บทเรียนรายวิชา สังคมศึกษา

วางรากฐานการเรียนรู้สังคมศึกษา ป.1

วิชาสังคมศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นต่อการเป็นพลเมืองผู้มีคุณภาพ พัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ของโลกยุคใหม่ และความท้าทายในอนาคต ล้วนสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกกับรากฐานทางความคิด ทัศนคติ ตลอดจนพฤติกรรมที่เด็ก ๆ ร่ำเรียนในช่วงชั้นปีนี้

เนื้อหาวิชาสังคมศึกษา ป.1 มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้รอบตัว สถานการณ์ปัจจุบัน สู่การเสริมสร้างจิตสำนึกแห่งความเป็นพลเมืองไทย ตระหนักถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ จริยธรรม คุณค่าทางสังคม รวมถึงการเคารพเพื่อนต่างถิ่น และความหลากหลายทางวัฒนธรรม

        คำอธิบายรายวิชา

   1. วิชา สินค้าและบริการ ศึกษา เรียนรู้ บทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ มีทัศนะในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล บทบาทของผู้บริโภคที่ดี  ผู้บริโภคที่บกพร่อง คุณค่าและประโยชน์ของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ที่มีต่อตนเอง ครอบครัวและสังคม ประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรที่ยั่งยืน ความหมายและความจำเป็นของทรัพยากร หลักการและวิธีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิธีการสร้างจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นและในประเทศชาติรู้คุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด การวางแผนการใช้ทรัพยากรโดยประยุกต์  เทคนิคและวิธีการใหม่ ๆ ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ท้องถิ่น ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ธนาคาร และรัฐบาลที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ แผนผังแสดงความสัมพันธ์ของหน่วยเศรษฐกิจ ภาษี และหน่วยงานที่จัดเก็บภาษี สิทธิของผู้บริโภค สิทธิของผู้ใช้แรงงานในจังหวัดและประเทศ การหารายได้ รายจ่าย การออก การลงทุน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภคและรัฐบาล การรวมกลุ่มเชิงเศรษฐกิจเพื่อประสานประโยชน์ ในท้องถิ่น 

   2. วิชา  พระพุทธศาสนา   ศึกษา เรียนรู้ ความสำคัญของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือ พุทธประวัติ พุทธสาวก พุทธสาวิกา ชาดก ศาสนิกชนตัวอย่าง พระรัตนตรัย  ไตรสิกขาหลักธรรมโอวาท 3 พุทธศาสนสุภาษิตตัวอย่าง การทำความดีของบุคคลในประเทศตามหลักศาสนา การมีสติ สวดมนต์แผ่เมตตา การบริหารจิต    เจริญปัญญา มีสติที่เป็นพื้นฐานของสมาธิในพุทธศาสนาหรือการพัฒนาจิตตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือ การปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนนับถือ เพื่อแก้ปัญหาอบายมุข และสิ่งเสพติด หลักความ สำคัญของศาสนาอื่น ๆ ลักษณะสำคัญของศาสนพิธี พิธีกรรมของศาสนาอื่น ๆ และการปฏิบัติตนที่เหมาะสมเมื่อต้องเข้าร่วมพิธี ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ภายในศาสนสถาน และการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม การมีมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดี ประโยชน์ของการเข้าร่วมพิธีกรรม และกิจกรรมในวันสำคัญทางศาสนา และการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ หรือการแสดงตนเป็น    ศาสนิกชนของศาสนาที่ตนนับถือและในท้องถิ่น