เขานางทองได้เริ่มตั้งเป็นเมืองสุโขทัย อาณาจักรที่ตั้งอยู่ได้นานเกือบ 200 ปี สร้างแบบแผนการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ตลอดจนได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมไว้มากมาย ซึ่งอยู่ในยุคสมัยของสุโขทัย ดังนั้นทางวัฒนธรรมจึงได้รับวัฒนธรรมของสุโขทัยมาด้วย 

  1. วัฒนธรรมทางด้านการศึกษา

 ในสมัยกรุงสุโขทัยการจัดรูปแบบทางการศึกษาในช่วงแรกได้รับอิทธิพลจากคติพราหมณ์เข้ามา ต่อจากนั้นจึงรับคติธรรมทางพุทธศาสนาเป็นหลักเกณฑ์สำคัญ ของการจัดการศึกษาดังนั้น การศึกษาในสมัยสุโขทัยจึงมีลักษณะ หลายลักษณะดังนี้

              1.1 การศึกษาทางพุทธศาสนา สุโขทัยเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง เช่น พระเจ้าลิไท พระองค์ทรงผนวช และอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาหลายด้านที่สำคัญคือ การส่งพระสงฆ์ไปเผยแผ่พุทธศาสนาในดินแดนภาคเหนือ

             1.2 การศึกษาในวิชาชีพ เป็นการเรียนตามกฎธรรมชาติ เรียนจากพ่อแม่ เรียนจากชุมชนที่ตัวอยู่ใกล้ เรียนจากการกระทำ การฝึกฝนศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ การทำไร่ไถ่นา การปั้นเครื่องปั้น ดินเผา งานทางด้านจิตรกรรม ประติมากรรมหรือสถาปัตยกรรม เป็นต้น (ธิดาภรณ์ คำริน, 2559) แสดงให้เห็นว่า การศึกษาของสุโขทัยดังเดิมได้รับอิทธิพลมาจากคติพราหมณ์และเข้ามารับคติธรรมทางพุทธศาสนาของการจัดการศึกษาในสมัยสุโขทัยจึงมีหลายลักษณะอาทิ การศึกษาทางพุทธศาสนา และการศึกษาในวิชาชีพ 

 2. วัฒนธรรมทางด้านตัวอักษรไทย

          ศิลาจารึกหลักที่ 1 ปรากฏข้อความที่เกี่ยวข้องอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า “…1205 ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในแลใส่ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผุ้นั่นใส่ไว้…” จากศิลาจารึกดังกล่าว จึงเป็นที่เชื่อกันว่าอักษรไทยพ่อขุนรามคำแหงซึ่งลง ศิลาจารึกปี พ.ศ. 1826 นี้เป็นอักษรไทยเก่าแก่ที่สุดที่ใช้ในประเทศไทย สรุปว่าอักษรพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด เพราะมีรูปลักษณะคล้ายคลึงกันมาก แต่จากการศึกษาของ นันทนา ด่านวัฒน์ ทางด้านอักขรวิทยาพบว่า อักษรต้นตระกูลของอักษรพ่อขุนรามคำแหง คืออักษรหราหมี อักษรคฤนห์ อักษรขอมหวัด เพราะปรากฏความคล้ายคลึงทางด้านอักขรวิทยาของอักษร   พ่อขุนรามคำแหงและอักษรใน ตระกูลทั้ง-สาม อักษรพ่อขุนรามคำแหงนั้นปรากฏใช้เฉพาะในรัชสมัยของพระองค์เท่านั้น (ธิดาภรณ์ คำริน, 2559) แสดงให้เห็นว่า พ่อขุนรามคำแหงได้ดัดแปลงอักษรขอมหวัด อักษรหราหมี อักษรคฤนห์ ที่คล้ายคลึงกับทางด้านอักขรวิทยาของ พ่อขุนรามคำแหง ตระกลู 3 มาก ในปี พ.ศ.1826 

3. วัฒนธรรมทางด้านวรรณกรรม

          วรรณกรรมที่เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยมีจำนวนมากและหลายประเภท หากแต่มิได้ตกทอดมาถึงปัจจุบัน ที่หลงเหลือถึงปัจจุบันมีดังนี้

        3.1 ศิลาจารึก ศิลาจารึกมีประโยชน์ทางการศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์โบราณคดีตลอดจนวิชาอักษรศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์และอื่น ๆ ศิลาจารึกที่พบในสมัยสุโขทัยมีประมาณ 30 หลัก ที่สำคัญมากได้แก่ ศิลาจารึกหลักที่ 1 หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง  กรมศิลปากรได้จัดไว้เป็นอันดับแรกของวรรณกรรม ซึ่งรวมคุณค่าทางภาษา ทั้งความรู้ด้านกฎหมาย ความรู้ทางการปกครอง ความรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความรู้ทางด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม นับว่าวรรณกรรมประเภทนี้เป็นหลักฐานยืนยันเรื่องราวทางวัฒนธรรมสมัยสุโขทัย ได้เป็นอย่างดี

        3.2 ไตรภูมิพระร่วง ถือเป็นวรรณกรรมปรัชญาชิ้นแรกของไทย พระมหาธรรม-ราชาลิไททรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในปี พ.ศ.1888 นับเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่าทางปรัชญา สอนให้คนรู้จักความดีความชั่ว รู้จักใช้วิจารณญาณและสอนให้คนมีศีลธรรมรักษาความดีและมีความรับผิดชอบ

        3.3 สุภาษิตพระร่วง วรรณกรรมชิ้นนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัยหรือไม่ สุภาษิตพระร่วงนับว่าเป็นวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ายิ่งวรรณกรรมหนึ่ง เพราะมีจุดประสงค์ที่จะสั่งสอนคน สอนให้รอบคอบ เป็นต้น เช่น “เมื่อน้อยให้เรียนวิชาให้หาสินเมื่อใหญ่ หรือ ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง” ดังนั้นสุภาษิตพระร่วงจึงมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยเป็นอันมาก

        3.4 ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ บางคนเชื่อว่าตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ แต่งในสมัยสุโขทัยเพราะมีเนื้อเรื่องและท้องเรื่องอ้างถึงสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองสุโขทัย แต่บางคนก็เชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จุดประสงค์การแต่งเพื่อเป็นการแนะนำตักเตือนข้าราชการสำนัก ฝ่ายในให้มีกริยามารยาทที่เหมาะสมกับศักดิ์ศรีของตนเองและเพื่อเชิดชูเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังทรงคุณค่าทางด้านขนบธรรมเนียม ประเพณีของราชสำนักโดยเฉพาะประเพณีพราหมณ์ทั้ง 12 เดือน