การพัฒนาศักยภาพผู้นำรุ่นใหม่

นครชัยบุรินทร์มีความเข้มแข็ง มีแผนยุทธศาสตร์ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ภาครัฐ

โครงการพัฒนาศักยภาพคนและเครือข่ายองค์กรชุมชน "กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์"

กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ มุ่งพัฒนายกระดับสร้างความเข้มแข็งของขบวนองค์กรชุมชน ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ภาคประชาชนสู่การบูรณาการเชื่อมโยงแผนพัฒนา ทั้งในระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด มีการเชื่อมโยงภาคีพัฒนา/เชื่อมโยงข้อมูล/กระจายข้อมูล/พัฒนาองค์ความรู้/การสร้างอุดมการณ์ร่วมของคนในจังหวัด

กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 หรือ กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ รวมตัวกันขึ้นมาเพื่อดำเนินการขับเคลื่อนงานพัฒนากับองค์กรภาคีเครือข่ายภาคประชาชน หน่วยงาน ภาคประชาสังคม และองค์กรพัฒนาต่าง ๆ ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ ซึ่งประกอบด้วย จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดชัยภูมิ จังหวัด บุรีรัมย์ และ จังหวัดสุรินทร์ โดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานสนับสนุน ในรูปแบบหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา 

มีพื้นที่ประมาณ 51,718.19 ตารางกิโลเมตร

จำนวนหมู่บ้าน นครราชสีมา 3,743 ชัยภูมิ 1,617 บุรีรัมย์ 2,546 สุรินทร์ 2,120 หมู่บ้าน

จำนวนตำบล นครราชสีมา 289 ชัยภูมิ 123 บุรีรัมย์ 188 สุรินทร์ 158 ตำบล

จำนวนอำเภอ นครราชสีมา 32 ชัยภูมิ 16 บุรีรัมย์ 23 สุรินทร์ 17 อำเภอ

จำนวนประชากร นครราชสีมา 2,639,226 ชัยภูมิ 1,139,356 บุรีรัมย์ 1,591,905 สุรินทร์ 1,397,180 คน

วิสัยทัศน์ :

ขบวนองค์กรชุมชมกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์มีความเข้มแข็ง มีแผนยุทธศาสตร์ สัมพันธ์เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาครัฐ

วัตถุประสงค์ :

1) เพื่อพัฒนาศักยภาพของแกนนำเครือข่ายองค์กรชุมชนให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการองค์กร ที่เป็นธรรมาภิบาลและสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชนในระดับพื้นที่ อย่างมีประสิทธิภาพ

2) เพื่อกระตุ้นส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทในการขับเคลื่อนงานของขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

3) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงแกนนำเครือข่ายองค์กร เครือข่ายภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

4) เพื่อการเชิดชูบุคลากร แกนนำ นักพัฒนา ผู้ทรงคุณค่า ให้ดำรงอยู่อย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรีในสังคม

เป้าหมาย :

ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ (วิธีการ) การขับเคลื่อนงานขององค์กรชุมชนเพื่อให้บรรลุภาพที่อยากเห็นในอนาคต

ขบวนองค์กรชุมชนและภาคประชาสังคมเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

1) ผลักดัน/ประสานงาน/เชื่อมโยงเชิงนโยบายสาธารณะประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด

2) พัฒนาระบบการติดตามสนับสนุนเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัด

3) สร้างกระบวนการเรียนรู้เสริมความเข้มแข็งขบวนองค์กรชุมชนระดับจังหวัด

4) ออกแบบเครื่องมือสนับสนุนการทำงานของพื้นที่ ตำบล อำเภอ จังหวัด ภายใต้ยุทธศาสตร์อีสานหนึ่งเดียว

5) มีระบบข้อมูลเชิงบริหารยุทธศาสตร์/ระบบข้อมูลกลางพัฒนากลุ่มจังหวัด

ผลที่คาดว่าจะได้รับ :

1) เกิดแผนพัฒนาตำบล แฟ้มตำบล แกนนำคนรุ่นใหม่ ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพิ่มขึ้น ในระดับจังหวัด เกิดผู้นำในขบวนองค์กร

2) แกนนำในชุมชนมีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจ และขีดความสามารถในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สามารถเป็นแกนหลักในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ตลอดจนรู้เท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในประเด็นที่มีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น

3) ขยายผลการพัฒนา สามารถเชื่อมโยงคนรุ่นใหม่เข้าสู่ขบวนการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและขับเคลื่อนงานพัฒนาในท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรมเพิ่มขึ้น จำนวนของแกนนำคนรุ่นใหม่ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานเพิ่มขึ้น ในระดับจังหวัด

4) เกิดแผนที่เครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดำเนินการด้วยตนเอง นำไปสู่การปฏิบัติตามแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด