วิทยานิพนธ์


บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอน ของครู เปรียบเทียบบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูจำแนกตามขนาดของ โรงเรียน ศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการสอนของครูผู้สอนจากผู้บริหารโรงเรียน ตามความ คิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้จากการสุ่มอย่างง่ายครูผู้สอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา 30 โรง จำนวน 266 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบตรวจสอบรายการ (check list ) และคำถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน และค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยในเรื่องบทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครู พบว่า ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ การอนุญาตให้ครูพานักเรียนศึกษาดูงานในแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ในท้องถิ่น ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ผู้บริหารเยี่ยมชั้นเรียนที่นักเรียนมีปัญหาในการเรียน ด้านการพัฒนาคุณภาพของครู ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ การส่งครูเข้ารับการอบรม / ศึกษาต่อ ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ส่งเสริมการสอนเป็นทีม ด้านการส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ ให้ครูตระหนักในหน้าที่ความเป็นครู ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ ฆ ให้ครูคำนึงถึงขั้นเงินเดือนพิเศษที่จะได้รับ และด้านการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ผู้บริหารส่งเสริมมากที่สุด คือ มอบเกียรติบัตร/รางวัล แก่ครูผู้มีผลงานดีเด่นในที่ประชุมครู ส่งเสริมน้อยที่สุด คือ จัดสันทนาการเพื่อเป็นเกียรติแก่ครูผู้มีผลงานดีเด่น จากการศึกษาเปรียบเทียบบทบาทผู้บริหาร โรงเรียนในการส่งเสริมครู ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูในโรงเรียนที่มีขนาดแตกต่างกันมีความแตกต่างกัน ปัญหาที่พบมากที่สุดและแนวทางแก้ไขปัญหาการสอนของครูในแต่ละด้านจากผู้บริหาร โรงเรียนตามความคิดเห็นของครูมีดังนี้ คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ด้านการเรียนการสอน ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ครูได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่นอกเหนือจากการสอนมากทำให้ไม่มีเวลาในการจัดการเรียนการสอนแบบหลากหลาย ควรแก้ไขปัญหาโดยผู้บริหารไม่ควรให้ความสำคัญกับงานพิเศษมากกว่าด้านการเรียนการสอน เพราะทำให้ครูมุ่งทำงานพิเศษเพื่อมุ่งหวังความดีความชอบไม่มีเวลาดูแลเอาใจใส่นักเรียน ด้านการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือโรงเรียนไม่สามารถจัดหางบประมาณสนับสนุนครูได้อย่างพอเพียง ควรแก้ไขโดยผู้บริหารจัดสรรงบประมาณสำหรับการศึกษา อบรม ดูงาน ให้เพียงพอ ด้านการส่งเสริมให้ครูมีความก้าวหน้าในวิชาชีพ ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ครูขาดแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ควรแก้ไขโดยผู้บริหารต้องกระตุ้นครู โดยการจูงใจให้ครูพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และด้านการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ ไม่มีหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการยกย่องเชิดชูครูผู้มีผลงานดีเด่น ควรแก้ไขโดยกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการทำผลงานครูดีเด่น


ศรีวรรณ สงวนทรัพย์ (2548)บทบาทผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการสอนของครูตามความคิดเห็นของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี.วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 

ชื่อผู้จัดทำ ( ปีพ.ศ.) ชื่อเรื่อง . วิทยานิพนธ์ สาขา มหาวิทยาลัย (ไม่เกิน 10 ปี)


ารวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1 จำนวน 285 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเทียบหากลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน โดยใช้อำเภอเป็นชั้นในการสุ่ม เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบวัดทักษะของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 29 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และตอนที่ 2 แบบวัดการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 จำนวน 27 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย

มลฤดี สวนดี (2565) ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลยัราชภัฏรำไพพรรณี .


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 4) สร้างสมการพยากรณ์สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อ การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี ปีการศึกษา 2563 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) จำนวน 346 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นชั้นใน การแบ่ง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามสมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และตอนที่ 2 แบบสอบถามการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย

ธวัชชัย แสนดวง (2565) สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาการบริหารการศึกษา.

การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา; The Development of a Causal Model of Transformational Leadership of Vocational Administrators under the Vocational Education Commission Office

ไกรรัช เทศมี Krairuch Thetmee

ปริญญาเอก สาขาวิชาอาชีวศึกษา ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนโมเดลเชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Models) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า โมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (2=301.99, df = 131, 2/df=2.305, GFI = 0.983, AGFI = 0.945, RMR = 0.042,RMSEA = 0.044) โมเดล เชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษา ประกอบด้วยปัจจัย การบริหารงานเชิงสถานการณ์ ความฉลาดทางอารมณ์การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ซึ่งปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายความแปรปรวนภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษาได้ร้อยละ 50.3 ปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ การบริหารงานเชิงสถานการณ์ รองลงมาคือ ความฉลาดทางอารมณ์การเสริมสร้างพลังอำนาจในการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ตามลำดับ

ไกรรัช เทศมี (2558) การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ .ปีที่ 10 ฉบับที่29 ปี2558 หน้า 73-88.

รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (A MODEL OF COLLECTIVE LEADERSHIP DEVELOPMENT FOR THE SCHOOL COMMITTEE IN SECONDARY EDUCATION LEVEL)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มีวิธีการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน 1) การสร้างรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา เป็นการศึกษาองค์ประกอบ และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมจากเอกสารเกี่ยวกับทฤษฎีภาวะผู้นำ และการสัมภาษณ์คณะกรรมการสถานศึกษา 2) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา 3) การประเมินประสิทธิภาพรูปแบบของกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมและผลกระทบของการใช้รูปแบบ ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเป็นแบบจำลองที่แสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ 4 ส่วน คือ 1) ทิศทางของรูปแบบการพัฒนา กระบวนการพัฒนา ผลลัพธ์ของรูปแบบการพัฒนา และปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนา 2) คณะกรรมการสถานศึกษาและทีมสนับสนุน ได้รับการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมโดยการเปลี่ยนแปลงทักษะการเรียนรู้ และการทำงานเป็นทีม 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบกระบวนการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีการเปลี่ยนแปลงด้านทักษะการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีม และการศึกษาผลกระทบของการใช้รูปแบบ พบว่าคณะกรรมการสถานศึกษามีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นดีขึ้น คณะกรรมการสถานศึกษาเข้าใจบทบาทและหน้าที่มากขึ้น เห็นคุณค่าของเป้าหมายร่วมในการพัฒนาโรงเรียน 

ฐิติพงษ์ ตรีศรและอนุชา กอนพ่วง ( 2562) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรปีที่ 21 ฉบับที่ 1 มกราคม–มีนาคม 2562 หน้า 60-74

ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

              การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผล และนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา 215 คน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา 215 คน และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือครู 860 คน และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และผู้เชี่ยวชาญ 8 คน โดยการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมและปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม มีค่าความเที่ยง .96 และ .95 แนวคำถามการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ประกอบด้วย การมีวินัย การประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ และความรับผิดชอบในวิชาชีพ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ประกอบด้วย การมีบุคคลต้นแบบและได้ร่วมงานกับบุคคลที่มีจริยธรรม การได้รับการส่งเสริมจริยธรรมจากสถาบันทางสังคม การอยู่ในสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่ส่งเสริมจริยธรรม การมีคุณลักษณะของตนเองที่เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรม สถานศึกษามีบรรยากาศองค์การ ปทัสถานทางสังคม วัฒนธรรมองค์การเน้นจริยธรรม และมีระบบการให้รางวัลและการลงโทษด้านจริยธรรม 3) ปัจจัยมีอิทธิพลทางบวกต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม และ 4) ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม ได้แก่ พัฒนาสถานศึกษาเป็นองค์การเน้นจริยธรรม พัฒนาคุณลักษณะของตนเอง ส่งเสริมบทบาทของสถาบันทางสังคม พัฒนาบุคคลแวดล้อม และปรับสิ่งแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรม 

กันยมาส ชูจีน ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ สุภมาส อังศุโชติ และรุ่งเรือง สุขาภิรมย์ (2562)ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานวารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรปีที่21ฉบับที่2เมษายน-มิถุนายน2562 หน้า 20-33

อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: แนวคิด และการประยุกต์ (The influence of transformational leadership on corporate social responsibility: Concept and application)

ความรับผิดชอบต่อสังคมถือเป็นประเด็นที่องค์กรในปัจจุบันต้องหันมาให้ความสำคัญ เนื่องจากการดำเนินงานขององค์กรต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนั้น ปัจจุบันยังเกิดกระแสเรียกร้องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ให้องค์กรต้องหันมารับผิดชอบต่อสังคมอย่างจริงจัง ซึ่งการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรจะส่งผลกระทบเชิงบวกต่อผู้มีส่วนได้   ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ รวมทั้งต่อองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมอีกด้วย โดยการดำเนินงานด้านความรับผิดต่อสังคมขององค์กรจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร จากการวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจัยภายในองค์กรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ประกอบด้วย ปัจจัยด้านนโยบายขององค์กร ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ปัจจัยด้านความพร้อมของทรัพยากรองค์กร รวมทั้ง ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เนื่องจากคุณลักษณะที่สำคัญของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ คุณลักษณะด้านการมีอิทธิพลทางความคิด ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการกระตุ้นให้เกิดปัญญา และด้านการให้ความสำคัญกับความเป็นปัจเจก ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องและมีอิทธิผลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น บทความนี้ผู้เขียนจึงมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอแนวคิดที่สำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร เพื่อเป็นประโยชน์ทางวิชาการ และต่อการนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนต่อไป 

สานิตย์ หนูนิล ( 2562) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร: แนวคิด และการประยุกต์ปีที่ 39 ฉบับที่ 1
(ม.ค. - ก.พ. 2562) หน้า 64-74

ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นําของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัด นครศรีธรรมราช 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา และด้านการคํานึงถึงเอกัตบุคคล (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นําของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาใน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามตัวแปร เพศ ตําแหน่งวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการทํางาน และขนาดโรงเรียน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นําของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัด นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556 จํานวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จํานวน 60 ข้อ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบพหุคูณด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นําของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) ผลการ เปรียบเทียบภาวะผู้นําของผู้บริหารตามทัศนะของครูพบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน ประสบการณ์ในการทํางาน ต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นําของผู้บริหารโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05, .001 และ .05 ตามลําดับ สําหรับครูที่มีตําแหน่งวิทยฐานะต่างกันมีทัศนะต่อภาวะผู้นํา ของผู้บริหารโดยภาพรวมและพิจารณารายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นํา ของผู้บริหารที่มีความสําคัญประกอบด้วย (3.1) บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (3.2) ประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา (3.3) มีความรู้ความสามารถและวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหาร (3.4) ส่งเสริมการ พัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง และ (3.5) มอบหมายงานอย่างโปร่งใสโดยคํานึงถึงความ แตกต่างระหว่างบุคคล 


กัลยา พรมทิพย์ ( 2558) ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารเทคโนโลยีภาคใต้  ปีที่ 8  ฉบับที่ 2  กรกฎาคม – ธันวาคม  2558 หน้า 79-90

ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์: ปัจจัยสำคัญในการจัดการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

          บทความนี้นำเสนอแนวคิดภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ทางการจัดการอาชีวศึกษาที่สอดรับกับยุคประเทศไทย 4.0 เป็นการศึกษาถึงคุณลักษณะของผู้นำและการนำเสนอ  แนวคิดใหม่ของภาวะผู้นำทางอาชีวศึกษาที่เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0 จนนำไปสู่ความเป็นผู้นำทางอาชีวศึกษามืออาชีพที่สามารถสร้างภาวะผู้นำในการนำตนเอง นำผู้อื่น และนำการทำงาน เป็นการสร้างความสมดุลระหว่างความเป็นศาสตร์และศิลป์ ที่ผู้นำมีอยู่ในตัว เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีวิสัยทัศน์  เพื่อพัฒนาสถานศึกษาไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายประเทศไทย 4.0 ซึ่งถือเป็นความท้าทายและเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริหารอาชีวศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาการอาชีวศึกษาเพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในยุคประเทศไทย 4.0
ธีรยุทธ รอสูงเนิน  (2561) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์: ปัจจัยสำคัญในการจัดการอาชีวศึกษายุคประเทศไทย 4.0.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน .ปีที่ 2 ฉบับที่ 24 ปี2561หน้า 173-343.

วิทยานิพนธ์ แปลอังกฤษเป็นไทย

Education as a soft power resource: A systematic review

 

 

Abstract

The role of higher education in the foreign policy of states has been increasing significantly in order to generate soft power. Nevertheless, the literature on the educational aspect of soft power has yet to be systematically reviewed. Therefore, this systematic review is conducted to delineate and analyze the major studies in the field of international higher education which indicates education as a soft power resource for a country. To identify the multiple and contrary arguments on the topic, this study reviewed 48 peer-reviewed articles published from 2001 to 2022. The data collected from the reviewed papers are organized into five sub-sections outlined in the results sections. The contradictions in the literature are examined within the sub-sections in order to understand the various perspectives on education as a resource of soft power. Through analyzing the data mentioned in the results section, this study provides a framework of the essential conditions to harness education as a soft power resource. Furthermore, this review also suggests prospects for future research in this area.

 

เชิงนามธรรม

บทบาทของการศึกษาระดับอุดมศึกษาในนโยบายต่างประเทศของรัฐได้เพิ่มขึ้นอย่างมากเพื่อสร้างพลังอ่อน อย่างไรก็ตาม วรรณกรรมด้านการศึกษาเกี่ยวกับพลังอ่อนยังไม่ได้รับการทบทวนอย่างเป็นระบบ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบ นี้ จึงดำเนินการเพื่อวิเคราะห์และวิเคราะห์การศึกษาที่สำคัญในสาขาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างประเทศที่บ่งชี้ว่าการศึกษาเป็นทรัพยากรพลังงานอ่อนของประเทศ เพื่อระบุข้อโต้แย้งหลายประการและขัดแย้งกันในหัวข้อนี้ การศึกษานี้ได้ทบทวนบทความที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 48 บทความซึ่งตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2565 ข้อมูลที่รวบรวมจากรายงานที่ได้รับการตรวจสอบได้รับการจัดแบ่งออกเป็นห้าส่วนย่อยตามที่ระบุไว้ในส่วนผลลัพธ์ ความขัดแย้งในวรรณกรรมได้รับการตรวจสอบภายในส่วนย่อยเพื่อทำความเข้าใจมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการศึกษาในฐานะทรัพยากรของพลังอ่อน ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลที่กล่าวถึงในส่วนผลลัพธ์ การศึกษานี้จัดทำกรอบเงื่อนไขที่จำเป็นในการควบคุมการศึกษาในฐานะแหล่งพลังงานอ่อน นอกจากนี้ การทบทวนนี้ยังแนะนำโอกาสในการวิจัยในอนาคตในด้านนี้ด้วย

 

Joseph Nye's soft power theory and its revelation towards ideological and political education

Humanit. Soc. Sci., 5 (2) (2017), pp. 69-74, 10.11648/j.hss.20170502.13