เนื้อหาบทเรียน

ความหมายของการสังเกต

การสังเกต โดยพื้นฐานหมายถึงการเฝ้าดูและจดบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การสังเกตท่วงท่าการบินของนกโดยเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด ชีววิทยาและดาราศาสตร์จัดเป็นศาสตร์ที่มีพื้นฐานทางประวัติศาสตร์จากการสังเกตโดยนักสมัครเล่น เราอาจมีความสุขกับการสังเกตโดยทำเป็นงานอดิเรกก็ได้ เช่น นักดูนก และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เป็นต้น

ที่มา : https://www.dltv.ac.th/teachplan/episode/38615

ลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ของสัตว์ป่า

สัตว์มีลักษณะการเกิดที่เราสามารถแยกได้ 2 ลักษณะด้วยกัน คือ

    • สัตว์ที่ออกลูกเป็นตัว คือสัตว์ที่มีลักษณะดังนี้

    • สัตว์ที่เลี้ยงดูตัวอ่อนให้เจริญเติบโตอยู่ในท้องแม่ จนกว่าจะแข็งแรงจึงจะคลอดออกมาจากแม่

    • สัตว์ที่ให้กำเนิดลูกทีละตัว เช่น วัว ควาย ช้าง ม้า

    • สัตว์ที่ให้กำเนิดลูกทีละหลายๆ ตัว เช่น หมู แมว หนู สุนัข ฯลฯ

    • ลูกที่คลอดออกมาใหม่ จะมีลักษณะเหมือนพ่อ แม่ แต่มีขนาดเล็ก พ่อ แม่จะดูแลลูกจนกว่าจะแข็งแรง แต่สัตว์บางชนิดพบว่า ลูกอ่อนของสัตว์บางชนิด เมื่อคลอดแล้วยังต้องอาศัยอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ต่ออีกระยะหนึ่ง เช่น จิงโจ้ หมีโคล่า ฯลฯ

    • สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่ เช่น ไก่ เป็ด นก เต่า จระเข้ งู ฯลฯ สัตว์จำพวกนี้จะออกลูกเป็นไข่ ครั้งละหลายๆ ฟอง ไข่มีเปลือกหุ้มเพื่อป้องกันตัวอ่อนที่อยู่ภายใน สัตว์ที่ออกลูกเป็นไข่มีลักษณะที่แตกต่างกัน ดังนี้

    • สัตว์บางชนิดแม่จะเฝ้าดูแลปกป้องไข่จนกว่าจะฟักเป็นตัว เช่น แมงมุม ปลา ฯลฯ

    • สัตว์บางชนิดจะกกให้ความอบอุ่นกับไข่ และหลังจากที่ลูกฟักออกมาเป็นตัวแล้ว แม่ก็ยังดูแลต่อจนกว่าลูกจะแข็งแรง เช่น ไก่ เป็ด นก ฯลฯ

    • สัตว์บางชนิดเมื่อวางไข่แล้วจะปล่อยไข่นั้นทิ้งไป เช่น เต่า กบ และแมลง

วัฎจักรชีวิตของสัตว์

    • ระยะเวลาของวัฏจักรชีวิตของสัตว์แต่ละชนิดใช้เวลาตั้งแต่เกิดจนถึงวัยเจริญเติบโตแตกต่างกัน เช่น

วัฏจักรชีวิตของกบกบ มีการผสมพันธุ์ภายนอก คือ ตัวเมียปล่อยไข่และตัวผู้ปล่อยอสุจิออกมาผสมกันภายนอกร่างกาย (ในน้ำ) กบมีการเปลี่ยนแปลงจากไข่จนถึงตัวเต็มวัย มี 4 ขั้นตอนคือ ไข่ ลูกอ๊อด ลูกกบ ตัวเต็มวัย

    • ขั้นที่ 1 กบตัวเมียจะวางไข่ในน้ำ ไข่กบจะมีเมือกหุ้มอยู่ ทำให้ไข่ลอยอยู่ผิวน้ำและป้องกันอันตรายจากสัตว์อื่นกินเป็นอาหาร

    • ขั้นที่ 2 ไข่ที่ได้รับการผสมแล้ว ใช้เวลาประมาณ 12 วัน จะเจริญเปลี่ยนเป็นตัวอ่อนระยะที่ 1 เรียกว่า ลูกอ๊อด จากลูกอ๊อดจะมีการเปลี่ยนแปลงในระยะนี้ภายใน 1 เดือนกลายเป็นตัวอ่อนระยที่ 2 โดยที่ขาหลังจะงอกออกมาก่อน

    • ขั้นที่ 3 จากตัวอ่อนระยะที่สอง ใช้เวลาประมาณ 112 - 2 เดือน จะมีขางอกออกมาครบ 4 ขา หรือทั่วไปเรียกว่า ตัวอ่อนระยะที่ 3

    • ขั้นที่ 4 จากตัวอ่อนระยะที่ 3 ใช้เวลาประมาณ 7 เดือน ส่วนหางก็จะหดสั้นเข้าและหายไป จะกลายเป็นตัวเต็มวัย พร้อมจะขึ้นมาดำรงชีวิตบนบก


วัฏจักรชีวิตของผีเสื้อผีเสื้อ มีการเปลี่ยนแปลงจากไข่จนถึงตัวเต็มวัย 4 ขั้นตอน คือ

    • ขั้นที่ 1 ผีเสื้อจะวางไข่เล็กๆ 10-100 ฟอง บนใบไม้ ใช้เวลาประมาณ 10 วัน ไข่จะฟักออกมา

    • ขั้นที่ 2 ไข่ที่ฟักออกมาจะเป็นตัวหนอน มันจะกินใบไม้และเพิ่มขนาดตัวอย่างรวดเร็ว ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์

    • ขั้นที่ 3 ตัวหนอนจะเปลี่ยนรูปร่างไปโดยมีโครงสร้างคล้ายถุงหุ้ม เรียกว่า ดักแด้ ช่วงนี้จะไม่กินอาหาร เป็นระยะที่ตัวอ่อนอยู่นิ่งมากที่สุด

    • ขั้นที่ 4 หลังจากนั้น 2-3 สัปดาห์ ผีเสื้อจะค่อยๆ คลี่ปีกยื่นออกมาจากดักแด้ เจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย

การอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่น

      • ในท้องถิ่นของเรามีสัตว์มากมายหลายชนิด มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามชนิดของสัตว์นั้นๆ สัตว์ในท้องถิ่นมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่นรวมทั้งเป็นปัจจัยที่บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นนั้นด้วย

      • ประเทศไทยเรา เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์หลากหลายชนิด บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น สมัน บางชนิดใกล้สูญพันธุ์ เช่น เลียงผา ในประเทศไทยเป็นสัตว์ป่าสงวนที่ใกล้สูญพันธุ์ดังนั้นเราควรช่วยดูแล และอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่นของเราให้คงอยู่ตลอดไป ปัจจัยที่จำเป็นในการดำรงชีวิตของสัตว์ในท้องถิ่น สัตว์ในท้องถิ่นมีการดำรงชีวิตที่หลากหลาย แต่มีปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตเช่นเดียวกัน คือ น้ำ อาหาร อากาศและที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตาม สัตว์แต่ละชนิดมีความต้องการอาหารแตกต่างกัน บางชนิดกินพืช บางชนิดกินสัตว์เป็นอาหาร บางชนิดกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร

การอนุรักษ์สัตว์ป่า

      • สัตว์ป่ามีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงคนเราด้วยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม เราจึงต้องมีวิธีการป้องกันและแก้ไขไม่ให้สัตว์ป่าลดจำนวนหรือสูญพันธุ์ด้วยการอนุรักษ์สัตว์ป่า

      • ด้วยการออกกฎหมายคุ้มครอง เช่น พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 กฏหมายได้กำหนดไว้ว่า ไม่อนุญาตให้ล่าได้

      • หรือมีไว้ในครอบครอง (ซึ่งรวมถึงซากของสัตว์ ป่าสงวนหรือซากของสัตว์ป่าคุ้มครอง) หรือค้า เว้นแต่การกระทำโดยทางราชการเพื่อการศึกษา วิจัย การเพาะพันธุ์หรือเพื่อกิจการสวนสัตว์

      • สาธารณะ หากผู้ใดครอบครองแต่เดิมให้นำมาขึ้นทะเบียนต่อป่าไม้อำเภอภายใน 90 วันนับแต่วันประกาศ หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายจะต้องละวางโทษจำคุกไม่เกินสี่สิบปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

      • นอกจากนี้ เรายังสามารถช่วยกันรณรงค์ เผยแพร่ให้เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สัตว์ป่าอย่างแท้จริง

      • การป้องกันไฟป่า เป็นหนึ่งในวิธีการอนุรักษ์สัตว์ป่าได้เช่นกัน เพราะไฟป่านอกจากจะทำให้ป่าไม้ถูกทำลายแล้วยังเป็นการทำลายแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าด้วย

      • การกำหนดกฎหมายและวิธีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ป่าเป็นแหล่งอาหารที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อาทิ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า เขตเพาะพันธุ์สัตว์ป่า ฯลฯ ให้มีมากเพียงพอ

สัตว์ป่าแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

      • สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายาก 15 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา ละอง ละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกเแต้วแล้วทองดำ นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

      • สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าตามที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น กระทิง กระรอกบิน กวาง เก้ง ชะมด ชะนี นกยูง นกแร้ง นกเงือก งูเหลือม ปูราชินี ฯลฯสัตว์ป่าคุ้มครองแบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ

      • สัตว์ป่าคุ้มครอง ประเภทที่ 1 ห้ามไม่ให้ล่าด้วยวิธีทำให้ตาย เว้นแต่จะทำเพื่อการศึกษา วิจัยทางวิชาการ สัตว์ป่าประเภทนี้มีด้วยกัน 166 รายการ ส่วนใหญ่เป็นนก เช่น นกกาน้ำทุกชนิด นกกระสา นกกระทาดง ไก่ฟ้าทุกชนิด นกโกโรโกโส นกกะปูด นกกระเต็น นกกางเขนบ้าน นกเขา นกเค้าแมวทุกชนิด นกเงือกทุกชนิด นกตีทอง ฯลฯ นอกนั้นได้แก่ ค่างทุกชนิด ชะนีทุกชนิด ชะมด บ่าง แมวป่า ลิงลม หรือนางอาย ลิงทุกชนิด สมเสร็จ เสือลายเมฆ เสือไฟ เสือปลา หมีขอ หรือบินตุรง หมูหริ่ง หมาหริ่ง อีเห็น

      • สัตว์ป่าคุ้มครอง ประเภทที่ 2 ตามกฎหมายอนุญาตให้ล่าได้ ให้มีไว้ในครอบครองได้ แต่ต้องได้รับอนุญาตและมีใบอนุญาตติดตัวอยู่ตลอดเวลาอนึ่ง ในการล่าสัตว์ป่านั้นไม่ว่าจะเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าอื่นๆ เช่น เสือ หมูป่า กระต่าย จะทำได้เฉพาะเวลากลางวันเท่านั้น ยกเว้นเสือที่มากินซากที่ได้ทำให้ตายไว้ก่อน ซึ่งให้ล่าได้ในเวลากลางคืน การล่าสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ผู้ล่าต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ต่างๆ และต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วย


ความสำคัญของการลักษณะเฉพาะของสัตว์

  1. ทำให้สามารถจำแนกสัตว์ได้อย่างชัดเจน

  2. รู้ลักษณะนิสัยของสัตว์

  3. รู้พฤติกรรมของสัวต์ ความเป็นอยู่

  4. ทำให้เราสามารถเข้าใจความเป็นอยู่ของสัตว์ได้อย่างชัดเจน