.กาฬสินธุ์ ม.วลัยลักษณ์ ฯ
– ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) เช่น ม.เกษตรศาสตร์ ม.ศิลปากร ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลา ม.มหามกุฎ ฯ
– การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) เช่น ม.ศรีนครนทรวิโรฒ ม.สงขลา ม.ทักษิน ฯ
– ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (คอ.บ.) เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า (ลาดกระบัง พระนครเหนือ ธนบุรี) ม.ราชมงคล ฯ
ระยะเวลาการเรียนของ 4 หลักสูตรดังกล่าวส่วนมากเป็นหลักสูตร 4 ปี และมีหลักสูตร 5 ปี (ผู้สำเร็จ ม.6 เมื่อแรกเข้า) ในบางมหาวิทยาลัยปริญญาตรีสาขาที่ไม่เกี่ยวข้องการศึกษาโดยตรง เป็นสาขาวิชาที่มุ่งเน้นไปในทางวิชาการ เช่น วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.) ศิลปบัณฑิต (ศล.บ.) เทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) บริหารธุกิจบัณฑิต (บธ.บ.) นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) เป็นต้น ซึ่งสาขาเหล่านี้มีการกำหนดให้เป็นคุณสมบัติที่ใช้สมัครได้ เช่น วท.บ. เคมี มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาเคมี วศ.บ. มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาฟิสิกส์ ศศ.บ. ภาษาอังกฤษ มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาภาษาอังกฤษ ศศ.บ. รัฐศาสตร์ มีสิทธิ์สมัคร ครูเอกวิชาสังคมศึกษา เป็นต้น เมื่อก่อนสามารถยื่นสมัครได้ทันที่เนื่องจากขาดแคลนครู ต่อมามีการกำหนดว่าต้องผ่านการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู หรือที่รู้จักทั่วไปว่า “ป. บัณฑิต (วิชาชีพครู)” ช่วงแรกบัณฑิตปริญญาตรีที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรงสามารถสมัครเรียนหลักสูตร ป. บัณฑิตได้ง่ายในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ต่อมาพบว่าบัณฑิตเหล่านั้นมีประสิทธิภาพการสอนไม่ดีเท่าที่ควร เช่น บางคนทำงานบริษัท ไม่มีประสบการณ์และทักษะการสอนแต่อยากสมัครสอบครู เป็นต้น จึงมีการกำหนดคุณมบัติเพิ่มขึ้นใหม่โดยที่ให้เรียนไม่น้อยกว่า 34 หน่วยกิต ระยะเวลาประมาณ 1 ปี กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่มีสิทธิ์เรียนหลักสูตร ป.บัณฑิต ดังนี้ (1) เป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (ยังไม่ผ่านการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูทุกสาขาในหลักสูตร วท.บ. วศ.บ. ศศ.บ. บธ.บ. ร.บ. ฯลฯ) (2) ต้องเป็นผู้ที่มีสัญญาจ้างจากสถานศึกษาในตำแหน่งครูผู้สอน (3) ต้องเป็นผู้ปฏิบัติการสอนอยู่ในสถานศึกษา และ (4) มีหนังสืออนุญาตให้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 อนุญาตให้ประกอบวิชาชีพภายใต้บทบังคับแห่งกฎหมาและข้อบังคับของคุรุสภาที่ยังไม่หมดอายุการใช้งาน โดยสรุปบัณฑิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรงจะต้องทำงานในตำแหน่งครูผู้สอน (สัญญาจ้าง) และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูเท่านั้นจึงจะมีสิทธิ์สมัครเรียนหลักสูตร ป. บัณฑิตซึ่งเปิดการเรียนการสอนทั้งในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
ตอนที่ 3 ตำแหน่งที่รับสมัครและคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครสอบ
ตำแหน่ง
ผู้ที่สอบผ่านและได้รับการบรรจุเข้ารับราชการครู เริ่มแรกจะเป็นตำแหน่ง “ครูผู้ช่วย” จากนั้นจะมีการเลื่อนระดับตามอายุงานและผลงานทางวิชาการ เรียกว่า “เลือนวิทยฐานะ” ซึ่งจะกล่าวถึงในตอนต่อไป ทั้งนี้ครูผู้ช่วยจะได้รับอัตราเงินเดือนแตกต่างกัน ดังนี้
สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,050 บาท
สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) และได้รับวุฒิประกาศนียปัตรบัณฑิตที่มีหลักสูตรการศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี ต่อจากปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี) อัตราเงินเดือนขั้น 15,800 บาท
สำหรับผู้ได้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 15,800 บาท
สำหรับผู้ใด้รับวุฒิปริญญาตรี (หลักสูตร 6 ปี) อัตราเงินเดือนชั้น 17,690 บาท
คุณสมบัติผู้สมัครสอบ
คุณสมบัติทั่วไป
มีสัญชาติไทย
มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น
ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
ไม่เป็นผู้อยู่ระหว่างถูกสั่งพักราชการ ถูกสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น หรือถูกสั่งพัก หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายองค์กรวิชาชีพนั้น ๆ
ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีสำหรับการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษา
ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
ไม่เป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่ในพรรคการเมือง
ไม่เป็นผู้เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกจากรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือองค์การระหว่างประเทศ
ไม่เป็นผู้เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออกเพราะกระทำผิดวินัยตามพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น
ไม่เป็นผู้เคยกระทำการทุจริตในการสอบเข้ารับราชการหรือเข้าปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
คุณสมบัติเฉพาะ
มีวุฒิปริญญาทางการศึกษาหรือปริญญาอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) รับรองเป็นคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งนี้
มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอนไม่หลังวันรับสมัครสอบแข่งขันวันสุดท้ายและยังไม่หมดอายุ เว้นแต่ ผู้สมัครสอบแข่งขันที่มีคุณวุฒิในกลุ่มวิชา หรือทาง หรือสาขาวิชาเอกที่ขาดแคลนหรือมีความจำเป็นต่อการจัดการเรียนการสอนเป็นพิเศษ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด จะต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือหลักฐานที่คุรุสภาออกให้สำหรับปฏิบัติหน้าที่สอนก่อนบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีผู้สมัครสอบแข่งขันซึ่งเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการอื่นหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น นอกจากจะต้องมีคุณสมบัติตามประกาศแล้งต้องมีหนังสืออนุญาตจากผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งให้สมัครสอบแข่งขันและยินยอมให้ย้ายหรือโอนเมื่อสอบแข่งขันได้ โดยให้บรรจุและแต่งตั้งในตำแหน่งครูผู้ช่วยและรับเงินเดือนอันดับครูผู้ช่วย ตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ทั้งนี้ ในวันสมัครสอบแข่งขัน ผู้สมัครต้องรับรองตนเองด้วยว่าในวันบรรจุและแต่งตั้งไม่ติดเงื่อนไขอื่นใดที่หน่วยงานหรือส่วนราชการที่ตนสังกัดอยู่เดิมกำหนด
สาขาขาดแคลนไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพคร ได้แก่ ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน ภาษาพม่า ภาษาเขมร ภาษาเวีบดนาม การพยาบาล กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด อรรถบำบัด จิตวิทยาคลินิก ดนตรีพื้นเมือง และแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ อาจแตกต่างจากนี้ขึ้นอยู่กับประกาศในแต่ละปีที่รับสมัครและในแต่ละสำนักงานพื้นที่การศึกษาฯ ที่ประกาศรับสมัคร
ไม่เป็นพระภิกษุ สามเณร ตามคำสั่งเถรสมาคม เรื่อง ห้ามภิกษุ สามเณรเรียนวิชาชีพ หรือสอบแข่งขัน หรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ สั่ง ณ วันที่ 17 มีนาคม 2538
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์รับสมัครคัดเลือกเข้ารัยราชการครู
กำหนดคุณสมบัติตามสาขาวิชาเอกที่สำเร็จปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ดังนี้
☐ กลุ่มวิชาเอกคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ประยุกต์
การสอนคณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ศึกษา
การศึกษาคณิตศาสตร์
สถิติศาสตร์
สถิติประยุกต์
สถิติคณิตศาสตร์ / คณิตศาสตร์สถิติ
คณิตศาสตร์-เศรษฐมิติ
คณิตศาสตร์เชิงคอมพิวเตอร์
คณิตศาสตร์ประกันภัย
โปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาไทย
ภาษาไทย
การสอนภาษาไทย / วิธีสอนภาษาไทย
ภาษาและวัฒนธรรมไทย
ภาษาและวรรณคดีไทย
วรรณคดีไทย
ภาษาไทยศึกษา / ไทยศึกษา
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร / ภาษาไทยและการสื่อสาร
การสื่อสารภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง
ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารสำหรับชาวต่างประเทศ
ภาษาไทยธุรกิจ
ภาษาศาสตร์ภาษาไทย
ภาษาไทยและภาษาตะวันออก
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
การสอนภาษาอังกฤษ
ภาษาอังกฤษศึกษา
ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ/วรรณคดีอังกฤษ
ภาษาอังกฤษธุรกิจ
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว
ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการ
ภาษาอังกฤษชั้นสูง
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาจีน
การสอนภาษาจีน
ภาษาจีน
ภาษาจีนกลาง
ภาษาจีนธุรกิจ
การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ
ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร
ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรม
ภาษาจีนเพื่ออุตสาหกรรมบริการ
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาเกาหลี
ภาษาเกาหลี
เกาหลีศึกษา
การสอนภาษาเกาหลี
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษามลายู
ภาษามลายู
มลายูศึกษา
การสอนภาษาภาษามลายู
☐ กลุ่มวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส
การสอนภาษาภาษาฝรั่งเศส
☐ กลุ่มวิชาเอกสังคมศึกษา
สังคมศึกษา
การสอนสังคมศึกษา
สังคมวิทยา
สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สังคมศาสตร์
สังคมศาสตร์การพัฒนา
สังคมสงเคราะห์/สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
พัฒนาชุมชน/พัฒนาสังคม
รัฐศาสตร์
รัฐประศาสนศาสตร์
นิติศาสตร์
ภูมิศาสตร์
การสอนภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ศิลปะ
ศาสนา
ปรัชญา
ศาสนาและปรัชญา
จริยศึกษา
บาลีพุทธศาสตร์
พุทธจิตวิทยา
พุทธศาสนา
พระพุทธศาสนา
การสอนพุทธศาสนา
ศาสนาศึกษา/ศาสนศึกษา
ศาสนาเปรียบเทียบ
การสอนสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
วัฒนธรรมศึกษา
โบราณคดี
ไทยคดีศึกษา
☐ กลุ่มวิชาเอกพละศึกษา
พลศึกษา
วิทยาศาสตร์การกีฬา
การฝึกและการจัดการกีฬา
การสอนพละศึกษา
วิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
พละศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
พละศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย
พละศึกษาและสุขศึกษา
พลานามัย
สันทนาการ
สุขศึกษา
การสอนสุขศึกษา
การสอนสุขศึกษาและพละศึกษา
☐ กลุ่มวิชาเอกสุขศึกษา
สุขศึกษา
การสอนสุขศึกษา
การสอนสุขศึกษาและพละศึกษา
ชีวอนามัย
อนามัยครอบครัว
สาธารณสุขศาสตร์
ศึกษาศาสตร์-สุขศึกษา
สุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
☐ กลุ่มวิชาเอกวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ศึกษา/วิทยาศาสตร์การศึกษา/การศึกษาวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิทยาศาสตร์กายภาพ
วิทยาศาสตร์กายภาพชีวภาพ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
การสอนวิทยาศาสตร์
การสอนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์
การสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ
การสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
เคมี
เคมีทั่วไป
เคมีศึกษา
การสอนเคมี
การสอนเคมีระดับมัยมศึกษา
เคมีเทคนิค
เคมีอุตสาหกรรม
เคมีสิ่งแวดล้อม
เคมีการเกษตร
เคมีวิเคราะห์
ชีวเคมี
อินทรีย์เคมี
วัสดุศาสตร
ชีววิทยา
ชีววิทยาทั่วไป
ชีววิทยาประยุกต์
การสอนชีววิทยา
การสอนชีววิทยาระดับมัยมศึกษา
วิทยาศาสตร์ชีววิทยา
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
นิเวศวิทยาสิ่งแวดล้อม
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม/วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม
จุลชีววิทยา
พันธุศาสตร์
พฤกษศาสตร์
สัตววิทยา
ฟิสิกส์
ฟิสิกส์ประยุกต์
การสอนฟิสิกส์
การสอนฟิสิกส์ระดับมัยมศึกษา
วิศวกรรมเคมี
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพทางพืช
เทคโนโลยีทางกระบวนการเคมี-ฟิสิกส์
เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีการอาหาร
คณิตศาสตร์-ชีววิทยา
คณิตศาสตร์-เคมี
คณิตศาสตร์-ฟิสิกส์
คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
การสอนวิทยาศาสตร์
การสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป
การสอนวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา
การสอนวิทยาศาสตร์กายภาพ
การสอนวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วิทยาศาสตร์กายภาพ
วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
วิทยาศาสตร์ศึกษา/วิทยาศาสตร์การศึกษา/การศึกษาวิทยาศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกเคมี
เคมี
เคมีทั่วไป
เคมีศึกษา
การสอนเคมี
การสอนเคมีระดับมัยมศึกษา
เคมีเทคนิค
เคมีอุตสาหกรรม
เคมีสิ่งแวดล้อม
เคมีการเกษตร
เคมีวิเคราะห์
ชีวเคมี
อินทรีย์เคมี
วิศวกรรมเคมี
☐ กลุ่มวิชาเอกฟิสิกส์
ฟิสิกส์
ฟิสิกส์ประยุกต์
การสอนฟิสิกส์
การสอนฟิสิกส์ระดับมัธยมศึกษา
ฟิสิกส์เครื่องมือวัด
ฟิสิกส์ประยุกส์เครื่องมือวิเคราหะ์
☐ กลุ่มวิชาเอกชีววิทยา
ชีววิทยา
ชีววิทยาทั่วไป
ชีววิทยาประยุกต์
การสอนชีววิทยา
การสอนชีววิทยาระดับมัยมศึกษา
วิทยาศาสตร์ชีววิทยา
จุลชีววิทยา
พันธุศาสตร์
พฤกษศาสตร์
สัตววิทยา
☐ กลุ่มวิชาเอกคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ศึกษา
วิทยาการคอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
ศาสตร์คอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์ข้อมูล
คอมพิวเตอร์และสถิติ
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ธุรกิจคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
วิทยาการสารสนเทศคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์กราฟิกและเอนิเมชั่น
คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย
ดิจิทัลอาร์ต
อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิเตอร์
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
☐ กลุ่มวิชาเอกแนะแนว
การแนะแนว
การแนะแนวการศึกษา
จิตวิทยา
จิตวิทยาการแนะแนว
จิตวิทยาการศึกษา
จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
จิตวิทยาการศึกษาและการให้คำปรึกษา
จิตวิทยาโรงเรียน
จิตวิทยาสังคม
จิตวิทยาพัฒนาการ
จิตวิทยาการทดลอง
☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรี
ดนตรี
ดนตรีศึกษา
การสอนดุริยางคศึกษา
การสอนดุริยางคศิลป์และนาฏศิลป์
ดุริยางค์ไทย
ดุริยางค์สากล
ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
ดุริยางคศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรีไทย
ดนตรีไทย
ดนตรีศึกษา
ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
ดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา
ดุรยางคศาสตร์ไทย
การสอนดุริยางค์ไทย
การสอนดุริยางคศิลป์ไทยและนาฏศิลป์ไทย
ดุริยางค์ไทย
ดุริยางคศิลป์/ดุริยศิลป์
ดุริยางคศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกดนตรีสากล
ดนตรีสากล
ดนตรีสากลศึกษา
ดุริยางค์สากล
ดนตรีคีตศิลป์สากลศึกษา
ดุรยางคศาสตร์
การสอนดุริยางค์ไทย
การสอนดุริยางคศึกษา
คีตศิลป์สากล
ดุริยางคศิลป์/ดุริยะศิลป์
ดุริยางคศาสตร์
☐ กลุ่มวิชาเอกนาฎศิลป์
นาฎศิลป์
นาฎศิลป์ไทย
นาฎศิลป์ไทยศึกษา
นาฎศิลป์สากล
นาฎศิลป์สากลศึกศส
นาฎศิลป์และการละคร
การสอนนาฎศิลป์
นาฎศาสตร์
นาฎยศิลป์
นาฎยศิลป์ไทยศึกษา
นาฎดุริยางค์คีตศิลป์ศึกษา
ดนตรี-นาฎศิลป์
☐ กลุ่มวิชาเอกศิลปะ-ศิลปศึกษา
ศิลปะ
ศิลปะไทย
ศิลปศีกษา
ศิลปศีกษาประยุกต์
ศิลปกรรม/ศิลปกรรมศึกษา
ทัศนศิลป์
ศิลปะภาพพิมพ์
จิตรกรรม
ประติมากรรม
อุตสาหกรรมศิลป์
สถาปัตยกรรมไทย
การออกแบบศิลปะ
การออกแบบนิเทศศิลป์
หัตถศิลป์
มัณฑนศิลป์
☐ กลุ่มวิชาเอกทัศนศิลป์
ทัศนศิลป์
การออกแบบนิเทศศิลป์
นาฎยศิลป์
การออกแบบทัศนศิลป์
การออกแบบผลิตภัณฑ์
การออกแบบนวัตกรรมทัศนศิลป์
ศิลปศึกษาสาขาทัศนศิลป์
☐ กลุ่มวิชาเอกเกษตร (พืช)
พฤกศาสตร์
พืชสวน
พืชไร่
พืซศาสตร์
พืชผัก
พืชสวนประดับ
การผลิตพืช
☐ กลุ่มวิชาเอกเกษตร/เกษตรกรรม/เกษตรศาสตร์
เกษตรกรรม
เกษตรศึกษา
เกษตรทั่วไป
เกษตรศาสตร์
คุรุศาสตร์เกษตร
การเกษตร
พฤกศาสตร์
พืชศาสตร์
พืชสวน
พืชไร่/พืชไร่นา
พืชผัก
พืชสวนประดับ/ไม้ดอกไม้ประดับ
การผลิตพืช
เกษตรและสิ่งแวดล้อม
ไม้ผล
ส่งเสริมการเกษตร
เทคโนโลยีการเกษตร
วิทยาศาสตร์การเกษตร/วิทยาศาสตร์เกษตร
เกษตรสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
พัฒนาการเกษตร
ทรัพยากรเกษตรชีวภาพ
วิศกรรมการเกษตร
อุตสหกรรมเกษตร/อุตสหกรรมการเกษตร
การสอนวิชาเกษตร
ส่งเสริมและนิเทศศาสตร์การเกษตร
เกษตรศึกษา
☐ กลุ่มวิชาเอกคหกรรม
คหกรรมศาสตร์ (สาขาอาหารและโภชนาการ)
อาหารและโภชนาการ
โภชนศาสตร์
โภชนศาสตร์และการกำหนดอาหาร
☐ กลุ่มวิชาเอกโสตทัศนศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา/เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
การสื่อสารมวลชนหรือการสื่อสารมวลชนทั่วไป
บริการสื่อการศึกษา
นอกจากกลุ่มวิชาเอกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ยังมีกลุ่มวิชาเอกอื่นๆ เช่น
อุตสาหกรรม/อุตสาหกรรมศิลษ์
ประถมศึกษา/การประถมศึกษา
ปฐมวัย/การศึกษาปฐมวัย/อนุบาลศึกษา
บรรณารักษ์
การเงิน/การบัญชี
วัดผลและประเมินผลการศึกษา
การศึกษาพิเศษ
การพยาบาล
กายภาพบำบัด
กิจกรรมบำบัด
จิตวิทยาคลินิก
หูหนวกศึกษา
อรรถบำบัด
อิสลามศึกษา
แพทย์แผนไทย
อุตสาหกรรม (ก่อสร้าง/โลหะ/ไฟฟ้า/สถาปัตยกรรม)
หมายเหตุ สาขาวิชาเอกในแต่ละกลุ่มอาจมีการกำหนดเพิ่มเติมตามประกาศของ คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) ของประถมศึกษา และคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขตพื้นที่การศึกษาของมัธยมศึกษา
ตอนที่ 4 การสอบ
การสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในตำแหน่งครูผู้ช่วย แบ่งเป็น 3 ภาค ดังนี้
(1) ภาค ก ความรู้ความสามารถทั่วไป ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แป่งเป็น
1.1 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ (100 คะแนน)
1.1.1 การวิเคราะห์เชิงภาษา
– การใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
– ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย
– การจับใจความสำคัญ
– การสรุปความ
– การตีความจากบทความ ข้อความ หรือสถานการณ์ต่างๆ
1.1.2 การวิเคราะห์เชิงนามธรรม
– การคิดหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงคำ ข้อความ หรือรูปภาพ
– การหาข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อความ สัญลักษณ์ รูปภาพ หรือส ถานการณ์ หรือแบจำลองต่างๆ
1.1.3 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ
– ความเข้าใจ ความคิดรวบยอด และแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น
– การเปรียบเทียบและวิเคราะห์เชิงปริมาณ
– การประเมินความเพียงพอของข้อมูล
1.2 ทักษะภาษาอังกฤษ (50 คะแนน)
– ความเข้าใจในหลักการสื่อสาร โดยใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างประโยคที่เหมาะสมทั้งในเชิงความหมาย และบริบท
– ความสามารถในการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
– การวัดความสามารถด้านการอ่าน โดยทดสอบการทำความเข้าใจในสาระของข้อความหรือบทความ
– การวัดความสามารถด้านดารเขียนภาษาอังกฤษในระดับเบื้องต้น
1.3 ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี (50 คะแนน)
– ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
– หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
– วิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง
– หน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
– เจตคติและจริยธรรมสำหรับราชการ
(2) ภาค ข มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ ข้อสอบแบบหลายตัวเลือก คะแนนเต็ม 200 คะแนน แป่งเป็น
2.1 มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการในเนื้อหาวิชาที่สอน -วิชาเอก (100 คะแนน)
2.2 มาตรฐานความรู้ทั่วไปในการจัดการเรียนการสอน (75 คะแนน)
– การเปลี่ยนแปลงบริบทของโลก สังคม และแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
– จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาการศึกษา และจิตวิทยาให้คำปรึกษาในการวิเคราะห์และพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ
– หลักสูตร ศาสตร์การสอน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการจัดการเรียนรู้
– การวัดประเมิยผลการเรียนรู้และการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน
– การออกแบบและการดำเนินการเกี่ยวกับงานประกันคุณภาพการศึกษา
2.3 ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและแนวทางการปฏิรูปการศึกษา (25 คะแนน)
2.3.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
– รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน
– กฎหายว่าด่วยการศึกษาภาคบังคับ
– กฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
– กฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา
– กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ
– กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก
– กฎหมายว่าด้วยการศึกษาปฐมวัย
2.3.2 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
– ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี
– แผนการศึกษาแห่งชาติ
– นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ
3. ภาค ค ความเหมาะสมกับตำแหน่ง วิชาชีพ และการปฏิบัติงานในสถานศึกษา สอบสัมภาษณ์ แสดงผลงาน และสาธิตการสอน มีการให้คะแนนแบบรูบิค (แบ่งคะแนนการประเมินออกเป็นช่วงๆ) คะแนนเต็ม 100 คะแนน แป่งเป็น
3.1 คุณลักษณะส่วนบุคคล (25 คะแนน)
– บุคลิกลักษณะ ท่วงทีวาจา
– วุฒิภาวะทางอารมณ์และการมีปฏิภาณการแก้ปัญหา
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เจตคติ และอุดมการณ์ความเป็นครู
3.2 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ (25 คะแนน)
– แฟ้มสะสมงาน (ประวัติการศึกษา ผลงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพและวิชาเอกที่สำเร็จการศึกษา
การเข้าถึงชุมชนและการมีจิตสาธารณะ)
3.3 ความสามารถด้านการสอน (50 คะแนน)
– การวิเคราห์หลักสูตร การออกแบบ และการวางแผนการจัดการเรียนรู้
– ทักษะและวิธีการสอนที่เหมาะสมกับสาขาวิชาและบริบทของชั้นเรียน
– ทักษะกรใช้คำถามและการตอบสนองต่อพฤติกรรมผู้เรียน
– การใช้สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการจัดการการเรียนรู้
– การวัดและการประเมินผลการจัดการเรียนรู้
เกณฑ์การประเมินผู้สอบผ่าน
รอบที่ 1 ต้องได้คะแนนภาค ก และภาค ข ภาคละ 60% (ภาคละ 120 คะแนแ) จึงจะมีสิทธิ์เข้าสอบรอบที่ 2 คือ ภาค ค และภาค ค ต้องได้คะแนน 60 คะแนนขึ้นไป หรือ 60% ขึ้นไป นำคะแนนเรียงลำดับจากมากไปน้อยนำไปประกาศผลรอบสุดท้าย และขึ้นบัญชีไว้เป็นเวลา 2 ปี
การเรียกบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย
การเรียนบรรจุเข้ารับราชการเป็นครูผู้ช่วย จะดำเนินการภายหลังได้รับอนุมติให้บรรจุครูทดแทนในตำแหน่งที่ว่าง โดยจะมีการเรียกตามลำดับก่อนหลัง เขตพื้นที่การศึกษาฯ อื่นๆ ที่ไม่ได้เปิดสอบ หรือเรียกบรรจุครบตามบัญชีประกาศฯ แล้ว แต่ยังมีอัตราว่างอยู่สามารถใช้บัญชีประกาศฯ จากเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้ถ้ายังไม่หมดอายุ
ตอนที่ 5 ความก้าวหน้า สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ
ผู้สอนในสถานศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ครู แบ่งตามวิทยฐานะครูจากต่ำไปสูง ดังนี้
ครูผู้ช่วย เป็นตำแหน่งที่บรรจุแต่งตั้งในระดับแรก (เทียบเท่าอาจารย์ 1 ระดับ 5 เดิม ปัจจุบันการบรรจุข้าราชการครูไมได้เริ่มที่ ซี 3-4 ดังแต่ก่อน)
ครู คศ. 1 (เทียบเท่าอาจารย์ 2 ระดับ 6)
ครู คศ. 2 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการ แต่งตั้งจากครู คศ. 1 (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 7 เดิม)
ครู คศ. 3 เป็นวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 8 เดิม)
ครู คศ. 4 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ แต่งตั้งจากครู คศ. 2 หรือ คศ. 3 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าตำแหน่งอาจารย์ 3 ระดับ 9 เดิม)
ครู คศ. 5 เป็นวิทยฐานะครูเชี่ยวชาญพิเศษ แต่งตั้งจากครู คศ. 4 ที่มีผลงานวิชาการผ่านเกณฑ์ (เทียบเท่าระดับ 10 ซึ่งในอดีตไม่เคยมีมาก่อน โดยได้รับการขยายระดับให้สูงขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 ในมาตราที่ 39 ให้เทียบเท่าอธิบดีกรม หรือ รองเลขาธิการ)
การเลื่่อนวิทยะฐานะขึ้นระดับที่สูงขึ้นต้องผ่านการปฏิบัติหน้าที่ครูผู้สอนมาแล้วอย่างน้อย 2 ปี นอกจากครูผู้สอนดังกล่าวยังสามารถสอบเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา ได้แก่ รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา เป็นต้น
ค่าวิทยฐานะและค่าตอบแทนพิเศษ
วิทยฐานะชำนาญพิเศษ 11,200 บาท
วิทยฐานะเชี่ยวชาญ 19,800 บาท
วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ คศ.4 26,000 บาท
วิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ คศ.5 31,200 บาท
สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการครู
– สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการครูที่เป็นตัวเงิน
1. เงินเดือน
2. ค่าวิทยฐานะ
3. ค่าตอบแทนพิเศษ
4. ค่าตอบแทนวิทยากร
5. ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และค่ายานพาหนะในการเดินทางไปราชการ
6. ค่ารักษาพยาบาลตัวเอง คู่สมรส บุตร (อายุไม่เกิน 20 ปี) บิดา และมารดา
7. ค่าการศึกษาบุตร ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เบิกได้ตั้งแต่อายุครบ 3 ปีบริบูรณ์ จนถึงอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ (ไม่ว่าบุตรจะทำงานแล้วหรือจดทะเบียนสมรสแล้วก็ตาม) มีสิทธินำบุตรมาเบิกได้ไม่เกิน 3 คน ไม่ว่าจะเป็นบุตรที่เกิดจากการสมรสครั้งใด โดยนับเรียงตามลําดับเกิดก่อนหลัง [ดูรายละเอียด]
8. สมาชิกกองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
9. เงินบำเหน็จบำนาญภายหลังเกษียณอายุราชการ (อายุครบ 60 ปี ถ้ารับราชการ 10-24 ปี รับบำเหน็จ (จ่ายเงินก้อนให้ครั้งเดียว) และ 25 ปีขึ้นไป เลือกรับบำนาญรายเดือนไปจนเสียชีวิต-มีสิทธิ์ค่ารักษาพยาบาล หรือรับบำเหน็จ)
10. หักลดหย่อนภาษีเงินได้ในแต่ละปี
– สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของข้าราชการครูที่ไม่เป็นตัวเงิน
1. เครื่องราชอิสริยาภรณ์
2. สิทธิการลาป่วย ลาคลอด ลาดูแลบุตรคลอดใหม่ ลากิจ ลาพักผ่อน ลาอุปสมบทหรือลาไปประกอบพิธีฮัจญ์
3. สิทธิลาศึกษาต่อ ลาไปอบรม ดูงาน หรือปฏิบัตการวิจัย
4. สิทธิลาติดตามคู่สมรส
5. สิทธิการขอพระราชทานเพลิงศพ
6. สิทธิการรับเงินค่าการฌาปนกิจสงเคราะห์
7. สิทธิการตรวจสุขภาพประจําปี
8. สิทธิการข้อย้ายเมื่อทำงานครบ 2 ปี ขอย้ายได้ปีละ 2 ครั้ง (ครูในบางสังกัดจะขอย้ายได้เมื่อทำงานครบมากกว่า 2 ปี อาจจะถึง 8 ปี)
9. สิทธิยกเว้นการเกณฑ์ทหารสำหรับผู้ชาย
10. สิทธิค้ำประกันบุคคล
สรุป
อาชีพครูนับว่าเป็นอาชีพรับราชการหนึ่งที่มีความมั่นคงในด้านหน้าที่การงานและค่าตอบแทน โดยเฉพาะต้องเป็นจิตอาสาในการถ่ายทอดความรู้และสั่งสอนเด็กเพื่อหล่อหลอมเป็นประชากรที่มีความสามารถ ทักษะ ความชำนาญ และประสบการณ์ในการเรียนรู้ การดำรงชีวิต การประกอบอาชีพ และการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติที่สงบสุข ร่มเย็น และพัฒนาอย่างยั่งยืน