คำอธิบายบทเรียน
ศึกษา คันคว้า สืบค้น สังเกต อภิปราย สนทนา วิเคราะห์ รวบรวมและจัดระบบข้อมูล เรื่องของ เวลา การแบ่งช่วงเวลา การนับพุทธศักราช คริสต์ศักราช ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ เหตุการณ์ ความเป็นมาของท้องถิ่น สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ประวัติความเป็นมาของตนเอง ครอบครัว ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สัญลักษณ์ที่แสดงความเป็นชาติไทย ผลกระทบต่อภาวะประชากร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในท้องถิ่น ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ศรัทธา เห็นความสำคัญ เห็นคุณค่าและความภาคภูมิใจ สามารถบริหารจัดการ ประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างสงบสุขและเกิดประโยชน์อย่างสูงสุดและคุ้มค่า ปฏิบัติสืบทอดและนำมาเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ให้ยั่งยืนตลอดไป อธิบาย อภิปราย อิทธิพลของอารยธรรมต่างประเทศที่มีต่อไทย อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทยในยุคปัจจุบัน อธิบายพัฒนาการของอาณาจักรอยุธยา ปัจจัยที่ส่งเสริมการเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และการปกครองของอาณาจักรอยุธยา ประวัติและผลงานของบุคคลสำคัญสมัยอยุธยา และกรุงธนบุรี ตระหนัก และภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา และกรุงธนบุรี และที่สำคัญ ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ไว้
การศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของเศรษฐศาสตร์เพื่อชีวิตประจำวันและการประกอบการที่ เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในชีวิตประจำวัน วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจ ภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด ปัจจัยการผลิต บทบาท ทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่มีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการเงินการคลัง และการวางแผน ทางการเงินเพื่อการประกอบการ เพื่อให้เกิดวิธีคิดต่อการเข้าใจและสามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของ ภาวะเศรษฐกิจในชีวิตประจำวันได้และสามารถพัฒนาใช้เป็นแนวคิดในการประกอบธุรกิจอันนำไปสู่การเป็น เจ้าของกิจการในอนาคตได้ ศึกษาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ การผลิต การบริโภค ระบบเศรษฐกิจของไทยศึกษาระบบเศรษฐกิจของไทย
เศรษฐศาสตร์และประวัติศาสตร์น่ารู้!!
วัตถุประสงค์รายวิชา
1. มีความรู้ความเข้าใจความเป็นมาของอารยธรรมอินเดียที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย
2.เพื่อให้นักเรียนตระหนักและเห็นคุณค่าของเวลา วิถีชีวิตของชุมชนจากอดีตถึงปัจจุบัน และมีความรักความ ภูมิใจในความเป็นไทย
3. เพื่อให้นักเรียนมีความความเข้าใจ การเข้ามาของวัฒนธรรมต่างชาติใน สังคมไทย เช่น อาหาร ภาษา การแต่งกาย
4.มุ่งทำความเข้าใจในพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์เพื่อใช้ความรู้นั้นให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
5.มุ่งทำความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในหน่วยเศรษฐกิจและผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่
6.เพื่อช่วยให้ผู้บริโภครู้จักการตัดสินใจเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในกรบริโภคและใช้ในทาง
ที่ดีที่สุด