หลักธรรมค้ำจุนโลก

หลักธรรม  หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น  ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล  นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา  2552  กว่าปีแล้ว  แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นความจริงที่  สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า  สัจธรรม ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมาย  ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง  เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้

พรหมวิหาร  4

      เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา)  ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ

1.   เมตตา   ความรักใคร่  ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข

2.  กรุณา      ความสงสาร  คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์

3มุทิตา      ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข

4.   อุเบกขา   วางตนเป็นกลาง  ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ  มีทุกข์

อคติ 4

      อคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี 4 ประการ

1.  ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่

2.  โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ

3.  โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา

4.  ภยาคติ   ลำเอียงเพราะกลัว

      อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม

สังคหวัตถุ

       เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง  และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

    1.ทาน                   ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้

    2.ปิยวาจา          เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน

    3.อัตถจริยา        ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์

    4.สมานนัตตตา   วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน

อิทธิบาท 4

       เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ

    1.ฉันทะ      ความพึงพอใจในงาน

    2.วิริยะ      ความขยันมั่นเพียร

    3.จิตตะ  ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน

    4.วิมังสา    ไตร่ตรองหาเหตุผล


บารมี 6

       เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ  นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก

สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ  มีอยู่  6  ประการคือทาน 

        1.   ทาน      การให้เป็นสิ่งที่ควรให้

        2.  ศีล       การประพฤติในทางที่ชอบ

    3.  ขันติ        ความอดทนอดกลั้น

    4.  วิริยะ    ความขยันหมั่นเพียร

    5.  ฌาน       การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง

    6.   ปรัชญา    ความมีปัญญารอบรู้