ประวัติความเป็นมา

เจ้าพ่อถ้ำกระต่ายทอง

           เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1420 เมืองพรานกระต่ายเป็นส่วนหนึ่งของเมืองบางพานมี มหาพุทธสาครเป็นกษัตริย์ ตัวเมืองตั้งอยู่ห่างจากอำเภอปัจจุบันทางทิศใต้ประมาณ 15กิโลเมตร เมืองบางพานนั้นเจริญรุ่งเรืองมา เพราะตั้งอยู่ในที่ราบลำน้ำใหญ่ไหลผ่านจากกำแพงเพชรไปสู่ที่จังหวัดสุโขทัย จึงเป็นเส้นทางคมนาคมเมืองใหญ่และเป็นแหล่งนี้อันอุดมสมบูรณ์ บ้านเรือนเรียงขนานแน่นสองฝั่งคลอง ปัจจุบันมีเมืองเก่าแก่ทรุดโทรมอยู่ในป่ารกเป็นคันเมือง คูเมือง (วัดเก่าหลายแห่ง) หมู่บ้านในอดีตยังเป็นหมู่บ้านในปัจจุบันอยู่บ้าง เช่น วัดโคก บ้านวังไม้พาน และบ้านจำปีจำปา เป็นต้น สัญลักษณ์แห่งความเจริญสูงสุดก็คือการสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองสัมฤทธิ์ไว้ที่ เขานางทอง บนเขานางทองใกล้เมืองบางพาน ชื่อ “นางทอง” เป็นชื่อของมเหสีพระร่วง มีถนนจากสุโขทัยผ่านอำเภอพรานกระต่ายไปถึงจังหวัดกำแพงเพชร เรียกว่า “ถนนพระร่วง”

         กล่าวกันว่าในปี พ.ศ. 1800 เศษ พระร่วงครองสุโขทัย ทรงมีนโยบายที่จะขยายอาณาเขตให้กว้างขวางและมั่นคง จึงดำริที่จะสร้างเมืองหน้าด่านขึ้นทุกทีซึ่งได้รับสั่งให้นายพรานผู้ชำนาญเดินป่าออกสำรวจเส้นทางและชัยภูมิที่มีลักษณะดี กลุ่มนายพรานจึงได้กระจายกันออกสำรวจเส้นทางต่าง ๆ จนกระทั่งมาถึงบริเวณแห่งนี้ได้พบกระต่ายป่าขนสีเหลืองเปล่งปลั่งด้วยทอง

         สวยงามมาก นายพรานจึงกราบถวายบังคมทูลขอราชานุญาตจากพระร่วงเจ้าเสด็จไปติดตามจับกระต่ายขนสีทองตัวนี้มาถวายเป็นราชบรรณาการถวายแดพระมเหสีพระร่วง นายพรานจึงกลับไปติดตามกระต่ายป่าตัวสำคัญ ณ บริเวณที่เดิมที่พบกระต่ายได้ใช้ความพยายามดักจับหลายครั้ง แต่กระต่ายตัวนั้นสามารถหลบหนีไปได้ทุกครั้ง นายพรานมีความมุมานะที่จะจับให้ได้จึงไปชวนเพื่อนฝูงนายพรานด้วยกันมาช่วยกันจับ แต่ยังไม่ได้จึงอพยพลูกหลานพี่น้อง และกลุ่มเพื่อนฝูงต่าง มาสร้างบ้านถาวรขึ้นเพื่อผลที่จะจับกระต่ายขนสีทองให้ได้ กระต่ายก็หลบหนีเข้าไปในถ้ำซึ่งหน้าถ้ำมีขนาดเล็กนายพรานเข้าไปไม่ได้แม้พยายามหาทางเข้าเท่าไรก็ไม่พบจึงได้ตั้งหมู่บ้านขึ้นหน้าถ้ำเพื่อเฝ้าคอยจับกระต่ายขนสีทอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ซึ่งต่อมาหมู่บ้านได้ขยายตัวเป็นชุมชนขนาดใหญ่จึงได้เรียกชุมชนนั้นว่า

“บ้านพรานกระต่าย” และเป็นชื่ออำเภอในเวลาต่อมา

        ในปัจจุบันถ้ำที่กระต่ายขนสีทองหนีเข้าไปซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ถ้ำกระต่ายทอง”ได้รับการบูรณะใหม่เพื่อทำให้เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นและประชาชนก็เห็นความสำคัญของสถานที่นี้จำได้ช่วยกันดูแลรักษาตกแต่งบริเวณให้สะอาด เพื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญสำหรับ หมู่บ้านสมกับเป็นส่วนหนึ่งของคำขวัญอำเภอพรานกระต่ายที่ว่า

ถ้ำกระต่ายทองจึงเป็นตำนานที่ประชาชนเล่าขานกันต่อๆ มา และกลายเป็นอำเภอพรานกระต่ายในที่สุด  ในปัจจุบัน รัชกาลที่ 6เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สยามมงกุฎราชกุมาร ในรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จ เมืองพรานกระต่ายเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2150 ได้กล่าวถึงเมืองพรานกระต่ายว่า

        ถึงบ้านพรานกระต่ายจวนเที่ยง ที่บ้านพรานกระต่ายนี้ มีบ้านเรือนหนาแน่น ทุก ๆ บ้านมีรั้วกั้นเป็นอาณาเขต สังเกต ว่าบ้านช่องดี สะอาดเรียบร้อย เป็นระเบียบ จึงเข้าใจว่าราษฎร ตามแถบนี้อยู่จะบริบูรณ์ ... สังเกตกิริยามารยาทเรียบร้อย ซึ่งทำให้เข้าใจว่าที่นี่จะเป็นเมืองอย่างโบราณกาล