ประวัติการจัดตั้ง ศคอส

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นศูนย์กลางทางด้านภูมิศาสตร์มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูงมีการหลั่งไหลจากนักท่องเที่ยวตลอดจนแรงงานชาวต่างชาติเป็นจํานวนมากอีกทั้งการให้บริการรักษาพยาบาลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยมีความสามารถทัดเทียมกับนานาประเทศจึงได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติมาใช้บริการในหน่วยบริการสาธารณสุขของรัฐเพิ่มสูงขึ้นนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในประเทศไทยความเจริญของไทยทางเศรษฐกิจกระทรวงสาธารณสุขได้ดําเนินการโครงการสนับสนนุการเป็นเมืองศูนย์กลางบริการสขุภาพในภมูิภาค ASEAN ตั้งแต่ปีงบประมาณจนถึงปัจจุบัน โดยในระยะแรกได้ดําเนินการพัฒนาโรงพยาบาลที่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดน จํานวน 55 แห่ง ต่อมาคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองบริการสุขภาพ ปี 2558 ได้ตระหนักถึงการย้ายถิ่นอย่างเสรีของชาวต่างชาติ จึงได้กําหนดรูปแบบการดําเนินงานตามบริบทของพื้นที่ ใน 4 รูปแบบ ดังนี้

1 แนวตะเข็บชายแดน

2 เมืองท่องเที่ยว

3 เขตเศรษฐกิจพิเศษ

4 แนวระเบียงเศรษฐกิจ

และได้จัดตั้ง “ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านการสาธารณสุข : ศคอส. CENTER OF ASEAN HEALTH NETWORK COLLABORATION : AHNC ที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนนโยบาย กํากับ ติดตาม ส่งเสริม สนับสนุนให้ สถานบริการสุขภาพภาครัฐจัดระบบบริการสขุภาพชาวต่างชาติ ด้วยรูปแบบการ ให้บริการที่แตกต่างกันตามศักยภาพดังกล่าวข้างต้น (ภาพนิ่งป้ายและสถานที่ศคอส.) ปัจจุบันศคอส. ได้ดําเนินการครอบคลมุทั้ง 76 จังหวด โดยเชื่อมโยงประสานงานกับศูนย์บริการสขุภาพชาวต่างชาติ (ศบต.) ของโรงพยาบาลในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสขุทุกแห่ง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้จัดทําแผนที่ยุทธศาสตร์การเป็นเมืองศนูย์กลางบริการสขุภาพใน และวางกรอบแนวทางการดําเนินการ มาอย่างต่อเนื่อง

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ยังได้จัดตั้ง ศคอส. ระดับกระทรวง ตั้งอยู่ที่กลุ่ม งานพัฒนาระบบบริการเฉพาะ กองบริหารการสาธารณสขุ อาคาร 3 ชั้น 5 ตึก สํานักงานปลดักระทรวงสาธารณสุข โดยในปีงบประมาณ 2562 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพฒันาระบบบริการ สขุภาพชาวต่างชาติ ให้มีการขับเคลื่อน กํากับ ติดตาม ประเมินผลหน่วยบริการในสังกัดสํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและมีรองปลัดกระทรวงฯที่ได้รับมอบหมายให้กํากับดูแลโครงการและได้กําหนดเกณฑ์ SIM 3 เพื่อใช้ในการประเมินผลการดําเนินงาน ของ ศคอส. และ ศบต. ดังนี้

S : Structure มีโครงสร้าง สถานที่ตั้ง และบุคลากรรับผิดชอบ

3I : ประกอบด้วย I : Information การพฒันาระบบข้อมูลชาวต่างชาติ

I : Intervention การประชุมจัดทําแผนปฎิบัติการ

I : Innovation นวัตกรรมบริการสขุภาพชาวต่างชาติ

M : Monitor การกํากับ ติดตาม ประเมินผลการดําเนินงาน ปัญหาอปุสรรคและข้อเสนอแนะ

ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชัยนาท จึงดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการจัดตั้งศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านการสาธารณสุข ระดับจังหวัด เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบบูรณาการ ทั้งด้านบริหาร บริการ วิชาการ และส่งเสริมสนับสนุนให้สถานบริการสุขภาพจัดระบบบริการที่รองรับชาวต่างชาติและการประสานความร่วมมือด้านสาธารณสุขภายในจังหวัด