นายอนุชา อินทศร
หัวหน้าสำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา 

พันธกิจของสำนักงานจังหวัด

                     เนื่องจากสำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานราชการ  จึงมีการจัดโครงสร้างและการบริหารจัดการในรูปแบบขององค์การระบบราชการ  (Ideal Type Bureaucracy) ที่แบ่งงานกันตามความถนัดเฉพาะด้าน  (Specialization)ยึดหลักสายการบังคับบัญชาตามลำดับชั้น (Hierarchy)  ยึดกฎหมาย  และระเบียบเป็นหลักในการปฏิบัติงาน (Procedures and regulations)  เน้นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นส่วนตัว  ไม่ยึดติดในตัวบุคคลแต่ยึดตำแหน่งเป็นหลัก (Impersonality) มีรับบุคลากรเข้าทำงาน  และเลื่อนตำแหน่งหรือให้ผลตอบแทนตามความสามารถ (Competency)  และมีความมั่นคงในอาชีพการงาน (tenure) 

                     สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย  ที่สำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา (Back Office ) สำหรับผู้ว่าราชการจังหวัด กล่าวคือ  ทำหน้าที่ให้คำแนะนำหรือแสดงข้อคิดเห็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ว่าราชการจังหวัด ในการบริหารราชการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด โดยมีจุดมุ่งหมาย ดังนี้

                            ๒.๑  เพื่อเป็นศูนย์กลางการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ภายในจังหวัด ในการร่วมกันพัฒนาจังหวัดให้เจริญก้าวหน้า

                            ๒.๒  เป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาราชการของจังหวัด พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางของข้อมูลข่าวสารและระเบียบปฏิบัติราชการที่ครบถ้วน

                            ๒.๓  เพื่อบริหารงานภายใต้การจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล อย่างสูงสุด

                            ๒.๔  เพื่อให้บริการแก่ภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนในสังคม ให้ได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด

                            ๒.๕  สนับสนุนให้การบริหารราชการของผู้ว่าราชการจังหวัดและของส่วนราชการต่างๆ ใน ฐานะสำนักงานเลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โครงสร้างสำนักงานจังหวัด

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๖๐ แบ่งส่วนราชการของจังหวัดไว้  ซึ่งได้ระบุถึงสำนักงานจังหวัดและหน้าที่ความรับผิดชอบไว้ด้วย  ดังนี้

                (๑.) สำนักงานจังหวัด  มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไป และการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้น มีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการ และรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด

                 (๒.) ส่วนต่างๆ  ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม  ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้น ๆ  มีหน้าที่ส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ

อำนาจหน้าที่สำนักงานจังหวัด

วัตถุประสงค์ของสำนักงานจังหวัด

     ๑.  เพื่อตรวจสอบ เสนอแนะ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด

      ๒. เพื่อรับผิดชอบงานอื่นๆ ที่ไม่มีหน่วยงานใดรับผิดชอบโดยตรง

     ๓. เพื่อกำกับดูแล เกี่ยวกับการติดตามผลการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด

     ๔. เพื่อจัดงานบริหารราชการทั่วไปของจังหวัดเช่น งานเลขานุการ งานบริหารงานบุคคล  ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด

     ๕. เพื่อประสานราชการกับหน่วยงานต่างๆ