การจักสาน : อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ

แหล่งเรียนรู้บูรณาการ รายวิชาทักษะชีวิต

การจักสาน : อุปกรณ์จับสัตว์น้ำ

........การทำประมงน้ำจืด อิสานมีแหล่งนำจืดจำนวนมาก โดยเฉพาะที่เป็นพื้นที่ลุ่มน้ำขัง หรือไหลผ่านเป็นร่องลึกเป็นลำเหมือง คลอง ห้วย มารวมกันเป็นสระ หนอง บึง สายน้ำที่ไหลผ่านจะนำพาความอุดมสมบูรณ์เป็นสิ่งบรรณาการแก่ชุมชนที่อยู่สองริมฝั่งน้ำ เป็นแหล่งอาหารจำพวกโปรตีนจากความหลากหลายของพันธุ์ปลา และความมีรสชาดอร่อย ชาวอิสานจึงเป็นผู้ที่มีความชำนาญในการทำประมงนำจืดมาก วิธีการทำประมงของชาวอิสานมีหลายแบบ

ข้องใส่ปลา

สุ่มจับปลา

ไซดักปลา

ซ้อนดักปลา

ลอบดักปลา

การวางลอบหรือการลงต้อน ลอบหรือต้อนเป็นเครื่องมือที่ทำจากไม้ไผ่สานเป็นรูปกลม ขนาดกว้างตั้งแต่ 1 คืบ ถึง 1 เมตร ยาวประมาณ ครึ่งเมตร- 2 เมตร มีหลายแบบคือลอบนอนจะวางราบกับพื้นดิน มีงาให้ปลาเข้าทางด้านหัวของ ลอบ ลอบยืนจะวางตั้งกับพื้น มีงาให้ปลาเข้าด้านข้าง ลอบยืนมี 2 แบบ คือแบบกลมตลอดหัวตัดท้ายตัด และแบบท้ายตัดแต่หัวลอบรวบไม้ไผ่มัดเข้าด้วย กัน การใส่ลอบ ถ้าลงต้อน (แนวรั้วกั้นดักปลาขนาดยาวขวางตลอดลำห้วย) ทำเสาไม้ขนาดใหญ่เป็นระยะห่าง 1 เมตร มีเสาค้ำ มีราวไม้ไผ่และฝากั้นปลาขึ้นลง คือทำที่ใส่ลอบขวางลำห้วย สำราญ เมื่อน้ำขึ้นหรือน้ำลดลง เจาะรูใส่ลอบ ฝากั้นทางเดินของปลาทำจาก การสานไม้ไผ่ หรือ ลำเเขมหรือลำไม้ที่มีขนาดเล็กผิวเรียบ อาจจะยาม(กู้)วันละครั้งหรือหลาย ครั้งก็ได้(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 267) 

โต่งดักปลา

การลงโต่ง(โพงพาง) ต่อมามีการสานโต่ง ใส่แทนจิบและไม่ต้องนั่งเฝ้า ส่วนปลายโพงพางผูกลอบหรือไซหรือทำเป็นถุงไว้ เก็บปลาที่ถูกน้ำซัดไปลงโต่ง ต้องทำรั้วเผียด (กั้น) ด้วยฝาหรือกิ่งใบไม้หนาทึบ กั้นน้ำให้น้ำไหลแรงตรงช่องว่างที่ใส่ โต่ง ปลาสารพัดชนิดทั้งขนาดจิ๋ว จนถึงขนาดกลาง และขนาดใหญ่ กุ้ง ปู จะไหลไปรวมกันที่ท้ายโต่ง ยกขึ้นมาได้ปลาเป็นหาบๆ นำไปขายหรือทำปลาร้าได้ เป็นจำนวนมาก ปลาที่ลงโต่งส่วนหนึ่งจะตายเพราะกระแสน้ำพัดแรงไปแออัด กัน(คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2544 : หน้า 268)