คำอธิบายรายวิชาเพิ่มเติม

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 รหัสวิชา ค32201 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 80 ชั่วโมง/ภาคเรียน 2.0 หน่วยกิต

***************************************************************************

ศึกษาความรู้เกี่ยวกับเรื่องจำนวนเชิงซ้อนและสมบัติของจำนวนเชิงซ้อน รากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่มากกว่า 1 จำนวนเชิงซ้อนในรูปเชิงขั้ว สมการพหุนามตัวแปรเดียว ฟังก์ชันตรีโกณมิติ ลักษณะกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติ ฟังก์ชันตรีโกณมิติผกผัน เอกลักษณ์และสมการตรีโกณมิติ กฎของไซน์และโคไซน์ เมทริกซ์และดีเทอร์มิแนนต์ เมทริกซ์สลับเปลี่ยน การบวกเมทริกซ์ การคูณเมทริกซ์กับจำนวนจริง การคูณระหว่างเมทริกซ์ เมทริกซ์ผกผัน แก้ระบบการเชิงเส้นโดยใช้เมทริกซ์

โดยเป็นความสามารถในการทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ วางแผน แก้ปัญหา และเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม โดนคำนึงถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้อง ความสามารถในการใช้เหตุผล รับฟังและให้เหตุผลสนับสนุน ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เป็นเครืองมือในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เนื้อหาต่าง ๆ หรือศาสตร์อื่น ๆ และนำไปใช้ในชีวิตจริง

เพื่อให้เข้าใจและใช้สมบัติของจำนวนเชิงซ้อน ความรู้เกี่ยวกับฟังก์ชันตรีโกณมิติ เมทริกซ์ ไปใช้ในการแก้ปัญหา


ผลการเรียนรู้

ข้อ 1 - 13

รวมทั้งหมด 13 ผลการเรียนรู้

ผลการเรียนรู้

รายวิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 3 รหัสวิชา ค32201 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 เวลาเรียน 80 ชั่วโมง/ภาคเรียน 2.0 หน่วยกิต

1. เข้าใจจำนวนเชิงซ้อนและใช้สมบัติของจำนวนเชิงซ้อนในการแก้ปัญหา

2. แก้สมการพหุนามตัวแปรเดียว ดีกรีไม่เกินสี่ ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นจำนวนเต็มและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

3. หารากที่ n ของจำนวนเชิงซ้อน เมื่อ n เป็นจำนวนนับมากกว่า 1

4. เข้าใจฟังก์ชันตรีโกณมิติและลักษณะกราฟของฟังก์ชันตรีโกณมิติและนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

5. แก้สมการตรีโกณมิติ และนำไปใช้ในการแก้ปัญหา

6. ใช้กฎของโคไซน์และกฎของไซน์ในการแก้ปัญหา

7. เข้าใจความหมาย หาผลลัพธ์ของการบวกเมทริกซ์ การคูณเมทริกซ์กับจำนวนจริง การคูณระหว่างเมทริกซ์และหาเมทริกซ์สลับเปลี่ยนหาดีเทอร์มิแนนต์ของเมทริกซ์ n x n เมื่อ n เป็นจำนวนนับที่ไม่เกินสาม

8. หาเมทริกซ์ผกผันของเมทริกซ์ 2 x 2

9. แก้ระบบสมการเชิงเส้นโดยใช้เมทริกซ์ผกผันและการดำเนินการตามแถว