ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ชื่อนายอาทิตย์ หนูกล้วย อายุ ๕ ปีระดับการศึกษา  ปริญญาตรี ปราชญ์ชาวบ้าน  ด้าน เกษตรกรรม

ที่อยู่ปัจจุบัน  บ้านเลขที่ ๖๗   หมู่ที่ ๔ บ้านโนนศิลา ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ   จังหวัดบึงกาฬ

โทรศัพท์มือถือ ๐๖๓-๗๓๖๐๒๐๔  อาชีพ เกษตรกร   ตำแหน่งหน้าที่ในเกษตรอำเภอ  เกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบล

สถานที่ทำงานศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ประจำตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

โทรศัพท์มือถือ ๐๙๘-๐๘๐๑๕๑๕

ปัจจุบันกำลังศึกษา การเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย

หลักสูตรการพัฒนาการเกษตร  ชื่อสถานศึกษา สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

สำเร็จการศึกษา จาก กศน. หลักสูตร  การทำเกษตรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 ( MOA )  เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม โดยมูลนิธิเอ็ม โอเอ ไทย เมื่อวันที่  ๒๖ - ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๖๑ 

ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอเมืองบึงกาฬจังหวัดบึงกาฬ


นายอาทิตย์  หนูกล้วย  เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  มีความรู้ความสามารถด้านการทำเกษตรธรรมชาติ ยึดถือและปฏิบัติตามหลักการและแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการแบ่งพื้นที่สำหรับการจัดการน้ำ การปลูกข้าวนาโยน การปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชสมุนไพร การเลี้ยงเป็ด  เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู ถือเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวเป็นอย่างดี มีการสืบสานและพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ โดยการรวมกลุ่มต่างๆ อาทิกลุ่มเลี้ยงสัตว์ เข้าร่วมเป็นคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ   เข้ารับการอบรมเกษตรธรรมชาติ ต่อยอดโดยการผลิตปุ๋ยจากผักตบชวา มูลวัว มูลหมู ทำการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ และน้ำหมักชีวภาพทำจำเศษอาหารที่เหลือทิ้งจากครัวเรือน ผลผลิตทางการเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ TOAF PGS Organic Thailand (ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน) นอกจากนั้นได้นำเทคโนโลยีพื้นบ้านมาพัฒนาองค์ความรู้โดยการทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ใช้เองในครัวเรือน นำเทคโนโลยีการสูบน้ำพลังแสงอาทิตย์ ใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนจากโซล่าเซลล์  ใช้เครื่องอัดฟางข้าวมาเป็นอาหารวัว พัฒนาการทำนาดำ ให้เป็นนาโยน ลดต้นทุนการผลิต วัสดุธรรมในพื้นที่ทุกอยากมีประโยชน์ มีรายได้ จนได้ชื่อว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่ นาทองคำ” เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ กศน.ตำบลไคสี เปิดให้ผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาการทำเกษตรทฤษฎีใหม่


นายอาทิตย์  หนูกล้วย  สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น โดยดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรบนพื้นที่ ๓๐ ไร่ ประกอบด้วย การปลูกข้าวนาโยน การปลูกพืชผักผสมผสาน ไม้ผล ไม้ยืนต้นพืชสมุนไพร ในรูปแบบของการทำเกษตรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการไม่ใส่สารเคมีใดๆทั้งสิ้นลงในดิน ทำให้ดินสะอาดร่วนซุยไม่มีสารตกค้างในดิน โดยการตรวจดินจากมูลนิธิเอ็มโอเอไทย จังหวัดลพบุรี และผ่านการรับรองแปลงที่ได้มาตรฐาน (MOA) พืชผักในเนื้อที่ ๓๐ ไร่ ไร้สารเคมี และการทำเกษตรธรรมชาติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  การเลี้ยงเป็ด  เลี้ยงปลา เลี้ยงวัว เลี้ยงหมู ทำการผลิตปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ ผลผลิตทางการเกษตรได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของ TOAF PGS Organic Thailand (ระบบการรับรองแบบมีส่วนร่วมโดยชุมชน) นอกจากนี้ยังมีการวางแผนและจัดการผลผลิตน้ำ การสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับเกียรติบัตรปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาชาวบ้านดีเด่น ระดับจังหวัดบึงกาฬ  ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นผู้มีจิตอาสา เสียสละ และดำรงเอกลักษณ์ความเป็นเกษตรที่ดีสืบไป