หน่วยที่ 2

หน่วยที่ 2

ตำแหน่งงาน และ

ลักษณะการต่อชิ้นงาน

ชนิดของรอยต่อ

ท่าเชื่อมพื้นฐานในงานเชื่อม (Welding Position)

ในงานเชื่อมไม่ว่าจะเป็นเชื่อมแก๊ส หรือเชื่อมไฟฟ้า ท่าเชื่อมที่สามารถทำการเชื่อมได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่น

คือ การเชื่อมท่าราบ แต่สภาวะจริงในการปฏิบัติงานไม่สามารถเลือกท่าเชื่อมที่ถนัดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของงานที่ทำอยู่ สำหรับ

ท่าเชื่อมหรือตำแหน่งของการเชื่อมทั้งเชื่อมแก๊ส และเชื่อมไฟฟ้านั้น พอจะแบ่งลักษณะได้ดังนี้

1.ท่าราบ

ใช้สัญลักษณ์ F (FLAT POSITION) เป็นการเชื่อม ชิ้นงานที่วางอยู่ในระนาบเดียวกันกับพื้นราบซึ่งไม่ มีปัญหาเรื่องแรงดึงดูดของโลก จึงเป็นท่าเชื่อมที่เชื่อมง่ายกว่าท่าเชื่อม อื่น ๆ

2.ท่าขนานนอน

ใช้สัญลักษณ์ H (horizontal position) หรือท่าระดับเป็นการเชื่อมชิ้นงานที่วางอยู่ในแนวระดับ ซึ่งขนานกับแนวระนาบ ในการเชื่อมท่าเชื่อมนี้นั้น แรงดึงดูดของโลกจะมีผลต่อ การเชื่อม ทำให้เกิดข้อบกพร่อง คือรอยแหว่ง(Undercut) ขอบด้านบนของรอยเชื่อม

3.ท่าตั้ง

ใช้สัญลักษณ์ V (vertical position) เป็นการเชื่อมชิ้นงานที่วางอยู่ในแนวดิ่ง ซึ่งตั้งฉากกับแนวระดับ ในการ เชื่อมท่านี้นั้นแรงดึงดูดของโลก จะมีผลต่อการเชื่อมเช่นกัน ตามทิศทางของ การเชื่อม

4.ท่าเหนือศีรษะ

ใช้สัญลักษณ์ OH (overhead position) เป็นการเชื่อมชิ้นงานที่วางอยู่ในแนวระนาบ ในระดับ เหนือศีรษะของผู้เชื่อม ในการเชื่อมท่านี้นั้น แรงดึงดูดของโลก มีผลต่อการเชื่อมเป็นอย่างมากทั้งข้บกพร่องในรอยเชื่อมและอันตรายจากสะเก็ดไฟโลหะที่หลอมละลาย และความร้อนจากเปลวไฟที่สะท้อนกลับ

รอยต่อในงานเชื่อมจะมี ทั้งหมด 5 รอยต่อ

  1. ต่อชน

  2. ต่อเกย

  3. ต่อมุม

  4. ต่อขอบ

  5. ต่อตัวที