การฝึกปฏิบัติการณ์

หยกพิรารักษ์

วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก ได้จัดการฝึกบูรณาการปฏิบัติการหยกพิรารักษ์ให้แก่นักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ ๔ รุ่นที่ ๕๕ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนาขีดความสามารถของ

นักเรียนพยาบาลให้มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะปฏิบัติและพร้อมในการทำบทบาทพยาบาลทหารบก ซึ่งคำว่า “หยก” หมายถึง นักเรียนพยาบาลที่มีคุณค่าเมื่อได้รับการฝึกฝนทั้งด้านความรู้และทักษะการพยาบาลมาเป็นอย่างดี ส่วนคำว่า “พิรารักษ์” หมายถึง การดูแลพิทักษ์รักษากำลังพล อันเป็นภารกิจหลักของพยาบาลทหารบกทุกนาย การจัดการฝึกมีระยะเวลา ๗ วัน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน - ๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ จะเป็นการฝึกทักษะการพยาบาลและหัตถการที่สำคัญตามขอบเขตวิชาชีพ ได้แก่ การฝึกการคัดแยกผู้บาดเจ็บและการเคลื่อนย้าย การช่วยชีวิตพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจอัติโนมัติ (AED), การจัดการทางเดินหายใจ, การจัดการภาวะช็อก,  การเยียวยาและการปฐมพยาบาลด้านจิตใจการจัดการภาวะสูติศาสตร์ฉุกเฉิน และการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย (PPE) เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 รวมไปถึงการวิเคราะห์และวางแผนจัดการสถานการณ์ใน ๔ สถานการณ์ ได้แก่ การบริการทางการแพทย์ในสนาม การจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาพิบัติภัย และการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ เพื่อวางแผนจัดการแก้ไขสถานการณ์ให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด เป็นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ การตัดสินใจการคิดวิเคราะห์และวางแผนการทำงานเป็นทีม อันจะช่วยส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตและ    อัตลักษณ์ของสถาบัน


รูปภาพการฝึกปฏิบัติการ

หยกพิรารักษ์ 

นรพ.ชั้นปีที่ 4 

รุ่น 55

การบริการทางการแพทย์ในสนาม (การรบตามแบบ)

Medical Field Service (Conventional Warfare)

การบริการทางการแพทย์ในสถานการณ์การจัดตั้ง รพ.สนาม เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19

COVID-19 Field Hospital

การบริการทางการแพทย์ในภารกิจการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ  Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR)

การบริการทางการแพทย์ในภารกิจการรักษาสันติภาพ

 Peacekeeping Operation (PKO)

การจัดการทางเดินหายใจ (Airway Management)

การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัติโนมัติ 

(CPR and AED)

สำหรับผู้ใหญ่และเด็ก

การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสูติกรรม (Emergency Obstetrics)

การสวมใส่และถอดอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย Personal Protective Equipment (PPE)

 for COVID-19

การปฐมพยาบาลทางจิตใจและการเยียวยาจิตใจ (Psychological First Aid)

การจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคและการให้สารน้ำ 

(Shock and Fluid Resuscitation)

การคัดแยก ยึดตรึง และเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในสถานการณ์ฉุกเฉิน

(Triage and Immobilization and Transfer)

การฝึกการทำลายล้างพิษจากสารเคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (คชรน.)

(Chemical, biological, radiological and nuclear defense; CBRN)