อาชีพ ตำบลบ้านน้อยซุ้มขี้เหล็ก

เครื่องจักสาน เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของไทยที่มีมาช้านานและผลิตกันทุกภาค ภาคของ ประเทศไทย ซึ่งใน มีกลุ่มชาวบ้านหมู่ที่ 6 ที่ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตั้งกลุ่มกันทำเครื่องจักสานจะใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นวัตถุดิบใน การผลิต เช่น หวาย ไม้ไผ่ ย่านลิเพา กระจูด กก ฯลฯ เมื่อนำมาผลิตเป็นเครื่องมือใช้ในชีวิตประจำวัน โดย สนองความต้องการประโยชน์ใช้สอยพื้นฐานเป็นสำคัญ

เครื่องจักสานจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น และมีความสำ พันธ์อย่าง ใกล้ชิดกับวิถีของคน ไทยจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านที่มีการสร้างสรรค์ และ สืบทอดต่อเนื่องกันมาแต่อดีต นับตั้งแต่การออกแบบลวดลาย รูปทรง โครงสร้าง ตลอดจนการเลือกใช้วัสดุ พื้นบ้านได้อย่างเหมาะสมตามคตินิยมท้องถิ่นนั้นๆ ทำให้เครื่องจักสานพื้นบ้านของไทยมีเอกลักษณ์ เฉพาะงานแตกต่างกันไป ในตำบลวังสำโรงมีกลุ่มอาชีพในเรื่องของการจักสาน จัดทำกลุ่มอาชีพ จักสานตะกร้าพลาสติก เกิดจากภูมิปัญญาที่มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นใน ลักษณะของการทำเครื่องจักสานลักษณะต่างๆ ซึ่งแต่เดิมได้นำวัตถุดิบจากธรรมชาติเท่าที่จะหาได้ใกล้ตัวมา ทำให้เกิดประโยชน์ เช่น ไม้ไผ่ หวาย เป็นต้น ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากในพื้นที่แถบนี้มาสานเป็นสิ่งของ เครื่องใช้สำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน ต่อมาเห็นว่าควรจัดทำเครื่องจักสานตะกร้าพลาสติกเนื่องจาก ประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่มีความรู้เรื่องจักสานอยู่แล้วเพียงแต่ปรับเปลี่ยนวัสดุการสานมาเป็นเส้นพลาสติก เพื่อให้เกิดความทนทาน และสามารถออกแบบเครื่องจักรสานได้หลากหลายกว่า และหากชาวบ้านคนใดจะ ยึดเป็นอาชีพเสริมก็สามารถทำได้และจะเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการจักสานของคนรุ่นหลังได้สืบทอดต่อไป

วิธีการทำดังนี้ 1. เลือกสายพลาสติก และสีสันที่ชอบ เพื่อให้เกิดลวดลายสวยงาม ได้พื้นสีฟ้า (สีสมมติ) กับทำลาย เป็นสีเขียว (สีสมมติ) 2. ตัดเส้นพลาสติก สีฟ้า (สีสมมติ) ยาว 28 นิ้ว จำนวน 14 เส้น (วิธีตัดต้องให้เป็นปลาย เฉียงๆ เพื่อง่ายต่อการสอดสานกัน และจำนวนเส้นขึ้นอยู่กับขนาดของผลิตภัณฑ์ที่จักสาน) 3. เริ่มจากวางเส้นพลาสติก 7 เส้น เรียงให้เสมอกัน เทคนิคคือเอาสมุดหนาๆ มาทับไว้ไม่ให้ เส้นพลาสติกเลื่อนไปมา และนำอีก 7 เส้นมาขัดกันเป็นกากบาท ให้อยู่กึ่งกลาง และสลับขึ้นลงบนล่าง และ จัดเส้นให้เท่ากัน 4. นำเส้นข้างใต้เส้น ประมาณเส้นที่ 3 ที่อยู่ข้างใต้ นำมาสอดและเป็นการล็อค ทั้ง 2 ฝั่งซ้าย ขวา และทำการล็อคเช่นเดียวกัน ทั้งด้านบนและด้านล่าง 5. พับเส้นทุกเส้น ตามรอยที่เป็นขอบของการสาน เป็นการขึ้นรูปตะกร้า 6. เริ่มการตัดเส้นสีเขียว (สีสมมติ) เพื่อนำขึ้นรอบทำลายของตะกร้า ใช้ความยาว 18 นิ้ว จำนวน 11 เส้น (วิธีตัดต้องให้เป็นปลายเฉียงๆ เพื่อง่ายต่อการสอดสานกัน จำนวนเส้นขึ้นอยู่กับขนาด ของผลิตภัณฑ์ที่จักสาน) 7. จากนั้นนำเส้นสีฟ้า (สีสมมติ) ที่ล็อคไว้ออกถอยออกมา เพื่อเป็นการเตรียมเริ่มการสานขึ้นรูป 8. ทำการขึ้นเส้นสีเขียว (สีสมมติ) มาขัดไปมายึดเกณฑ์จากตรงกลางของเส้นทั้งหมดก่อน สลับไป มาเป็นตารางไปเรื่อย ๆ 9. ชั้นที่ 2 ดันเส้นให้ชิด ก็สานสลับกันไปเป็นชั้นๆ โดยจะต้องมีการล็อคเส้นเพื่อไม่ให้เลื่อนไปมา เสมอ 10. พอสานไปจนใกล้ขอบก็ทำการเหน็บเส้นให้ไปทางเดียวกัน ทิ่มลงไปทางก้นตระกร้า เพื่อเตรียม เอาเส้นสีเขียวมาทำขอบ 11. เริ่มทำขอบนำเส้นพลาสติกสีเขียว (สีสมมติ) 2 เส้นประกบกัน แล้ววางทาบไปกับขอบ ตระกร้าดึงเส้นสีฟ้า (สีสมมติ) ที่ล็อคดึงกลับมา แล้วก็สานทับไปกับขอบเส้นสีเขียว (สีสมมติ) แต่ต้องสลับ ลายสีไปด้วยเพื่อเป็นการสร้างขอบตระกร้าให้เกิดลวดลาย ทำอย่างนี้ทุกเส้นรอบตระกร้า 12. ขั้นทำการเก็บชาย ตัดชายให้สั้นพอดีกับการซ่อนลายได้แล้วก็เหน็บเก็บเข้าไปด้านใน ทำทุก เส้นเพื่อความเรียบร้อย 13. การทำหู ตัดเส้นพลาสติก 2 เส้น แล้วนำมาตัดผ่าครึ่ง 14. เพื่อนำไปถัดสานขัดกันไปมานั้นไขว้เส้นพลาสติก 2 เส้นเข้าหากัน โดยจะเรียงเป็น 4 เส้น การถัก คือ นำเส้นซ้ายสุด มาไขว้อ้อมไปด้านหลังวกกลับของเส้นที่ 3 ต่อด้วยนำเส้นขวาสุด นับถอยหลัง ไปไขว้ด้านหลังวกกลับเส้นที่ 3 เช่นกัน ทำสลับไปมาอย่างนี้จนสุดปลายพลาสติก