คำถามที่พบบ่อย
เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19

บุคคลกลุ่มใดบ้างที่ควรได้รับวัคซีนโควิด 19

รัฐบาลได้มีนโยบายให้ประชากรทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย (ทั้งคนไทยและต่างชาติ) ได้รับวัคซีน โควิด 19 อย่างทั่วถึง โดยตั้งเป้าหมายครอบคลุมร้อยละ 70 ของประชากร ภายในปี พ.ศ.2564 แต่ในช่วงที่มีจำนวน วัคซีนจำกัด อาจกำหนดให้วัคซีนในบุคคลกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อหรือมีภาวะที่จะเป็นโรครุนแรงก่อน ได้แก่
1. บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรังระยะ 5 โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน โรคมะเร็งทุกชนิดที่อยู่ระหว่างการรักษาด้วยเคมีบำบัด รังสีบำบัด และภูมิคุ้มกันบำบัดผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยจิตเวช ออทิสติกผู้ที่ดูแลตัวเองไม่ได้รวมถึงผู้ดูแล
3. ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
4. เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด 19 เช่น อสม./อสต. ทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่ต้อง คัดกรองผู้ที่เข้ามาจากต่างประเทศและในพื้นที่ที่มีการระบาด 5. ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่กำลังมีการระบาด
6. หญิงตั้งครรภ์ (อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์)

หญิงให้นมบุตร สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม

หญิงให้นมบุตร สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้ทุกชนิดที่มีในขณะนี้ ไม่จำเป็นต้องงดนมแม่หลังฉีดวัคซีน 

หญิงตั้งครรภ์ สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ทุกชนิดหรือไม่

กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ สามารถรับวัคซีนโควิด 19 ได้ทุกชนิดที่มีในขณะนี้ เมื่อมีอายุครรภ์ มากกว่า 12 สัปดาห์ เป็นต้นไป

ฉีดวัคซีนแล้วต้องคุมกำเนิดนานเท่าไหร่หลังฉีดวัคซีนจึงจะตั้งครรภ์ได้

ไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิด สามารถตั้งครรภ์หลังฉีดวัคซีนโควิด 19

ถ้าฉีดวัคซีนแล้วพบว่าตั้งครรภ์จะทำอย่างไร

ไม่ต้องยุติการตั้งครรภ์ เมื่อพบว่าตั้งครรภ์ภายหลังฉีดวัคซีน เพราะการศึกษาที่มีบ่งชี้ว่า วัคซีนไม่เป็น อันตรายต่อทารกในครรภ์หรือการตั้งครรภ์ ควรฉีดวัคซีนโควิด 19 ครั้งที่ 2 ได้ หลังอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป

มีข้อห้ามและข้อควรระวังอะไรบ้างในการฉีดวัคซีนโควิด 19 

วัคซีนทุกชนิดมีข้อห้าม คือ แพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของวัคซีนและเนื่องจากวัคซีนเหล่านี้เป็นวัคซีนใหม่ จึงอาจไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิกิริยาการแพ้ที่พบไม่บ่อย ในช่วงแรกจึงควรฉีดวัคซีนเหล่านี้ในสถานพยาบาลหรือสถานที่ ที่ให้การช่วยเหลือกรณีมีปฏิกิริยารุนแรง และควรเฝ้าระวังอาการหลังการฉีดอย่างน้อย 30 นาที ควรใช้วัคซีนแก่กลุ่ม ประชากรตามที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำเท่านั้น นอกจากนี้ ไม่ควรฉีดวัคซีนในกรณีดังนี้
- ขณะที่กำลังป่วย หรือร่างกายอ่อนเพลียจากสาเหตุต่าง ๆ ควรเลื่อนการฉีดไปก่อนจนกว่าจะเป็นปกติแล้ว
- ในกลุ่มอายุที่ไม่ได้รับการรับรอง
- ในหญิงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (แต่ฉีดในหญิงหลังคลอดหรือให้นมบุตรได้)
- ผู้ที่มีโรคประจ�ำตัวที่รุนแรงที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตที่อาการยังไม่คงที่ มีโรคกำเริบ นอกจากแพทย์ ประจำประเมินว่าฉีดได้ ในกรณีที่มีความกังวลอย่างมากในการรับวัคซีน ควรปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ ก่อน เข้ารับการฉีดวัคซีน

เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะทำให้เมื่อเป็นโรคโควิด 19 มีอาการรุนแรงน้อยลงหรือไม่

วัคซีนอาจไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ทั้งหมด แต่ป้องกันโรครุนแรงได้เกือบทั้งหมด ดังนั้น ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมากได้ ดังนั้นหลังฉีดวัคซีนจึงยังจำเป็นต้องรักษา มาตรการในการป้องกันเชื้อในชุมชน ได้แก่ การสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางกายภาพ หลีกเลี่ยงการ ไปยังที่ที่มีคนหนาแน่น และล้างมือบ่อย ๆ ต่อไปอย่างเคร่งครัด จนกว่าจะมีความมั่นใจว่าคนในชุมชนส่วนใหญ่ หรือเกือบทั้งหมดจะมีภูมิคุ้มกันโรคแล้ว จึงจะสามารถลดหย่อนมาตรการได้ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นผู้ให้คำแนะนำต่อไป


ผู้ป่วยที่มีปัญหาเลือดออกง่ายเกล็ดเลือดต่ำหรือเกล็ดเลือดทำงานผิดปกติ รับประทานยาต้านเกล็ดเลือดหรือยา ต้านการแข็งตัวของเลือด สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้หรือไม

สามารถรับวัคซีนได้ แนะนำให้ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็ก (25 หรือ 27) ที่กล้ามเนื้อต้นแขน หลังฉีดวัคซีนให้ กดนานประมาณ 5 นาที จากนั้นอาจใช้น้ำแข็งหรือเจลประคบเย็นช่วยประคบหลังฉีดวัคซีนได้ กรณีมีผลตรวจระดับ INR ต่ำกว่า 4.0 ภายใน 1 สัปดาห์, หรือมีผลระดับ INR ก่อนหน้านี้อยู่ในระดับต่ำกว่า 3.0 มาโดยตลอด (ไม่จำเป็นต้องหยุด หรือปรับขนาดยาและไม่จำเป็นต้องตรวจ INR ก่อนรับวัคซีน)

ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคโควิด 19 มาก่อนยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนโควิด 19 หรือไม่

ผู้ที่ยังไม่เคยฉีดวัคซีนมาก่อน หรือฉีดยังไม่ครบ 2 เข็ม หากป่วยเป็นโรคโควิด 19 ให้ฉีดวัคซีนชนิดใดก็ได้ เพิ่มอีก 1 เข็ม ภายใน 1-3 เดือนหลังจากเริ่มป่วย คนที่เคยได้ครบ 2 เข็มแล้ว ไม่ต้องฉีดเพิ่มอีก แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจ การติดเชื้อก่อนฉีดวัคซีน เพราะแม้เคยเป็นมาก่อนโดยไม่รู้ตัว ก็ไม่ทำให้มีอันตรายจากการฉีดวัคซีน

เมื่อมีไข้หรือปวดเมื่อยมาก สามารถรับประทานยาลดไข้ได้หรือไม่

เมื่อมีไข้หรือปวดเมื่อยมาก แนะนำให้รับประทานยาพาราเซตามอลเพราะมีราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และมี ปัญหาแพ้ยาน้อย ส่วนยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non steroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) ให้ใช้ได้ตามความจำเป็นเนื่องจากมีราคาแพงและอาจเกิดการแพ้ยาได้บ่อยกว่าพาราเซตามอล ผู้ที่เป็นโรคหัวใจไม่ควร รับประทานยากลุ่มลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เนื่องจากอาจทำให้ ความดันโลหิตสูงขึ้น เกิดภาวะเกลือคั่ง ซึ่งอาจนำไปสู่ ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ป่วยที่รับประทานยากลุ่มนี้เป็นประจำอยู่ก่อน สามารถให้รับประทานต่อได้

ก่อนฉีดวัคซีนจำเป็นต้องดื่มน้ำมาก ๆ หรือไม่

ควรดื่มน�้ำตามปกติ เท่าที่ร่างกายต้องการ 

ยาที่รับประทานอยู่เพื่อรักษาโรคประจำตัว จำเป็นต้องหยุดก่อนรับวัคซีนหรือไม่

โดยทั่วไปไม่ต้องหยุดยาที่รับประทานอยู่ ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์ที่ดูแล

สามารถฉีดวัคซีนสลับชนิดกันได้หรือไม่ และมีประสิทธิภาพดีหรือไม่

ขณะนี้องค์การอนามัยโลกยังไม่มีคำแนะนำอย่างเป็นทางการว่าสามารถฉีดวัคซีนสลับชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ได้แนะนำว่าหน่วยงานสาธารณสุขของแต่ละประเทศอาจพิจารณาตามผลการศึกษา ถ้าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนสลับชนิด ซึ่งประเทศไทยมีการศึกษาโดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย (ไบโอเทค) พบว่า การฉีดวัคซีน 66 บริษัท Sinovac เป็นเข็มที่ 1 และฉีดวัคซีนบริษัท AstraZeneca เป็นเข็มที่ 2 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส ให้อยู่ในระดับที่สูงได้เร็วมากขึ้น โดยสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีใกล้เคียงกับวัคซีนบริษัท AstraZeneca 2 เข็ม ซึ่งคาดว่าจะมีผลดีต่อการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลตา และไม่พบอาการข้างเคียงรุนแรงภายหลังได้รับวัคซีน ดังนั้น จึงสามารถให้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 1 ด้วยวัคซีนบริษัท Sinovac และเข็มที่ 2 ด้วยวัคซีนบริษัท AstraZeneca โดยมีระยะห่างระหว่างเข็ม 3 – 4 สัปดาห์ ซึ่งสามารถสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสให้อยู่ในระดับที่สูง ใกล้เคียงกับ ผู้ที่ได้รับวัคซีนบริษัท AstraZeneca จำนวน 2 เข็ม 

เนื่องจากมีการระบาดของโรคโควิด 19 สายพันธุ์เดลตา บุคลากรกลุ่มใดควรได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และ ต้องมีการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนชนิดใด และเมื่อใด

แม้ว่าวัคซีน Sinovac 2 เข็ม จะยังป้องกันการป่วยรุนแรงจากสายพันธุ์เดลต้าได้ดี แต่ประสิทธิภาพ ในการป้องกันการติดเชื้อจากสายพันธุ์เดลต้าลดลงมาก บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ดูแล ผู้ป่วยโควิด 19 มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง แม้อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรงแต่ทำให้ต้องกักตัว ส่งผลให้ขาดทรัพยากร บุคคลในการดูแลผู้ป่วย กระทรวงฯจึงกำหนดให้ที่บุคลากรด่านหน้าที่ได้รับวัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) ครบ 2 เข็ม ควรได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน AstraZeneca หรือวัคซีนชนิด mRNA อีก 1 เข็ม ห่างจาก เข็มที่ 2 อย่างน้อย 4 สัปดาห์ ส่วนบุคลากรผู้ที่ได้รับวัคซีน AstraZeneca ครบ 2 เข็มนั้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันยัง อยู่ในระดับที่สูงเพียงพอ จึงยังไม่ต้องฉีดเข็มกระตุ้นในระยะนี้ สำหรับประชาชนทั่วไป ยังไม่ได้แนะนำให้ฉีดวัคซีน เข็มที่ 3 ในขณะนี้ จนกว่าการฉีดวัคซีน 2 เข็มแรกจะดำเนินการได้มากแล้ว จึงจะมีการแนะนำต่อไป ควรให้คำแนะนำประชาชนทั่วไปว่า แม้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ยังสามารถติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ แม้ความรุนแรงจะลดลง จึงควรรักษา มาตรการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่างอย่างเคร่งครัดต่อเนื่อง