ประวัติความเป็นมากศน.ตำบล

ประวัติ กศน.ตำบลเชียงกลม

กศน.ตำบลเชียงกลมเดิมชื่อ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเชียงกลม ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเลยใช้อาคารเอนกประสงค์ขององค์การบริหารส่วนตำบลเชียงกลมเป็นสถานที่พบกลุ่มและจัดกิจกรรมงานการศึกษานอกโรงเรียน และเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ได้ประกาศให้ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเชียงกลมเป็นศูนย์การเรียนชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5ธันวาคม 2550 และตามหนังสือสำนักงาน กศน. ที่ ศธ 0210.02/3267 ลงวันที่ 4 กันยายน 2552 เรื่อง การดำเนินงาน กศน.ตำบล ได้สั่งการให้ สำนักงาน กศน.จังหวัด ทุกจังหวัด ดำเนินการปรับศูนย์การเรียนชุมชนในทุกตำบลให้เป็น กศน.ตำบล ทางสำนักงาน กศน.จังหวัดเลยจึงปรับ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเชียงกลมเป็น กศน.ตำบลเชียงกลม

รับผิดชอบดูแลนักศึกษาและจัดกิจกรรมงานการศึกษานอกโรงเรียนภายในตำบลเชียงกลม โดยมีครูประจำศูนย์กาเรียนชุมชนตามลำดับดังนี้

1. นายอนุวัธ สุทธิไชยา พ.ศ.2546 – 2549 ตำแหน่งครู ศรช

2. นางฐิติพรรณ แปลงกันทา พ.ศ.2549 – 2551 ตำแหน่ง ครู ศรช

3. นายทรงกรต อัมพรัตน์ พ.ศ.2551-2552 ตำแหน่ง ครู ศรช

4. นายชิดณรงค์ อินทจร พ.ศ.2552-2553 ตำแหน่ง ครู ศรช.

5. นายสุวัฒน์ ไหลน พ.ศ.2553 - ปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

6. นางสาววรัญญา จันทะบุตร พ.ศ.2553 - ปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

7. นางสาวสาริศา วันทองสุข พ.ศ.2556 - ปัจจุบัน ตำแหน่ง ครู ครู ศรช.


กศน.ตำบลเชียงกลม ตั้งอยู่ที่บ้านกลาง หมู่ที่ 2 ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย

( ตรงข้ามโรงเรียนชุมชนบ้านเชียงกลม ) สังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอปากชม สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดเลย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

คำขวัญ “การเรียนรู้ ไม่มีวันสายเกินไป ไม่ไกลเกินเอื้อม”

อัตลักษณ์ “ เพิ่มพูนความรู้พื้นฐาน ประสานงานเครือข่าย เพื่อให้ประชาชนมีงานทำ”

เอกลักษณ์ “มีความรู้พื้นฐาน สร้างงานเพิ่มรายได้”


วิสัยทัศน์ (Vision) “ ประชาชนตำบลเชียงกลมได้รับการศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำที่มีคุณภาพและทั่วถึง ”

พันธกิจ ( Mission )

1. จัดการศึกษานอกระบบในรูปแบบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. จัดการศึกษาการศึกษาต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมการมีงานทำ ให้กับประชาชนในพื้นที่ตำบลเชียงกลม

3. จัดการศึกษาตามอัธยาศัย

4. จัดและส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยพื้นที่ตำบลเชียงกลม

5. จัดระบบประกันคุณภาพภายในให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการของ กศน.ตำบลเชียงกลม


ประวัติความเป็นมา

ตำบลเชียงกลม เดิมเป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตปกครองของตำบลปากชม ชื่อของตำบลตั้งตามชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ไม้เชียง มีลักษณะลำต้นกลมสูงใหญ่อยู่รอบห้วย จึงเรียกห้วยนี้ว่า ห้วยกลม ต่อมามีคนอพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมห้วยใกล้ๆ กับต้นเชียงใหญ่ และต่อมามีหมู่บ้านอื่นๆ มาสมทบเป็นหลายหมู่บ้านจนตั้งกลายเป็นตำบลได้ อำเภอจึงจัดตั้งเป็นตำบล ชาวบ้านจึงเอาชื่อต้นไม้เชียงมารวมเข้ากับห้วยกลม เป็น ตำบลเชียงกลม มาจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะภูมิอากาศ

พื้นที่ตำบลเชียงกลมส่วนใหญ่เป็นภูเขาและมีที่ราบเชิงเขาสลับกันใช้เป็นพื้นที่การเกษตรส่วนที่ราบลุ่มมีการทำนาและปลูกลำไย ปลูกถั่วเหลืองส่วนบริเวณเชิงเขาทำไร่ข้าวโพดและปลูกยางพารา สองข้างทางชุมชนอาศัยอยู่ริมถนนใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติที่ใช้ในการอุปโภคบริโภคใช้ในการเกษตรกรรม ได้แก่ห้วยน้ำกลม ,ห้วยน้ำหงาว, ห้วยน้ำชม, ห้วยผูก ,ห้วยด่าน,ห้วยนา, ห้วยปะกำ,ห้วยบักจ่อย

สภาพภูมิอากาศฤดูร้อนร้อนจัด ฤดูฝนฝนตกชุก และฤดูหนาวหนาวจัด

สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง (แสดงที่ตั้งและระยะห่างจากอำเภอ จังหวัด)

ตำบลเชียงกลม ตั้งอยู่ทิศใต้ของอำเภอปากชม ระยะห่างจากอำเภอประมาณ 27 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 64 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 584 กิโลเมตร

เนื้อที่ (แสดงเนื้อที่โดยประมาณตารางกิโลเมตร และไร่)

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดอนและที่ลาดเชิงเขา ทำให้พื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น ลาดชัน มีภูเขาสูงกระจายทั่วไปมีความสูง 270 – 827 เมตรจากระดับน้ำทะเล ตำบลเชียงกลมมีเนื้อที่ ประมาณ 122,769 ไร่ คิดเป็นพื้นที่ 196.43 ตารางกิโลเมตร โดยแยกเป็นพื้นที่การเกษตรทั้งหมด 24,554 ไร่ พื้นที่ภูเขาและที่ลาดชัน 77,345 ไร่ พื้นที่อยู่และอื่น ๆ 20,870 ไร่

จำนวนหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน

หมู่ที่ 1 บ้านเชียงกลม

หมู่ที่ 2 บ้านกลาง

หมู่ที่ 3 บ้านโพนทอง

หมู่ที่ 4 บ้านคอนสา

หมู่ที่ 5 บ้านห้วยนา

หมู่ที่ 6 บ้านปางคอม

หมู่ที่ 7 บ้านซำไฮ

หมู่ที่ 8 บ้านห้วยผักกูด

หมูที่ 9 บ้านเหมืองทอง

หมู่ที่ 10 บ้านสา

อาณาเขตตำบล

ทิศเหนือ ติดต่อ ต.ปากชม ,ห้วยพิชัย อ.ปากชม จ.เลย

ทิศใต้ ติดต่อ ต.ห้วยบ่อซืน อ.ปากชม จ.เลย

ทิศตะวันออก ติดต่อ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี

ทิศตะวันตก ติดต่อ ต.ชมเจริญ อ.ปากชม จ.เลย

ข้อมูลอาชีพของตำบล

- อาชีพ เกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ของตำบลเชียงกลม ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำไร่ข้าวโพด,ถั่วดำ,ถั่วแดง และปลูกไม้เศรษฐกิจ เช่น ยางพารา ลำไย มะม่วง แต่ในปัจจุบันประสบปัญหา ราคาผลผลิตตกต่ำและตลาดจำหน่ายผลผลิตไม่แน่นอน

- อาชีพรับจ้าง เนื่องจากมีการทำไร่จำนวนมาก ประชาชนไม่มีที่ดินทำกินเพียงพอ ดังนั้นประชาชนออกไปรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม และงานก่อสร้างตามเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และ ระยอง

- อาชีพค้าขาย เนื่องจากตำบลเชียงกลม มี 10 หมู่บ้าน และอยู่ไกลตลาดจากอำเภอและประชาชนก็มุ่งแต่ทำไร่ข้าวโพด ไม่ออกไปทำงานนอกบ้านได้จึงนิยมเปิดร้านขายของชำมากขึ้น และแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นร้านค้าเล็ก ๆ ขายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว อีกทางหนึ่ง

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเชียงกลม

- สหกรณ์ จำนวน 1 แห่ง

- กลุ่มออมทรัพย์ จำนวน 10 แห่ง

- กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน จำนวน 10 แห่ง

- ปั๊มน้ำมันหลอด จำนวน 10 แห่ง

- ปั๊มไฟฟ้า จำนวน 8 แห่ง

- โรงสีข้าว จำนวน 6 แห่ง

สภาพทางสังคม

การศึกษา

- โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 7 แห่ง

- โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง

- ศูนย์อบรมเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 4 แห่ง

สถาบันและองค์กรทางศาสนา

- วัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 13 แห่ง

สาธารณสุข

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคอนสา

-โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงกลม

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

ในพื้นที่ตำบลเชียงกลม อยู่ภายในเขตการสอบสวน การควบคุมดูแลของสถานีตำรวจตำบลเชียงกลม และมีตำรวจประจำบ้านทุกหมู่บ้าน

การบริการพื้นฐาน

การบริการพื้นฐาน

มีถนนสายหลักสำคัญสามารถติดต่อถนนพื้นที่ได้ คือ

- ถนน รพช. สาย บ้านสงาว – ตำบลเชียงกลม

- ถนน รพช. สาย บ้านห้วยเป้า – บ้านห้วยนา

- ถนน รพช. สาย บ้านชมน้อย – บ้านห้วยผักกูด

- ถนน กรมทางหลวง สาย บ้านธาตุ - ปากชม

การโทรคมนาคม

ในพื้นที่ตำบลเชียงกลม องค์การโทรศัพท์ได้ติดตั้งโทรศัพท์ภายในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน ประชาชนใช้โทรศัพท์ได้ที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ส่วนโทรศัพท์ติดตั้งที่บ้านยังไม่ทั่วถึง ประชาชนยังต้องการโทรศัพท์อีกจำนวนมาก

การไฟฟ้า

ประชาชนในพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ทุกหมู่บ้าน จำนวน 10 หมู่บ้าน แต่ยังมีบางกลุ่ม บางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้

ข้อมูลอื่น ๆ

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

ทรัพยากรดิน

พื้นที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับที่ลาดชัน ที่ราบเป็นดินเหนียวเหมาะแก่การเพาะปลูกข้าว ที่ลาดชันเป็นดินร่วน เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืชไร่ และทำสวนผลไม้ และปลูกยางพารา

ทรัพยากรน้ำ

มีชลประทานขนาดเล็ก ที่บ้านเหมืองทอง บ้านกลาง บ้านโพนทอง มีลำห้วยใหญ่ ไหลผ่านที่สำคัญ2 แห่ง คือ ห้วยกลม และห้วยหงาว และลำห้วยขนาดเล็ก คือ ห้วยไผ่ ห้วยสะเอี่ยน ห้วยบักย่อย ห้วยเทียน ห้วยผักกูด ห้วยพิชัยห้วยปะกำ ห้วยนา ห้วยซำทอง ห้วยเมี่ยง ห้วยผุก

ข้อมูลสถานที่ราชการของตำบล

1.เทศบาลตำบลเชียงกลม

2.เทศบาลตำบลคอนสา

3.โรงเรียนเชียงกลมวิทยา

4.โรงเรียนชุมชนบ้านเชียงกลม

5.โรงเรียนชุมชนบ้านปางคอม

6.โรงเรียนชุมชนบ้านห้วยผักกูด

7.โรงเรียนบ้านโพนทอง

8.โรงเรียนชุมชนบ้านคอนสา

9.โรงเรียนคอนสาวิทยา

10.โรงเรียนบ้านห้วยนา

11.โรงเรียน ตชด.ฮิลมาร์พาเบิล บ้านเหมืองทอง

12โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเชียงกลม

13โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคอนสา

14.กศน.ตำบลเชียงกลม