Communicable Disease Control

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

ภารกิจ บทบาทหน้าที่ของงาน

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี

1. งานควบคุมโรคโรคติดต่อทั่วไป

1.1 งานป้องกันควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน เพื่อการป้องกัน ควบคุมโรค

2) จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3) บันทึกข้อมูล On hand ผ่านระบบ VMI เรื่องวัสดุ เวชภัณฑ์ต่างๆ PPE ที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง

4) ควบคุม กำกับ และรายงานผลการดำเนินงาน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5) เตรียมความพร้อมควบคุมป้องกันระบาด และภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ

6) จัดประชุมคณะกรรมการเตรียมความพร้อมรับการระบาดใหญ่ของโรคติดต่อที่เป็นปัญหา

7) ประชุมจัดทำแผนปฏิบัติการเตรียมความพร้อมควบคุมการระบาดของโรค

8) ซ้อมแผนเตรียมความพร้อมรองรับการควบคุมการระบาดของโรค

9) ฝึกอบรม ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำในการปฏิบัติงาน แก่เจ้าหน้าที่ระดับอำเภอ ตำบล

10) สวบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค

11) สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

12) เป็นวิทยากรให้ความรู้ แก่หน่วยงานและสถานประกอบการ

13) นิเทศ ติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานและการเตรียมความพร้อมในการป้องกัน ควบคุมโรคของสถานบริการ/โรงพยาบาล

1.2 งานโรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ประสานการดำเนินงานกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ในการประชาสัมพันธ์ รณรงค์เผยแพร่ความรู้ เพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

2) จัดหาและสนับสนุน วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกัน ควบคุมโรคให้หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3) สนับสนุนสื่อ สิ่งพิมพ์ แก่กลุ่มประชากรเป้าหมาย ผ่านทางโรงพยาบาลและสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ

4) สวบสวนและควบคุมโรคร่วมกับหน่วยงานทุกระดับในที่ที่เกิดการระบาดของโรค ตามแนวทางการควบคุมโรค

5) รวบรวม และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.3 งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ประสานการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกับสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ

2) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคทุกระดับ

3) ติดตามและประเมินผลงานงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในโรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

4) ควบคุม กำกับ ผลงานการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน ในระบบคลังข้อมูล HDC

5) กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เก็บรวบรวมจำนวนเป้าหมายตั้งเป็นยอดเป้าหมาย เสนอขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง และจัดสรรในรายโรงพยาบาล โดยมีการดำเนินการประสานยอดการจัดสรรที่ได้รับตอบกลับตามโรงพยาบาล และส่งตามระบบ VMI ของโรงพยาบาล

6) สำรวจความต้องการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและรวบรวมเพื่อขอการสนับสนุนจากส่วนกลาง

7) จัดทำทะเบียนระบบ VMI ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และดูแลตรวจสอบระบบ VMI ของเครือข่ายในจังหวัด

8) จัดหาและคงคลังวัคซีนกรณีที่มีการระบาดของโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

2. งานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่เฉพาะ

3. งานควบคุมโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ประสานและสนับสนุนวิชาการด้านโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

2) ติดตามประเมินผล

3) ศึกษาวิจัย/จัดทำฐานข้อมูล/ระบาดวิทยาโรคเอดส์

4) ประสานการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการยุติปัญหาเอดส์จังหวัดจันทบุรี

4. งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) การดำเนินการป้องกันควบคุมโรค

1.1 โรคเลปโตสไปโรซิส

1.2 โรคพิษสุนัขบ้า

1.3 โรคอื่น ๆ ที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน

2) การสนับสนุนงานโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่นเอกสาร แผ่นพับ แผ่นปลิว โปสเตอร์ อุปกรณ์ในการป้องกันควบคุมโรค เช่น รองเท้าบูท ถุงมือ ฯลฯ

5. งานโรควัณโรค มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมวัณโรคในระดับจังหวัด

2) ติดตามและประเมินผลงานควบคุมวัณโรคในจังหวัด

3) จัดทำทะเบียนวัณโรคระดับจังหวัด จัดทำรายงาน การค้นหาผู้ป่วยวัณโรค รายงานผลเสมหะปราศจากเชื้อเมื่อสิ้นสุดระยะเข้มข้น รายงานผลการรักษา และรายงานการดำเนินงานผสมผสานวัณโรคและโรคเอดส์ ของจังหวัด ให้ผู้ประสานงานระดับเขต

4) จัดประชุม DOT Meeting ๔ ครั้งต่อปี

5) ประสานงานควบคุมวัณโรคภายในและภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานรัฐ

6) เฝ้าระวัง รวบรวมวิเคราะห์ปัญหาวัณโรคในระดับพื้นที่

7) รณรงค์ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลโรควัณโรค

8) พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและเครือข่ายการเฝ้าระวังโรควัณโรค


6. งานโรคเรื้อน มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) เฝ้าระวัง รวมรวมวิเคราะห์ปัญหาโรคเรื้อนในระดับพื้นที่

2) ประสานงานควบคุมโรคเรื้อนภายใน ภายนอกจังหวัดและระหว่างหน่วยงานภาครัฐและอื่นๆ

3) ฝึกอบรมบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมป้องกันโรคเรื้อน

4) ติดตามและประเมินผลงานควบคุมโรคเรื้อนในจังหวัด

5) ประสานและสนับสนุนยารักษาโรคเรื้อนให้กับพื้นที่

7. งานป้องกันควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง

7.1 งานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด

2) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคไข้เลือดออก

3) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต

4) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกในระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล สถานศึกษา ศาสนสถาน

5) ประสานงานขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประสานงานกับสื่อมวลชนในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น ในการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

6) ประชุมวอร์รูมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด

7) ประเมินมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล

8) สนับสนุนสื่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกให้กับระดับอำเภอ/ตำบล/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สถานศึกษา

9) รวบรวมข้อมูล สรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก

7.2 งานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรียระดับจังหวัด

2) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล โรคไข้มาลาเรียระดับจังหวัด

3) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.)

4) รายงานผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้มาลาเรีย

7.3 งานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ควบคุม กำกับ การดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบ ระดับจังหวัด

2) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคไข้สมองอักเสบระดับจังหวัด

3) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(เทศบาล/อบต.) กับสำนักงานป้องกันควบคุมโรค

4) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบในระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล สถานศึกษา ศาสนสถาน

5) ประสานงานกับสื่อมวลชนในระดับจังหวัด/ท้องถิ่น ในการเผยแพร่ข่าวสารและประชาสัมพันธ์

6) สนับสนุนสื่อการป้องกันควบคุมโรคไข้สมองอักเสบให้กับระดับอำเภอ/ตำบล/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/สถานศึกษา

7.4 งานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้าง มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ควบคุมกำกับการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบล

2) วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูล การระบาดของโรคเท้าช้างระดับจังหวัด/อำเภอ/ตำบลเฉพาะพื้นที่เสี่ยง

3) ประสานงานการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล/อบต.) กับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต

4) สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเท้าช้างในระดับจังหวัด

8. งานสอบสวนโรค (JIT) มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) ดำเนินงานตามนโยบาย แนวทางในการเฝ้าระวัง สอบสวน ป้องกัน ควบคุมโรค

2) อำนวยการ ควบคุม กำกับ และประเมินปัญหาสุขภาพโรคติดต่อในพื้นที่ ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา

3) พัฒนาระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคและภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด

4) เป็นศูนย์การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวน ป้องกัน ควบโรค และภัยสุขภาพที่เป็นปัญหาในจังหวัด

5) ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ให้สนับสนุนทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว เพื่อการสอบสวน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

6) ตรวจสอบ ยืนยันข้อมูลการวินิจฉัยโรคจากหน่วยงานที่พบผู้ป่วยและแจ้งทีม JIT พื้นที่ที่พบผู้ป่วย

7) ยืนยันการการระบาดโดยวิเคราะห์ข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและสถานการณ์โรค

8) จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ ในกรณีต้องดำเนินการเก็บตัวอย่างสิ่งส่งตรวจ

9) จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์สารเคมีสำหรับควบคุมป้องกันโรคและแบบสอบสวนโรค

10) ค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และผู้สัมผัสโรค

11) รวบรวมข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลพื้นฐาน ประวัติการรับเชื้อ ประวัติการเดินทางของผู้ป่วย คนในครอบครัวและคนในละแวกเดียวกัน

12) สรุปลักษณะรูปแบบการระบาดของโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด

13) เก็บวัสดุตัวอย่างสิ่งส่งตรวจเพื่อตรวจหาเชื้อจากผู้ป่วย ผู้สัมผัส สิ่งแวดล้อม เพื่อค้นหาแหล่งโรค/ รังโรค

14) แจกจ่ายยา เวชภัณฑ์และเวชภัณฑ์มิใช่ยา ที่ใช้ในการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่ที่มีการระบาด

15) ปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลาราชการ (ตามคำสั่งปฏิบัติงานอยู่เวรนอกเวลาและวันหยุดราชการ)

16) ประเมินและพัฒนาทีม JIT ทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด จนถึงพื้นที่ ให้ได้มาตรฐาน

9. งานเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) เฝ้าระวังโรคติดต่อ

2) จัดทำรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำวัน (เฉพาะบางโรคที่มีการระบาด) ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน ประจำปี และเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง

3) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและเตือนภัยแก่ผู้เกี่ยวข้อง

4) ควบคุม กำกับ ประเมินผล การดำเนินงานระบาดวิทยาของจังหวัด และอำเภอ

5) พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา และทีมตระหนักรู้สถานการณ์ (SAT) ทุกระดับ

6) ศึกษาวิจัย และส่งเสริมนวัตกรรมทางด้านระบาดวิทยา

10. งานบริหารจัดการภัยพิบัติ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) รายงานและสรุปสถานการณ์การเกิดอุบัติภัย ของจังหวัด

2) ดำเนินงานตามนโยบาย แนวทางการปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัด

3) พัฒนาและเตรียมความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (EOC) ทุกระดับตั้งแต่ระดับจังหวัด จนถึง พื้นที่ ในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

4) จัดทำแผนและฝึกซ้อมแผนเตรียมความพร้อมตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระดับจังหวัด

5) ประสานการฝึกซ้อมแผนภัยพิบัติกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

11. งานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) การจัดทำแผนงานและแนวทางด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อในระดับจังหวัด

2) การส่งเสริมและสนับสนุนทางด้านวิจัยและวิชาการในระดับจังหวัด

3) การให้คำปรึกษาแนะนำการดำเนินงานวิจัยและวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ

4) ดำเนินงานศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมโรคติดต่อ

5) ร่วมดำเนินงานศึกษาวิจัยในพื้นที่กับหน่วยงาน/ส่วนราชการต่างๆ

12. งานตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. ๒๕๕๘ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

2) การถ่ายทอดความรู้ เสนอแนะ ให้คำแนะนำ แก่ประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมาย ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ ๒๕๕๘

2) ขับเคลื่อน และประสานงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด

3) จัดประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด อย่างน้อย ๒ ครั้ง/ปี

4) พัฒนาศักยภาพเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ

13. งานศูนย์เด็กเล็กปลอดโรค มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) สนับสนุนคู่มือ / แนวทางการดำเนินงานในพื้นที่

2) จัดประชุมร่วมกับพื้นที่ ชี้แจงการดำเนินงานให้กลุ่มเป้าหมาย

3) จัดอบรมผู้ดูแลเด็ก สนับสนุนวิชาการ และสื่อความรู้

4) นิเทศ/ชี้แนะ การดำเนินงานแก่ศูนย์เด็กเล็ก

5) ประเมินผลการดำเนินงานแก่ศูนย์เด็กเล็กตามข้อกำหนดและเกณฑ์การประเมินรับรองเป็นศูนย์

เด็กเล็กปลอดโรค

6) สรุปผลการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบ

14. งานการจัดการข้อมูลและสารสนเทศ มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

1) จัดทำข้อมูลพื้นฐานและสารสนเทศของกลุ่มงาน บน Web site

2) จัดทำข่าวประชาสัมพันธ์ของกลุ่มงานบน Faecbook

3) บันทึกข้อมูลตามโปรแกรม SMS และ Cockpit ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจันทบุรี