สิทธิเด็ก ป.5

สังคม ป.5 หน่วยที่ 4 เรื่อง สิทธิเด็ก

สังคม ป.5 หน่วยที่ 4 

เรื่อง สิทธิเด็กและการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กในสังคมไทย


     เด็กทุกคนต้องได้รับการส่งเสริมการพัฒนาให้เป็นไปตามช่วงวัยพัฒนาการ และจะต้องไม่ถูกเลือกปฏิบัติหากถามว่าเด็กในสังคมไทยปัจจุบันได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองเพียงพอหรือไม่  มีคำตอบว่า ปัจจุบันสิทธิเด็กในสังคมไทยได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองมากขึ้น มีการตั้งหน่วยงานรัฐ มีกลุ่มและองค์การเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองมากขึ้น แต่หากมองในแง่เชิงคุณภาพยังคงต้องมีการปรับปรุงอีกหลายประเด็น อาทิ การศึกษา หรือเชื้อชาติของเด็กผู้ลี้ภัย เป็นต้น


สิทธิเด็ก 

    สิทธิเด็ก หมายถึง สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของเด็กที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

    ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้ให้ความหมายคำว่า เด็ก หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

    สิทธิเด็กมี 4 ประการ คือ 



    มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็กได้รายงานการละเมิดสิทธิเด็กไว้ในรายงานการวิจัยแนวทางในการคุ้มครอง ช่วยเหลือพัฒนาสภาพแรงงานเด็กต่างชาติในประเทศไทยว่า เด็กต่างชาติถูกเอาเปรียบด้านแรงงานทั้งในเรื่องค่าแรงที่ต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด ถูกใช้แรงงานหนัก มีระยะเวลาทำงานที่ยาวนานและไม่ได้รับการคุ้มครองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากปัญหาที่ตัวเด็กที่ไม่สามารถมาเรียกร้องสิทธิของตนเอง เนื่องจากเกรงกลัวนายจ้าง และกลัวความผิดที่ลักลอบเข้าเมือง ทำใหเด็กต้องยอมทันกลับสภาพปัญหาและบางคนต้องหนีออกจากบ้านนายจ้าง โดยไม่ได้เรียกร้องสิทธิค่าจ้างตามที่ตนเองควรจะได้รับ



 แนวทางปกป้องคุ้มครองตนเอง

หรือผู้อื่นจากการละเมิดสิทธิเด็ก


    เพื่อปกป้องคุ้มครองตนเองหรือผู้อื่นจากการละเมิดสิทธิเด็ก สิ่งที่เด็กควรกระทำ คือ


สิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ

    1.สิทธิที่จะมีชีวิตรอด – ได้รับการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐาน มีสันติภาพ และความปลอดภัย

   2.สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา – มีครอบครัวที่อบอุ่น ได้รับการศึกษาที่ดี และภาวะโภชนาการ เหมาะสม


 3.สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครอง - ให้รอดพ้นจากการทำร้าย การล่วงละเมิด การละเลย การนำไปขาย การใช้แรงงานเด็ก และการแสวงประโยชน์โดยมิชอบในรูปแบบอื่นๆ และ


   4.สิทธิที่ในการมีส่วนร่วม – ในการแสดงความคิดเห็น แสดงออก การมีผู้รับฟัง และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบกับตนเอง


ทุกๆ 5 ปี แต่ละประเทศจะต้องจัดทำรายงานความก้าวหน้าเสนอต่อคณะกรรมการสิทธิเด็ก คณะกรรมการชุดนี้ประจำอยู่ที่กรุงเจนีวา ทำหน้าที่กำกับดูแลและตรวจสอบการดำเนินงานของแต่ละประเทศในการรับประกันสิทธิต่างๆ ของเด็กที่ระบุไว้ในอนุสัญญา



            จากรายงานฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 3 และ 4) ของประเทศไทยที่จัดส่งให้คณะกรรมการสิทธิเด็กเมื่อ พ.ศ. 2555 คณะกรรมการได้ตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินงานของประเทศไทยมีความก้าวหน้าหลายประการในส่วนของการร่างกฎหมายและจัดโครงสร้างของรัฐเพื่อให้ความคุ้มครองแก่เด็กและปกป้องสิทธิของพวกเขา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการยังคงเน้นถึงความห่วงใยในหลายด้าน ได้แก่


  • การปกป้องคุ้มครองสิทธิของเด็กผู้ลี้ภัย

  • การบังคับใช้กฎหมาย

  • การกำกับดูแล และการเก็บข้อมูล

  • งบประมาณของประเทศไทยในการทำงานด้านเด็ก  


 • การพัฒนากลไกคุ้มครองและช่วยเหลื่อเด็กที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกทำร้ายและถูกแสวงประโยชน์ทางเพศ ทั้งที่เกิดในครอบครัวและนอกครอบครัว

  • การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานแก่เด็กทีขาดโอกาสที่สุด ได้แก่ เด็กกลุ่มชาติพันธุ์ เด็กผู้ลี้ภัย เด็กเร่ร่อน เด็กอพยพ เด็กยากจน เด็กที่กระทำผิด และเด็กที่ถูกค้ามนุษย์ เด็กพิการ เด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้

  • อายุขั้นต่ำของเด็กที่ต้องรับโทษทางกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 10 ขวบในประเทศไทย ซึ่งเป็นอายุที่ต่ำเกินไป

  • ความเหลือมล้ำ


          เด็กทุกคนที่เกิดมา ต้องการความรักและความเอาใจใส่จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ในสังคม นอกจากนี้พ่อแม่ ผู้ใหญ่ก็จะต้อง ปฏิบัติต่อเด็กในฐานะที่เป็นมนุษย์ด้วยกัน ต้องไม่ดูถูกเหยียดหยามเด็กที่มีเชื้อชาติ หรือสีผิว หรือมีฐานะแตกต่างไปจาก ตน ไม่ว่าจะใช้ความรุนแรงรูปแบบต่างๆ ต่อเด็ก พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องท าตัวเป็นตัวอย่างที่ดีและกระท าในสิ่งที่จะเป็น ประโยชน์ต่อเด็ก ทั้งนี้เพื่อท าให้เด็กอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและเติบโตเป็นคนดีของสังคม