Clean Air Community Services (PM 2.5 Project)

เอาจริง ๆ คนเชียงใหม่สูดพีเอ็ม 2.5 เข้าปอดตัวเองสะสมมาเป็นเวลากี่ปีแล้ว? [แล้วเอาออกจากร่างกายแทบไม่ได้ด้วย รับเข้าเพิ่มอย่างเดียว ในฤดูหมอกควันปีถัดไป]

.

มีอีกหนึ่งคำถามคือคนเชียงใหม่เพิ่งรู้จักหมอกควันและป้องกันตัวเองจริงจังมาได้ไม่นานมานี้ (ตั้งแต่พ.ศ.2564 เป็นต้นมา) ทีนี้

.

มันพอมีหลักฐานเชิงประจักษ์อะไรไหม? ว่าหมอกควันเชียงใหม่เริ่มจริงจังตั้งแต่เมื่อไหร่แต่ตอนนั้นคนเชียงใหม่ยังไม่รู้ตัว

.

เช้านี้ได้เห็นโพสต์ว่ามีเพื่อนใน Facebook คนหนึ่งโพสต์หลักฐานเชิงประจักษ์ว่าเมื่อ 10 ปีก่อนเค้าไปดอยสุเทพในช่วงวันสงกรานต์และถ่ายภาพเชียงใหม่ลงมาก็พบเห็นว่าหมอกควันชัดเจนเลย

.

เลยเอาเรื่องนี้ ไปถามคนในกลุ่มแก้ไขปัญหาหมอกควันเชียงใหม่ในกลุ่มสภาลมหายใจ ว่าท่านใดพอจะมีข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมอีกหรือไม่ว่าเชียงใหม่มีปัญหาหมอกควันยาวนานกว่านั้นไหม?

.

มีคนตอบกลับมาว่า ถ้าพอจะหาหลักฐานได้ก็ได้แก่การจัดร่วมประชุม สำนักงานสิ่งแวดล้อมรัฐแมรี่แลนด์ประเทศสหรัฐอเมริกา กับ เทศบาลนครเชียงใหม่เรื่องคุณภาพอากาศ (ไม่แปลกหรอก กงสุลอเมริกัน มีเครื่องวัดมลพิษทุกอย่าง) ที่จัดในปีพ.ศ. 2544

.

การจัดประชุมนั้น เกิดใน วันที่ 11 กันยา ปีพ.ศ. 2544 ซึ่งการประชุมนั้น ตอนกลางคืน มีงานเลี้ยงรับรอง ต้องเลิกกลางคันในคืนนั้น เพราะเกิดเหตุการณ์เครื่องบินพุ่งชนตึก 911 พอดี  ดังนั้นงานเลี้ยงรับรองในคืนนั้นของไทยต้องยกเลิกกระทันหันเพราะเวลากลางคืนของไทยจะเป็นเวลาช่วงเช้าของอเมริกา + ไป 12 ชั่วโมงจะเป็นช่วงที่เครื่องบินชนตึกพอดี

.

แสดงว่าคนเชียงใหม่สูดควันพิษโดยไม่รู้ตัวมาเป็นเวลานานแล้ว กว่า 20 ปี เพิ่งจะมาป้องกันจริงจังกันก็แค่สามปีที่ผ่านมา(ตั้งแต่พ.ศ.2564 เป็นต้นมา)

.

แสดงว่าสูดอากาศพิษในฤดูหมอกควันกันมานานกว่า 20 ปีแล้วเพิ่งจะมาป้องกันกันจริงจังเมื่อสามปีที่ผ่านมานี่เอง นี่ถ้าเชียงใหม่ไม่มีเครื่องวัดพีเอ็ม 2.5 เป็นของตัวเองที่ประชาชนกับมหาวิทยาลัยร่วมกันสร้างขึ้นมา


โปรเจค สร้างวิดีโอ pm2.5

ในช่วงแรก เชียงใหม่ยังไม่มีเครื่องวัด pm2.5 เป็นของตัวเอง ต่อมาทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยงานต่าง  ๆในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างเครื่องวัด pm 2.5 ขึ้นมา แต่ขาดทีมงาน หรือ เพจในการประชาสัมพันธ์ รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์ความรุนแรงของ pm2.5 และการป้องกันตัวจาก pm2.5


ทาง ABL Research ที่มีเพจในการควบคุม คือเพจ ฮักเน่อ เชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ จึงขออาสาจัดทำวิดีโอต่าง ๆ เกี่ยวกับ pm2.5 โดยออกค่าใช้จ่ายในการจัดทำทั้งหมด 

โดยที่ ผม สุภาพงษ์ เจ้าของ ABL Research, เพจ ฮักเน่อ เชียงใหม่ ดำเนินหน้าที่ เขียนบท และ สัมภาษณ์ คณาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ มช. และ คณาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มช.

เพจ ฮักเน่อ เชียงใหม่

เป็นเพจโพสต์เกี่ยวกับ ข่าวสาร การแจ้งเตือน สถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ในจังหวัดเชียงใหม่ ในเชิงสร้างสรรค์


เมื่อได้โปรเจคเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดทำวิดีโอ ก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด เพราะเรื่องนี้ ล้อไปกับพันธกิจของ ABL Trading Research

วิดีโอ pm2.5

สามารถกดเข้าที่นี่ เพื่อรับชมตอนต่าง ๆ https://www.facebook.com/HugnerChiangMai/posts/pfbid0JTbWdGiJjhXdJfSkAMspkmbETpgUm6dyssqBBoUaNAy5Zr5xoirmouEhBzAXkvQ4l

การบรรยาย ประสบการณ์จริง ในการรณรงค์เรื่อง pm2.5 ผ่านเพจเฟซบุ๊ค ให้กับ นศ. มช.

คลาส 201114 : Environmental Science in Today World ที่ในชั้นเรียนมี นศ.ปตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 200 คนจากหลากหลายคณะ