แผนการจัดการเรียนการสอน

หน่วยการเรียนรู้ที่   เรื่อง  การดำรงพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง  สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช 

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

  1. ระบุลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึง และลักษณะที่แตกต่างกันของพืชได้ (K)

  2. อธิบายลักษณะทางพันธุกรรมของพืชได้ (K)

  3. ปฏิบัติกิจกรรม สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช อย่างรวมพลัง ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจได้ (P)

  4. มีความมุ่งมั่นและตั้งใจ (A)

สาระการเรียนรู้

พืชเมื่อโตเต็มที่จะมีการสืบพันธุ์เพื่อเพิ่มจำนวนและดำรงพันธุ์ โดยลูกที่เกิดมาจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่ ทำให้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เฉพาะ แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น พืชมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น ลักษณะของใบ สี  ดอก

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering) 


  1.    นักเรียนสังเกต สำรวจ ต้นไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนหรือสวนสาธารณะ
ที่อยู่ใกล้โรงเรียน แล้วกระตุ้นนักเรียนเกิดความสงสัยและต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถามสำคัญ ดังนี้

                  1.1   พืชมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

                  (ตัวอย่างคำตอบ ส่วนประกอบของพืช ได้แก่ ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล และเมล็ด)

                  1.2   พืชแต่ละชนิดมีลักษณะเหมือนกันหรือแตกต่างกัน อย่างไร

              (ตัวอย่างคำตอบ พืชแต่ละชนิดมีทั้งลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ขึ้นกับการใช้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นเกณฑ์)

                  1.3  ลักษณะใดของพืชที่เป็นลักษณะทางพันธุกรรม

                  (ตัวอย่างคำตอบ ลักษณะใบ ลักษณะของสีดอก)

            2.   นักเรียนร่วมกันคาดคะเนคำตอบ

            3.   นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละเพศ และคละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน
(หรือจะแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้) โดยแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาวิธีทำและปฏิบัติกิจกรรมที่ 2.1 สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช  ในใบงานที่ 9 ตามขั้นตอน ดังนี้

                  3.1   ทบทวนบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่าต้องทำหน้าที่อย่างไรบ้างในการดำเนินการด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม เช่น หัวหน้ากลุ่ม มีหน้าที่ ...................... ผู้จดบันทึก มีหน้าที่ ......................... ผู้เสนอรายงาน มีหน้าที่ ......................... อื่น ๆ .........................

จะใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมเพียงใด

            4.   นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านและฟังอธิบายขั้นตอนวิธีทำกิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช ให้เข้าใจอย่างชัดเจน โดยเขียนขั้นตอนลงในกระดาษฟลิปชาร์ต และนำขึ้นหน้ากระดาน

            5.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม โดยร่วมกันตอบคำถามก่อนทำกิจกรรม ดังนี้

              5.1   คำถามสำคัญในการทำกิจกรรมคืออะไร

              (ลักษณะใดของพืชเป็นลักษณะทางพันธุกรรม)

              5.2   ลักษณะของพืชที่นักเรียนต้องสังเกตคืออะไร วาดภาพและระบุลักษณะเหล่านั้น          

(ตัวอย่างคำตอบ ลักษณะของพืชที่ศึกษา คือ กอกล้วย ต้นพ่อแม่ ลำต้นอวบ มีกาบใบหุ้มซ้อนกันรอบลำต้น ใบสีเขียวมีก้านใบอวบ แผ่นใบมีเส้นใบแนวขนาน ต้นลูก ลำต้นและใบสีเขียวมีขนาดเล็กไม่มีหัวปลี ไม่มีผล)

6.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอย่างรวมพลังทำกิจกรรมที่ 2.1 เรื่อง สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช และบันทึกผลการทำกิจกรรมในใบงานที่ 9

            7.   ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้  (Processing) 


8.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และอภิปรายเกี่ยวกับผลการทำกิจกรรม โดยร่วมกัน
ตอบคำถามหลังทำกิจกรรม ดังนี้

              8.1   พืชที่นักเรียนเลือกศึกษาคือพืชชนิดใด

              (ตัวอย่างคำตอบ ต้นกล้วย)

              8.2   นักเรียนมีวิธีการสังเกตอย่างไรว่า พืชต้นใดเป็นต้นพ่อแม่และต้นลูก

              (ต้นลูกจะมีลักษณะที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับต้นพ่อแม่ แต่มีขนาดเล็กกว่า และมักจะเจริญเติบโตเป็นกอ หรืออยู่ในบริเวณเดียวกัน)

              8.3   ลักษณะทางพันธุกรรมของพืชชนิดนี้ได้แก่ลักษณะใดบ้าง

              (ลักษณะของลำต้น รูปร่าง และขนาดของใบ ดอกและผล ความสูง)

              8.4   ลักษณะทางพันธุกรรมของพืชแต่ละชนิด (ที่แต่ละกลุ่มเลือกศึกษา) เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

              (แตกต่างกัน โดยพืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะของลำต้น รูปร่าง และขนาดของใบ ดอกและผล
ที่เป็นลักษณะของพืชชนิดนั้น ๆ)

              8.5   สรุปผลการทำกิจกรรมได้ว่าอย่างไร

              (พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ลำต้น ใบ ดอก และผล

ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้)

              จากนั้นฝึกนักเรียนถามคำถามที่สงสัยด้วยการถามเพื่อน โดยไม่จำเป็นต้องถามครูอย่างเดียว

            9.  นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมและสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกันเกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมของพืชว่า พืชแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากพืชชนิดอื่น ๆ เช่น

ลำต้น ใบ ดอก และผล ซึ่งลักษณะดังกล่าวสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกได้

         10.   นักเรียนคิดประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าเกี่ยวกับสมรรถนะการคิด โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้

             10.1  พืชมีลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมลักษณะใดบ้าง

         (ตัวอย่างคำตอบ พืชมีการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม เช่น ลักษณะราก ลำต้น ใบ ดอกและผล)

สื่อการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

1. หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2. แบบฝึกหัด รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5      

3. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4. ต้นไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนหรือสวนสาธารณะ

5. ไม้บรรทัด                          1         อัน

6. สายวัด                                1         เส้น

7. แว่นขยาย                           1         อัน

8. ใบงานที่ 9 เรื่อง สำรวจลักษณะทางพันธุกรรมของพืช

9. แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน