แผนการจัดการเรียนการสอน

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑   เรื่อง  ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม 

แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

เรื่อง  ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร 

จุดประสงค์การเรียนรู้ 

สาระการเรียนรู้

พืชเป็นสิ่งมีชีวิต จึงมีการตอบสนองและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว พืชในบริเวณต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะของราก ลำต้น ใบ เมล็ด แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้มันมีชีวิต และเจริญเติบโตในที่ต่าง ๆ ได้ ในที่แห้งแล้งพืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น 

กิจกรรมการเรียนรู้

ขั้นสังเกต รวบรวมข้อมูล (Gathering)


  1.   นักเรียนสังเกต สำรวจพืชรอบบริเวณโรงเรียน แล้วกระตุ้นนักเรียนเกิดความสงสัย

และต้องการหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยร่วมกันตอบคำถาม ดังนี้

                1.1   พืชมีการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวอย่างไร

                  (ตัวอย่างคำตอบ พืชบางชนิดมีการเจริญของลำต้นเพื่อรับแสง หรือการเจริญของรากลงพื้นดินเพื่อดูดนํ้าและธาตุอาหาร)

            1.2   พืชทำอย่างไรจึงสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับมัน

                  (ตัวอย่างคำตอบ พืชจะต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม มิฉะนั้นจะทำให้มันตายได้)

           2.   นักเรียนสังเกตต้นกระบองเพชร แล้วร่วมกันสนทนาและตอบคำถามสำคัญ ดังนี้

            2.1   พืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร

                 (ตัวอย่างคำตอบ พืชที่เจริญเติบโตในที่แห้งแล้งจะมีการปรับตัว โดยมีขี้ผึ้งเคลือบที่ใบและลำต้น)

           3.   นักเรียนร่วมกันคาดคะเนคำตอบ

           4.   นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละเพศ และคละนักเรียนเก่ง ปานกลาง และอ่อน

(หรือจะแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการต่าง ๆ เพิ่มเติมได้) โดยแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาวิธีทำและปฏิบัติกิจกรรมที่ 1.1

เรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร ในใบงานที่ 1 ตามขั้นตอน ดังนี้

                4.1   ทบทวนบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มว่าต้องทำหน้าที่อย่างไรบ้างในการดำเนินการ

ด้วยกระบวนการทำงานกลุ่ม เช่น หัวหน้ากลุ่ม มีหน้าที่ .................. ผู้จดบันทึก มีหน้าที่ .........................

ผู้เสนอรายงาน มีหน้าที่ .............. อื่น ๆ ................................. 

4.2   ตรวจสอบความพร้อมของสื่อ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับการปฏิบัติกิจกรรมว่าครบถ้วน เหมาะสมที่จะใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมเพียงใด

           5.   นักเรียนแต่ละกลุ่มอ่านและฟังอธิบายขั้นตอนวิธีทำกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บนํ้าไว้ได้อย่างไร ให้เข้าใจอย่างชัดเจน โดยเขียนขั้นตอนลงในกระดาษฟลิปชาร์ต และนำขึ้นหน้ากระดาน

 

           6.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันแสดงความคิดเห็นก่อนทำกิจกรรม โดยร่วมกันตอบคำถาม

ก่อนทำกิจกรรม ดังนี้

            6.1   กิจกรรมนี้ต้องการศึกษาเรื่องอะไร

                  (การศึกษาเปรียบเทียบการป้องกันการสูญเสียนํ้าโดยการปรับตัวของพืช)

           7.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอย่างรวมพลังทำกิจกรรมที่ 1.1 เรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บนํ้าไว้

ได้อย่างไร และบันทึกผลการทำกิจกรรม ในใบงานที่ 1

           8.   ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทำกิจกรรมหน้าชั้นเรียน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง

ขั้นคิดวิเคราะห์และสรุปความรู้  (Processing) 


9.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวิเคราะห์ และอภิปรายผลการทำกิจกรรม

โดยร่วมกันตอบคำถาม หลังทำกิจกรรม ดังนี้

         9.1   ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่อุ้มนํ้าได้มากกว่าหรือสูญเสียนํ้าน้อยที่สุด เพราะเหตุใด

                 (จานพลาสติกใบที่ 1 เพราะมีถุงพลาสติกใสหุ้มทำให้ฟองนํ้าชุ่มนํ้า นํ้าไม่ระเหยไปอย่างรวดเร็ว)

         9.2   เพราะเหตุใด จึงตัดถุงพลาสติกใสให้เป็นรอยขาด

                 (เพื่อให้นํ้าสามารถเกิดการระเหยไปได้บ้าง

         9.3   ฟองนํ้าในจานพลาสติกใบใดที่เปรียบได้กับใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่

                 (จานพลาสติกใบที่ 1 เพราะพลาสติกที่หุ้มฟองนํ้าเปรียบเหมือนขี้ผึ้งที่เคลือบใบพืช)

         9.4   สรุปผลการทดลองได้ว่าอย่างไร

                 (ฟองนํ้าที่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะชุ่มนํ้า ส่วนฟองนํ้าที่ไม่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะแห้งอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนใบพืชที่ขึ้นอยู่ในทะเลทรายจะมีขี้ผึ้งเคลือบ เพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าให้กับสิ่งแวดล้อม ทำให้ใบพืชเก็บรักษานํ้าไว้ได้)

         9.5   ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่จะเก็บน้ำได้มากกว่าใบพืชที่ไม่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่หรือไม่

                 (ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่เก็บน้ำได้มากกว่าใบพืชที่ไม่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่)

         9.6   ใบพืชที่มีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ช่วยทำให้พืชปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งได้อย่างไร

                 (ช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำ)

              จากนั้นฝึกนักเรียนถามคำถามที่สงสัยด้วยการถามเพื่อน โดยไม่จำเป็นต้องถามครูอย่างเดียว

        10.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปผลการทำกิจกรรมและสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกันว่า ฟองนํ้าที่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะชุ่มนํ้า ส่วนฟองนํ้าที่ไม่มีถุงพลาสติกใสหุ้มจะแห้งอย่างรวดเร็ว เปรียบเหมือนใบพืชที่ขึ้นอยู่ในทะเลทรายจะมีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันการสูญเสียนํ้าให้กับสิ่งแวดล้อม ทำให้ใบพืชเก็บรักษานํ้าไว้ได้

ขั้นปฏิบัติและสรุปความรู้หลังการปฏิบัติ (Applying and Constructing the Knowledge 


11.   นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผน ออกแบบ แล้วหาภาพหรือวาดภาพระบายสี การปรับตัว

ของพืชทะเลทราย จัดทำเป็นชิ้นงาน

12.   นักเรียนร่วมกันสรุปสิ่งที่เข้าใจเป็นความรู้ร่วมกัน ดังนี้

         · พืชเป็นสิ่งมีชีวิต จึงมีการตอบสนองและปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมรอบตัว

                 · พืชในบริเวณต่าง ๆ ของโลกมีลักษณะของราก ลำต้น ใบ เมล็ด แตกต่างกัน เพื่อช่วยให้มันมีชีวิตและเจริญเติบโตในที่ต่าง ๆ ได้

                 · ในที่แห้งแล้งพืชปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม โดยมีขี้ผึ้งเคลือบอยู่ที่ใบและลำต้น

ขั้นสื่อสารและนำเสนอ (Applying the Communication Skill)


13.   ผู้แทนนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาพูดและนำเสนอภาพวาดและระบายสี การปรับตัวของพืชทะเลทราย หน้าชั้น

เรียน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพื่อน ๆ ร่วมกันตรวจสอบและแก้ไขให้ถูกต้อง

14.   นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปเกี่ยวกับวิธีการทำงานให้เห็นการคิดเชิงระบบและวิธีการทำงาน

ที่มีแบบแผน

ขั้นประเมินเพื่อเพิ่มคุณค่าบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Self-Regulating)


15.   นักเรียนร่วมกันคัดเลือกผลงานที่ดีเด่นจัดทำเป็นนิทรรศการ หรือจัดแสดงผลงาน เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ให้นักเรียนชั้นอื่น ๆ

         16.   นักเรียนตรวจสอบหรือประเมินขั้นตอนต่าง ๆ ที่เรียนมาในวันนี้มีจุดเด่น จุดบกพร่องอะไรบ้าง

มีความสงสัย ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องใด ให้ระบุ

         17.   นักเรียนประเมินตนเอง โดยเขียนแสดงความรู้สึกหลังการเรียน ในประเด็นต่อไปนี้
                  • สิ่งที่นักเรียนได้เรียนรู้ในวันนี้คืออะไร
                  • นักเรียนมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด
                  • เพื่อนนักเรียนในกลุ่มมีส่วนร่วมกิจกรรมในกลุ่มมากน้อยเพียงใด
                  • นักเรียนพึงพอใจกับการเรียนในวันนี้หรือไม่ เพียงใด
                  • นักเรียนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคมทั่วไป

                        ได้อย่างไร          

จากนั้นแลกเปลี่ยนตรวจสอบขั้นตอนการทำงานทุกขั้นตอนว่าจะเพิ่มคุณค่าไปสู่สังคม เกิดประโยชน์ต่อสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิมในขั้นตอนใดบ้าง สำหรับการทำงานในครั้งต่อไป 

สื่อการเรียนการสอน/แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม

1.   หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

2.   แบบฝึกหัด รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

3.   ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

4.   ต้นกระบองเพชร

5.   ฟองนํ้าขนาดเท่ากัน                   2                        ก้อน

6.   ถุงพลาสติกใส                                 1                        ใบ

7.   ยางรัด                                                1                        เส้น

8.   จานพลาสติกขนาดเท่ากัน             2                        ใบ

9.   กรรไกร                                             1                        เล่ม

10.  นํ้าสำหรับเทบนฟองนํ้า                

11.  ใบงานที่ 1 เรื่อง ใบพืชในที่แห้งแล้งเก็บน้ำไว้ได้อย่างไร

12.  แหล่งการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน