เนื้อหา...การอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน


หน่วยที่ 2...การอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

การอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน

การสร้างให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่จำเป็นให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ ความภาคภูมิใจในชุมชนของตนและสามารถที่จะถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้รับรู้ โดยเฉพาะในชุมชนที่มีความโดดเด่น ทางด้านท่องเที่ยว เด็กและเยาวชนสามารถที่จะใช้เวลาว่างในการเรียนรู้และสร้างประสบการณ์ในการถ่ายทอดให้กับประชาชนหรือนักท่องเที่ยว ซึ่งจะทำให้เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ไม่ข้องเกี่ยวยาเสพติดหรืออบายมุขอื่น ในแต่ละท้องถิ่นจะมีสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นความ ภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่น เช่น สิ่งของ สถานที่ ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี




อุทยานแห่งชาติขุนพะวอได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 115 ของประเทศไทย โดยประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 126 ตอนที่ 96 ก ลงวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ.2552 มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอแม่ระมาดและอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มีเนื้อที่ประมาณ 247,957 ไร่ หรือ 396.731 ตารางกิโลเมตร อีกทั้งอุทยานแห่งชาติขุนพะวอยังมีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ เป็นผืนป่าบนเทือกเขาสลับซับซ้อน มีความชุ่มชื้นของป่าดงดิบที่ปกคลุมอยู่อย่างหนาแน่น ทำให้อุทยานแห่งชาติแห่งนี้มีทิวทัศน์ที่สวยงาม มีความหลากหลายทางธรรมชาติ และยังเป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยหลายสาย เหมาะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวและผักผ่อนเป็นอย่างมาก


ที่ตั้งและข้อมูลทั่วไป

สถานที่ติดต่อ : อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ ตู้ปณ.11 ต.สามหมื่น อ.แม่ระมาด จ.ตาก 63140


E-mail : Khunpawor@hotmail.com


โทรศัพท์ : 0 5557 7447

Facebook : อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ จังหวัดตาก


หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ: นายประสาท กำเนิด

ตำแหน่ง : เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส


อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ

ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท

ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท


**หมายเหตุ เมื่อชำระค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติแล้วกรุณาพกบัตรค่าบริการติดตัว ขณะท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติเพื่อการตรวจสอบ


อัตราค่าบริการสำหรับยานพาหนะ : -->>คลิก


ร้านค้าสวัสดิการ

ร้านค้าสวัสดิการ (ร้านอาหาร) เปิดบริการทุกวันเวลา 07.00 น - 21.00 น.


สัญญาณโทรศัพท์ในพื้นที่

บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ : AIS, TRUE



ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพอากาศของอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ จัดอยู่ในภูมิอากาศที่มีฝนตกชุก เพราะได้รับอิทธิพลจากทะเลอันดามันทำให้มีฝนตกเป็นระยะเวลานาน สภาพอากาศคล้ายกับทางภาคใต้แถบทะเลอันดามันอากาศจะเย็นสบายตลอดปี แม้แต่ฤดูร้อนอากาศก็เย็นสบาย ในฤดูหนาวจะมีทะเลหมอกมากและลมแรง อากาศหนาวเย็นมากแทบไม่เห็นดวงอาทิตย์ตลอดวัน ซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 25 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,676 มิลลิเมตรต่อปี


พืชพรรณและสัตว์ป่า

ทรัพยากรป่าไม้ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ

เนื่องจากพื้นที่ป่ามีความอุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าหลายชนิดปะปนกันซึ่งมีทั้งป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบจำแนกได้ดังนี้


- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)

ป่าดิบเขาเป็นป่าที่อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,000 เมตรขึ้นไป ส่วนใหญ่อยู่บนเทือกเขาสูงทางภาคเหนือ ป่าดิบเขาในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณยอดเขา พันธุ์ไม้ที่ขึ้นอยู่ได้แก่ ก่อ สน ตุ้มแต๋น มะขามป้อม จำปีป่า สารภี นมนาง มะส้าน ทะโล้ ยมหิน ลูกเนียง เงาะป่า ละมุดป่า ขนุนป่า ไผ่หก เป็นต้น


- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)

ป่าดิบแล้งในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณหุบเขาและริมลำห้วย มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ยาง ตะเคียน มะม่วงป่า ลำไยป่า มะไฟ มะเดื่อ ไทร ตะแบก เป็นต้น


- ป่าสน (Coniferous Forest)

ป่าสนในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ พบได้ทั่วไปบริเวณยอดเขาและสันเขาที่มีระดับสูงจากน้ำทะเลตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป บางครั้งพบขึ้นปนอยู่กับป่าแดงและป่าดิบเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ สนสองใบ สนสามใบ ก่อ รัก รัง เหียง เป็นต้น


- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)

ป่าชนิดนี้พบมากในภาคเหนือของประเทศ ป่าเบญจพรรณในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ มักพบทางตอนกลางและทิศตะวันออกของพื้นที่ มีลักษณะเป็นป่าโปร่งประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นส่วนมาก พื้นที่ป่าไม่รกทึบมีไม้ไผ่ชนิดต่าง ๆ และไม้สักขึ้นปะปนกัน นอกจากนี้ยังพบ ไม้แดง ประดู่ เติม รกฟ้า สมอพิเภก กระพี้เขาควาย กว้าว ซ้อ เป็นต้น ในฤดูแล้งต้นไม้ทั้งหมดจะพากันผลัดใบเพื่อลดการคายน้ำ


สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติขุนพะวอ

สัตว์ที่พบเจอมาก ได้แก่ หมี เก้ง หมูป่า ไก่ป่า กบ เม่น นิ่ม ตุ่น กระรอก อีเห็น บ่าง กระต่ายป่า ค้างคาว พังพอน งูเห่า งูจงอาง และนกชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผีเสื้อและแมลงต่าง ๆ อีกด้วย ส่วนสัตว์ป่าที่พบเจอได้น้อย ได้แก่ เลียงผา เสือไฟ ชะนี นกกก เป็นต้น