บทที่ 2 อารยธรรมอินเดีย ป.5

การเข้ามาของอารยธรรมอินเดียและจีนในดินแดนไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีสินค้าที่เป็นที่ต้องการและมีอารยธรรมความเจริญก้าวหน้า ทำให้ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นศูนย์กลางการค้าและได้รับวัฒนธรรมผสม ไทยได้รับอารยธรรมอินเดียผ่านทางเขมรและจากการติดต่อค้าขายโดยตรงกับพ่อค้าอินเดีย ส่วนอารยธรรมจีนได้รับผ่านทางการทูตและการค้า

อิทธิพลของอารยธรรมอินเดียผู้มีบทบาทสำคัญในการนำอารยธรรมอินเดียเข้ามา คือ 

กลุ่มกษัตริย์หรือนักรบ กลุ่มพ่อค้าและกลุ่มนักบวช

 1. ด้านศาสนาและความเชื่อ หลักการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ เชื่อว่าศูนย์กลางของจักรวาลอยู่ที่พระพรหมและมีการนับถือพระวิษณุและพระศิวะ ส่วนพระพุทธศาสนาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทมาสั่งสอนประชาชน ทำให้นิกายนี้เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบันหลักการของพระพุทธศาสนา คือ หลักในการการดำเนินชีวิต

 ส่วนความเชื่อทั้งสอง ศาสนามีความกลมกลืนกันในวิถีชีวิตชาวบ้าน  

 2. ด้านภาษา ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ใช้ในพระพุทธศาสนา ทำให้อิทธิพลของภาษาเหล่านี้ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

 3. ด้านการแต่งกาย ชาวไทยและชาวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีความคล้ายคลึงกับชาวอินเดียและจีน กล่าวคือ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุง ผ้าซิ่น หรือผ้าปาเต๊ะ

 4. ด้านอาหาร อาหารอินเดียจะคล้ายคลึงกับอาหารไทย นิยมใช้เครื่องเทศเป็นส่วนประกอบ อาหารอินเดียที่เป็นที่รู้จัก เช่น แกงกะหรี่

 ข้าวหมกไก่ 

อาหารอินเดีย เช่น 

แกงมั่สมั่น แกงกระหรี่

การประกอบพิธีบ่ายศรีสู่ขวัญเป็นความเชื่อของศาสนาพรามหณ์ -ฮินดู

ผ้าปาเต๊ะ อิทธิพลจากอินเดีย

ภาษาบาลี