ภูมิปัญญาท้องถิ่น

ตำบลบ้านกระแชง

ภูมิปัญญาท้องถิ่นตำบลบ้านกระแชง

ภูมิปัญญาด้านหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ชื่อ-สกุล นายบรรจง ทองย่น

วัน/เดือน/ปีเกิด วันที่ 22 ธันวาคม 2494

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี

ชื่อภูมิปัญญาด้าน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 55/10 หมู่ ๒ ต.บ้านกระแชง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000

ประกอบอาชีพ ข้าราชการเกษียณ

โทรศัพท์มือถือ 0874514214

นายบรรจง ทองย่น ข้าราชการเกษียณ จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ "บ้านธรรมชาติบำบัด" เป็นศูนย์การเรียนรู้หลักปรัชบญาของเศรษฐกิจพอเพียงตำบลบ้านกระแชง

การประสานประโยชน์ร่วมกัน

ภาวะเศรษฐกิจ สังคมและการดำรงชีพในปัจจุบันทำให้รายได้ของชนชั้นกลางลงมาล่างถดถอย ค่าครองชีพที่สูงขึ้น สินค้าจำเป็นราคาแพงขึ้น แต่รายรับยังคงเท่าเดิม การหากินฝืดเคือง การค้ารายย่อยทยอยปิดตัว เพราะถูกผู้ค้าปลีกรายใหญ่ขยายธุรกิจครอบคลุมครบวงจร

เกษตรกรและผู้ประกอบอาชีพรายย่อยในชุมชน จึงต้องหันมาร่วมมือกันนำความสามารถเฉพาะตัว และของดีในชุมชนที่ตนอยู่อาศัย มาร่วมด้วยช่วยกันเพื่อความอยู่รอด …

นี่คือที่มาของชุมชนและคนสูงวัยกับ“เครือข่ายอาชีพชุมชน”ที่มีกลุ่มสูงวัยใจอาสาเป็นตัวกลางประสานประโยชน์ร่วมกัน

ใครเป็นใครใน “เครือข่ายอาชีพชุมชน”

  • เกษตรกรตัวอย่าง ทำฟาร์มเห็ดเล็กๆ ที่เน้นสร้างชุมชนมากกว่าการค้า “ป้านา” ธนพร โพธิ์มั่น แห่งหมู่บ้านเกษตรพอเพียง ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านคลองขวางบน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

  • ชาวนาหน้าใหม่ ผู้มีใจรักษ์ธรรมชาติ และเข้าร่วมโครงการแปลงสาธิตเกษตรทฤษฏีใหม่กับจังหวัดปทุมธานี ลุงยักษ์ พนาสนฑ์ และครอบครัว วิจิตรโอฬาร แห่งบ้านสวนเกษตรตำบลหน้าไม้ อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

  • ธรรมชาติบำบัด และศูนย์การเรียนรู้เพื่อผู้สูงวัย “ครูจง” บรรจง ทองย่น ผู้เดินตามรอยเท้าพ่อด้วยชีวิตที่พอเพียง ผู้สละทุนทรัพย์สร้างมหาวิชชาลัยชุมชน บ้านกระแชงสานสุข อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

  • ใจอาสา เว็บไซต์เครือข่ายผู้สูงวัยและภูมิปัญญาชุมชน “ลุงแดงใจอาสา” ครูพิสุทธิ์ สมประสงค์ ประธานชมรมสูงวัยใจอาสา และภูมิปัญญาผู้สูงวัยต้นแบบศิลปะไม้ไอติม อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี

  • แชมพูมะกรูดแฮร์เบสต์ สินค้าชุมชนของคนสร้างงาน ลุงปรีชา สมวงษ์เจ้าของประโยค “ชุมชนอยู่ไม่ได้ ผู้สูงวัยจะลำบาก” ประธานกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์สมุนไพรชุมชนไว้ท์เฮ้าส์ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี

  • ขนมไทยพื้นบ้าน สินค้าชุมชนของชมรมผู้สูงอายุตำบลบ้านกระแชง ป้าต้อย เสาวลักษณ์ พลับนิล สูงวัยใจอาสาที่ต้องการสืบสานการทำขนมไทยๆ ให้ลูกหลาน จากรายการลุยไม่รู้โรยอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

  • ประชาสังคมชุมชน ป้าใจ เพ็ญวดี วุฒิศิรินุกูล ใจอาสาชุมชนคนหนองเสือ ผู้ประสานงานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มสูงวัยใจอาสาอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี

  • หัตถกรรมสร้างอาชีพ กับ ห้องเรียนชุมชน ครูนิ กรรณิการ์ พุ่มคำ ครูใจอาสาที่เสนอตัวเข้ามาเป็นวิทยากรประจำห้องเรียนชุมชน เพื่อเชื่อมต่อระหว่างคนรุ่นใหม่กับผู้สูงวัยอำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

  • ขนมหวานบ้านดอนไผ่ ครูอัญชัน รัตน์เกล้า คชเสถียร ครูจิตอาสาโรงเรียนบ้านดอนไผ่ ราชบุรี ศิษย์ร่วมสำนักศูนย์เพาะเห็ดถ้ำกระบอก กับป้านาเห็ดพอเพียง และครูนิ

  • เก้าอี้มหัศจรรย์ ลุงกำนัน ลมูล ป่าตุ้ม กลุ่มงานประดิษฐ์สูงวัยใจอาสา อำเภอลำลูกกา ผู้ร่วมบุกเบิกและสานต่อเก้าอี้มหัศจรรย์ ของปู่แสวงต้นแบบภูมิปัญญาแป้นยืนเพื่อสุขภาพ

กลุ่มก่อตั้งเครือข่ายอาชีพชุมชนมีการประชุมครั้งที่1/2559 ที่บ้านธรรมชาติบำบัด ของครูบรรจง ครั้งที่ 2/2559 ที่หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ของป้านา ธนพร และครั้งที่3 ที่ศูนย์ถ่ายทอดภูมิปัญญาใจอาสา วิสาหกิจชุมชนบ้านบ่อทอง ของป้าต้อย ครัวปรีชา

วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อให้ความรู้สมาชิกในเครือข่ายทราบถึงแหล่งทุนเพื่อการสร้างอาชีพ และการเขียนโครงการฯ การแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการผลิตและจำหน่าย ตลอดจนการรวมตัวกันของเครือข่ายเพื่อขยายโอกาสของสินค้าชุมชน

พ่อสอนให้เราพึ่งตัวเอง บนพื้นฐานความพอเพียง และร่วมมือกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งในรูปของกลุ่มอาชีพ เครือข่ายชุมชนและสหกรณ์ออมทรัพย์ ถึงเวลาแล้วที่คนไทยต้องกอดคอกัน สร้างความสามัคคี ร่วมมือกันเอื้อเฟื้อต่อกัน และรวมกันเป็นเครือข่าย “สานต่อเพื่อพ่อของแผ่นดิน”

เพราะเราเชื่อเสมอว่า ก้าวไปด้วยกัน …. ไปได้ไกล

พิสุทธิ์ สมประสงค์ ประธานชมรมสูงวัยใจ update : 25-7-60

Create Date : 25 กรกฎาคม 2560

Last Update : 6 มีนาคม 2565 17:28:52 น.

Counter : 1226 Pageviews.

แหล่งที่มา : พิสุทธิ์ สมประสงค์ . [ออนไลน์]. https://www.bloggang.com/viewblog.php?id=is-sa-ra&date=25-07-2017&group=34&gblog=2

ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

ชื่อ-สกุล นายบารมี ศิริวงษ์

วัน/เดือน/ปีเกิด 10 สิงหาคม 2538

ระดับการศึกษา ปริญญาตรี

ชื่อภูมิปัญญาด้าน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (ขับร้องเพลงพื้นบ้านลำพาข้าวสาร)

ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน 48 หมู่ที่ 1 ต.บ้านกระแชง อ.เมืองปทุมธานี จ.ปทุมธานี 12000

ประกอบอาชีพ พนักงานบริษัท

โทรศัพท์มือถือ 0967657359

นายบารมี ศิริวงษ์ ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นคนรุ่นใหม่ซึ่งเป็นผู้สืบสานประเพณีท้องถิ่น ประพันธ์ขับร้องเพลงพื้นบ้าน (ขับร้องเพลงพื้นบ้านลำพาข้าวสาร) ประวัติความเป็นมาของการลำพาข้าวสารจะจัดทำขึ้นหลังวันออกพรรษาช่วงเขตกฐิน (วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ - วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) ในเวลากลางคืนระหว่างเวลา ๑ ทุ่ม ถึงเที่ยงคืน ชาวไทยรามัญชาย – หญิง ทั้งคนหนุ่มคนแก่คณะหนึ่งลงเรือลำใหญ่เรียกว่า เรือเจ้าขาว หัวเรือจุดตะเกียงให้แสงสว่างในเรือมีกระบุง กระสอบสำหรับใส่ข้าวสารและสิ่งของอื่น ๆ เครื่องดนตรี ได้แก่ ซอ จะเข้ ขลุ่ย ฉิ่ง กลอง (เปิงมาง) ต่อมาเพิ่มระนาด บรรเลงประกอบการร้อง จัดให้คนแก่คนหนึ่งแต่งกายนุ่งขาวห่มขาวเป็นประธานนั่งกลางลำเรือ ส่วนคนอื่นจะแต่งอย่างไรก็ได้ช่วยกันพายเรือไปตามบ้านทั่วไป พอถึงจอดเรือที่หัวบันไดบ้านแล้วร้องเพลงเป็นทำนองบอกบุญเชิญชวนให้ทำบุญร่วมกัน เมื่อเจ้าของบ้านได้ยินเพลง ก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นการมาบอกบุญเพื่อรวบรวมข้าวสาร สิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปทอดกฐิน ก็จะรีบนำลงมาให้ที่เรือพร้อมยกมือไหว้เป็นการอนุโมทนาด้วย คณะเรือเจ้าขาวก็จะร้องเพลงให้พรเจ้าของบ้าน แล้วจึงพายเรือไปยังบ้านอื่น ๆ ต่อไป คณะเรือเจ้าขาวจะออกบอกบุญครั้งละหลาย ๆ คืน จนกว่าเห็นว่าข้าวของที่ได้มาเพียงพอที่จะทอดกบินแล้วงจึงยุติ การบอกบุญแบบนี้สันนิษฐานว่า เริ่มมีขึ้นประมาณกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น หรืออาจเป็นประเพณีที่มีอยู่ก่อนในเมืองมอญแล้วก็ได้ ครั้นอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เกาะเกร็ดก็ยังถือปฏิบัติสืบต่อมา เดิมเนื้อร้องเพลงบอกบุญเป็นภาษามอญ ต่อมารัชกาลที่ ๒ ได้เสด็จ ฯ เยี่ยมชาวไทยรามัญที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนที่เมืองนนทบุรี เมืองสามโคก หลายครั้ง ครั้งหนึ่งพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ พระเจ้าหลานยาเธอในรัชกาลที่ ๒ (พระองค์เจ้าขาว – พระโอรสในกรมพระเทเวศน์วัชรินทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ กับเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด ต้นสกุลวัชรีวงศ์) ได้ตามเสด็จฯ และทรงทราบถึงประเพณีการ้องเพลงบอกบุญเป็นภาษามอญ พระเจ้าหลานยาเธอพระองค์นี้จึงได้ทรงริเริ่มนิพนธ์เนื้องเพลงบอกบุญเป็นภาษาไทย เพื่อจะได้ร้องบอกบุญแก่คนไทยได้ด้วย ส่วนทำนองร้องยังคงเดิม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาเพลงบอกบุญของชาวไทยรามัญก็ได้มีเนื้อเพลงเป็นภาษาไทย และมีชื่อว่า เพลงเจ้าขาว ตามพระนามเดิมของพระองค์ กศน.ตำบลบ้านกระแชง ร่วมมือกับคณะรำพาข้าวสารศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้านตำบลบ้านกระแชง เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลที่ได้ร่วมมือกับชุมชนในการจัดการศึกษา ศิลปะ วัฒนธรรมให้กับประชาชน เยาวชนในท้องถิ่น โดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอนุรักษ์ สืบทอด ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาไทย มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอนุรักษ์ สืบสานไว้เป็นเอกลักษณ์ให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย กศน.ตำบลบ้านกระแชงร่วมมือกับศูนย์การเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีพื้นบ้านวัดสำแลเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกับชุมชน ท้องถิ่นในการศึกษา สร้างสรรค์ สืบสาน และถ่ายทอดให้กับเยาวชนได้เห็นคุณค่า มีความรัก หวงแหน และยึดมั่นปฏิบัติสืบทอดมิให้ขาดหายไปกับสภาพของการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบันและอนาคต